ในยุคปัจจุบันใคร ๆ ก็บันทึกภาพเก็บไว้เพื่อเป็นความทรงจำ เก็บภาพความประทับใจ เพื่อไม่ให้เลือนหายไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะเมื่อตอนที่เราไปเที่ยวทะเล โลกใต้ท้องทะเลที่ไม่ได้เห็นกันง่ายๆ ถ้าหากมองด้วยตาอย่างเดียวมันอาจจะไม่พอ การเก็บภาพเป็นที่ระลึกจึงเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องการ วันนี้เราเลยจะมาแชร์เทคนิคการใช้กล้องถ่ายรูปใต้น้ำให้เป๊ะ ปัง เหมือนช่างภาพมืออาชีพมาถ่ายเอง ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปคน บรรดาสัตว์ใต้น้ำ หรือแม้แต่วัตถุที่อยู่นิ่ง เรียกได้ว่าไม่มีใครเทียมเท่าเลยทีเดียว
1.การฝึกควบคุมตัวเอง
การจะถ่ายภาพใต้น้ำให้ดีได้ต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน การทรงตัวถือเป็นเรื่องสำคัญ การถ่ายภาพใต้น้ำเราต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลาเพื่อทรงตัวให้ลอยและไม่จม ดังนั้นการสั่นถือเป็นเรื่องปกติมากสำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำ แต่จะดีกว่าไหมถ้าหากเราสามารถควบคุมตัวเองได้เหมือนกับตอนอยู่บนบก ดังนั้นการควบคุมตัวเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากเพื่อภาพที่สวยงามแล้วและยังช่วยระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายกับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลอีกด้วย
2.การตั้งค่าแฟลชของกล้องถ่ายรูปใต้น้ำ
เนื่องจากบริเวณด้านล่างของท้องทะเลแสงแดดแทบจะไม่สามารถทะลุลงไปถึงได้เลย หากคุณไม่เปิดแฟลชเมื่อถ่ายภาพ ภาพของคุณจะเป็นสีน้ำเงินเท่านั้น เนื่องจากคลื่นของแสงจะถูกกรองในระยะสองนิ้ว เริ่มจากแสงสีแดงบนพื้นผิวทะเล เมื่อลึกลงไปจึงเป็นสีส้ม สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงินตามลำดับความลึกนั่นเอง ดังนั้นการถ่ายภาพให้เห็นสีที่แท้จริงของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลจึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยแฟลชเพื่อให้ได้สีที่ถูกต้องดั่งตาเห็นนั่นเอง
3.การปรับความเร็วของชัตเตอร์
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการปรับความเร็วของชัตเตอร์มีความสำคัญเนื่องจากการถ่ายรูปใต้น้ำจะมีทั้งการถ่ายภาพที่เคลื่อนไหวเร็วอย่างสัตว์ทะเล เช่น ปลา หรือเคลื่อนไหวช้าอย่าง แมงกะพรุน หรือนิ่งเฉยอย่างวัตถุก้นทะเล ดังนั้นให้ลองปรับความเร็วชัดเตอร์ดู เช่น เมื่อต้องการเก็บวัตถุที่เป็นภาพนิ่ง ลองปรับความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/30 วินาที ถ่ายภาพสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวช้า ลองปรับความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 1/60 วินาที และลองปรับความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 1/125 วินาที เพื่อเก็บภาพวัตถุเคลื่อนไหวเร็ว
4.การตั้งค่า ISO และ White balance
เนื่องจากใต้ท้องทะเลนั้นมีความลึกและมืดมาก การปรับ ISO ย่อมมีส่วนสำคัญ หากมีการตั้งค่าความไวแสงสูงเกินไปอาจทำให้เกิด Noise มาก หรือสัญญาณรบกวนภาพ การถ่ายภาพใต้น้ำควรตั้งค่ามไวแสงให้ต่ำเข้าไว้ โดยตั้งไว้ประมาณ ISO 100 – 250 โดยค่อยๆปรับเพิ่ม ตามความต้องการ ส่วนWhite Balance ควรตั้งไว้แบบAuto B/W หรือโหมดใต้น้ำ เพื่อให้ระบบตั้งค่าเองตามแสงธรรมชาติ และสีเพี้ยนน้อยสุด
ภายใต้ท้องทะเลอันแสนกว้างใหญ่เต็มไปด้วยสิ่งอัศจรรย์ ภาพที่ได้แต่ละภาพก็เหมือนเป็นการบันทึกความทรงจำผ่านทางมุมมองของผู้ถ่าย การไปสถานที่เดียวกันอาจได้ภาพในมุมมองที่ต่างกัน การถ่ายภาพใต้น้ำไม่ยากอย่างที่คิด หากเรารู้เทคนิคในการตั้งค่ากล้องถ่ายรูปใต้น้ำ และอาศัยการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง