คนจีนฮกเกี๋ยนในภูเก็ตคนจีนฮกเกี้ยนอพยพข้ามาตั้งหลักแหล่งในภูเก็ตนานแล้ว เนื่องจากภูเก็ดเป็นเส้นทางการค้าทางทะเล แรกทีเคียวก็เข้ามาทำเหมืองแร่ในเมืองปีนังและสิงคโปร์ยุคที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ โดยมีการคิดค่อค้าขายกับภูเก็ตมานานแล้ว เมื่อเห็นว่าภูเก็ตเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ มีแร่ดีบุกอยู่มาก ประกอบกับรัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมให้ทำเหมืองแร่ คนจีนเหล่านี้มีทักษะและความชำนาญในการทำเหมืองอยู่แล้ว จึงเข้ามาทำเหมือง ทั้งเป็นนายเหมืองและเป็นกรรมกรในสมัยรัชกาลที่5 ความต้องการดีบุกในคลาคโลกเพิ่มขึ้นมากการทำเหมืองจึงขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดการขาดแคลนแรงงานในปี พ.ศ. 2444 พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ แก้ปัญหาโคยจัคเรือไปรับคนจีนที่เมืองเอ้หมึงมาภูเก็ตปีละสามเที่ยว คนจีนในภูเก็ตจึงเพิ่มจำนวนขึ้นจนกลายเป็นคนหมู่มากใน อ. เมืองภูเก็ด และสร้างความรุ่งเรืองให้แก่เมืองภูเก็ตอย่างยิ่ง เพราะนอกจากทำเหมืองแร่แล้ว ยังประกอบธุรกิจการค้าอีกหลายอย่าง ทำให้เศรษฐกิจของภูเก็ตเจริญรุดหน้าจนเป็นหัวเมืองสำคัญของภาคใต้ก่อนหน้านี้การติดต่อคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ กับภูเก็ตไม่สะดวกเมื่อเทียบกับปีนังที่เป็นศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคนี้ คนจีนในภูเก็ดจึงนิยมติดต่อก้าขายกับปีนังมากกว่า บางคนที่มีญาติหรือบรรพบุรุษอยู่ที่ปีนัง ก็นิยมส่งบุตรหลานไปเรียนที่นั่น จึงได้รับอิทธิพลจากปีนังมามาก ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนคือการสร้างตึกและอาคารพาณิชย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคมหรือโคโลเนียลตกแต่งด้วยศิลปะจีน
อย่างไรก็ดีคนจีนรุ่นหลังที่เกิด ในเมืองไทยและลูกครึ่งไทย-จีนก็มี การปรับตัวเข้ากับคนไทย ขณะเดียวกัน ก็มีวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะหากเข้า ไปเที่ยวในตัวเมืองจะเห็นผู้หญิงจีนสูงอายุ นุ่งโสร่งปาเต๊ะแบบคนใต้ สวมเสื้อผ้า ลูกไม้ตัดเข้ารูป คาดเข็มขัดเงิน นาก หรือ ทองคำ ส่วนผู้ชายแต่งกายเหมือนคนไทย ทั่วไป แต่ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่ นอกจาก รูปร่างหน้าตาและผิวพรณที่ขาวผุดผ่อง การแต่งกายของคู่ป่าวสาวบ้าบำ แบบจีนฮกเกี้ยนแล้วก็แทบไม่มีอะไรแตกต่างจากคนไทยเลย ภาษาที่ ใช้เป็นภาษาไทยปักษ์ใต้ แต่มีลักษณะพิเศษคือมีภาษาจีนมาเลย์ และอังกฤษปนอยู่บ้างเล็กน้อย สำหรับคำลำดับญาคิ ยังคงใช้ภาษา ฮกเกี้ยน เช่นเรียกพี่ชายว่าโก พี่สาวว่าจี้ สังเกตได้จากชื่อร้านต่าง า เช่น จี้โป้ง โกชวน จี้ดิ้ง เป็นต้น
ลูกครึ่งบ้าบำและยองยา
ในอดีตคนจีนฮกเกี้ยนเข้มาอยู่ที่มะละกาก่อน เมื่อชายชาวจีนแต่งงาน กับหญิงชาวท้องถิ่น จึงมีลูกเป็นลูกครึ่งจีน-มาเลย์ ถ้าเป็นลูกชาย เรียก "บบำ" ส่วนลูกสาวเรียก "ยองยา" ภาษาที่ใช้พูดคือภาษาเพทรอย เป็นภาษามาเลย์ปนจีนฮกเกี้ยน สันนิษฐานว่ คำ"บบำ" เป็นภาษของคนอินเดียที่ข้ามาค้าขาย ที่มะละกา หญิงอินเดียจะเรียกสามีว่าบาบา ส่วน "ยองยา" เป็นภาษา โปรตุเกส แปลว่ายหรือยาย ต่อมาคนจีนฮกเกี้ยนอพยพมาอยู่แถบ ดาบสมุทรมลายูตามเมืองท่าต่างๆ เช่นสิงคโปร์ ปีนัง มากขึ้น แต่ยังคง เรียกพวกลูกครึ่งพ่อจีนนอกแม่คนพื้นถิ่นว่าบ้าบำและยองยาตามเดิม ส่วนที่ภูเก็ดจะเรียกลูกครึ่งจีนที่เกิดในเมืองไทยรมกันทั้งชายและ หญิงว่าบ้าบ้า
นอกจากนี้ขนมและอาหารฮกเกี้ยนที่ขึ้นชื่อก็มีหลายอย่าง เช่น ขนมเต่า(ดั่งกู้)ขมไข่ (หลู)หมีสะป้หมี่หุ้น โลบะ ฯลฯ ซึ่งหลายๆ คนติดอกคิดใจในรสชาติ แม้แต่ขนมจีนซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองปักษ์ใต้ ก็พลอยได้รับอิทธิพลจีนไปด้วย คือน้ำยามีรสออกหวานและมีี เครื่องเคียงที่คนจีนชอบ เช่น ผักกาดคอง แตงกวาคอง หัวไช้โป๊ ฯลฯ ประการสำคัญถือคนจีนฮกเกี้ยนในภูเก็ตเป็นผู้ริเริ่มพิธีกินผักจน แพร่หลาย และกลายเป็นเทศกาลประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภูเก็ต ในปัจจุบัน นอกหกคนจีนฮกเกี้ยนแล้ว ภูเก็ตยังเป็นที่รวมของผู้คนอีกหลาก เชื้อชาติที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งทำเหมืองแร่ ทำสวนยางพาราและค้าขาย เช่น คนจีนเดะ คนจีนแต้จิ๋ว คนอีสาน เป็นตัน แต่หลังจากภูเก็ตเข้าสู่ ยุคของการท่องเที่ยว นายทุนค่างชาติทั้งชาวยุโรปและเอเชีย เช่น ชาว เยอรมัน อเมริกันญี่นสิงคโปร์ ฯลฯ ก็เข้ามาทำธุรกิจมากขึ้น ส่วน มากเป็นธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร ร้านคำน้ำ และสถานบริการขนาด ใหญ่ริมหาดที่มีชื่อ สิ่งนี้เป็นปัจัยหนึ่งที่ทำให้ภูเก็ตมีบรรยากาศเป็น เมืองท่องเที่ยวของฝรั่งเช่นทุกวันนี้
Supported Content By Drivemate
บริการเช่ารถภูเก็ตราคาถูก