Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ชนิดของวัสดุที่ใช้ในการทำเลนส์แว่นตา

Posted By ChinJungGu | 13 พ.ย. 62
8,653 Views

  Favorite

การเลือกเลนส์แว่นตาถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา เพราะเลนส์แว่นตาแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน

 

อย่างคนที่สายตาสั้น, สายตายาว และสายตาเอียงจะใช้เลนส์แว่นตาแบบเลนส์ชั้นเดียว ส่วนเลนส์สองชั้น จะใช้กับผู้ที่มีปัญหาสายตาตามวัย (อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป) โดยเลนส์สองชั้นนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นได้ในระยะไกลและระยะใกล้ เพราะแบบนี้จึงทำให้วัสดุที่ใช้ทำเลนส์แว่นตามีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะมีวัสดุแบบไหนบ้างนั้นเรามาดูกันเลยค่ะ

 

ภาพ : Pinterest

 

ชนิดของวัสดุที่ใช้ในการทำเลนส์แว่นตา

1. LENS พลาสติกธรรมดา หรือ CR39 (Columbia Resin 39) ผลิตโดย PPG INDUSTRY ตั้งแต่ปี 1947 เป็นเลนส์ซึ่งมีค่าดัชนีการหักเหแสงค่อนข้างต่ำ ทำให้เลนส์จะหนาและหนัก แต่มีราคาถูกที่สุดของเลนส์ทุกชนิด

2. พลาสติกไฮอินเด็กซ์ (High-Index Plastic) เหมาะสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมาก ๆ และจำเป็นต้องตัดแว่นตา เพราะเลนส์ชนิดนี้มีคุณสมบัติบางและเบา ลดปัญหาเลนส์หนาจนสวมใส่แล้วรู้สึกไม่สะดวกสบาย

3. โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) เลนส์ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เล่นกีฬา และผู้ที่ทำแว่นตาหักหรือทำเลนส์แตกบ่อย ๆ เช่น เด็ก เนื่องจากเป็นเลนส์ที่ทนทานต่อแรงกระแทกและรอยขีดข่วน นอกจากนี้ตัวเลนส์ยังสามารถป้องกันรังสียูวีได้อีกด้วย

4. Trivex ผลิตโดย PPG ในปี 2001 มีลักษณะพิเศษ คือ มีการกระจายแสงหรือแสงแตกน้อยที่สุด และเลนส์ที่มีแสงแตกมากที่สุด คือ High-Index และ Polycarbonate เลนส์นี้มีแสงแตกมาก ก็มักจะมองเห็นหลอดไฟมีสีรุ้งรอบ ๆ โดยเฉพาะบริเวณขอบเลนส์แว่นตา

 

การใส่แว่นตาช่วยให้ผู้มีปัญหาสายตาผิดปกติมองเห็นได้ชัดขึ้นเท่านั้น แต่เลนส์แว่นตาไม่สามารถช่วยรักษาให้ค่าสายตากลับมาเป็นปกติตามเดิมได้ ส่วนการใส่แว่นตาที่ไม่ตรงกับค่าสายตา แม้ว่าจะไม่ทำให้สายตาแย่ลง แต่จะทำให้มองเห็นภาพหรือวัตถุได้ไม่ชัดค่ะ

 

แหล่งข้อมูล
เลนส์แว่นตา
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • ChinJungGu
  • 1 Followers
  • Follow