Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

มารู้จักประโยชน์ของโอเมก้า 3,6,9 และแหล่งที่มาของโอเมก้าแต่ละชนิดให้มากขึ้นกันเถอะ

Posted By ChinJungGu | 19 มิ.ย. 62
865 Views

  Favorite
.

                โอเมก้าเป็นสารอาหารจำเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ร่างกายต้องการ ซึ่งโอเมก้ามีหลายประเภท ส่วนที่ถูกพูดถึงมากที่สุดเห็นจะเป็น โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมก้า 9 ว่าแต่เจ้าโอเมก้าทั้ง 3 ตัวนี้มีประโยชน์ยังไงกับร่างกายบ้าง และแหล่งอาหารที่จะให้โอเมก้าแต่ละตัวมาจากไหนบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเลย

                ประโยชน์ของโอเมก้า 3,6,9 และแหล่งที่มาของโอเมก้าแต่ละชนิด

ประโยชน์ของการได้รับอาหารที่มีโอเมก้า 3

  • มีความสำคัญต่อเด็กเล็ก หลายคนคงเคยเห็นโฆษณานมเด็กที่มักจะเน้นอยู่เสมอว่า มีโอเมก้าสูงเหมาะกับเด็ก นั่นเป็นเพราะโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ประสาท ช่วยพัฒนาระบบประสาทและสมองของเด็ก เด็กที่ได้รับโอเมก้าที่เพียงพอจะทำให้สมองถูกพัฒนาได้ออย่างเต็มประสิทธิภาพ คุณแม่สามารถทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ จะช่วยสร้างพัฒนาการและสุขภาพของทารกได้ 
  • ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ กรดไขมัน EPA และกรดไขมัน DHA ที่พบได้ในโอเมก้า 3 นั้น สามารถช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ คนที่ทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 มาก ๆ จึงทำให้หัวใจแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้
  • ลดการเกิดโรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม เพราะโอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาท และระบบการเรียนรู้ การรับรู้ และระบบความจำ
  • ลดการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม การได้รับโอเมก้า 3 ที่เพียงพอ ช่วยลดการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานหน้าคอมอยู่ตลอดเวลา ใช้สายตาเพิ่งมองสิ่งของชิ่นเล็ก ๆ ควรทานอาหารประเภทปลาและถั่วให้มาก ๆ แต่อย่างไรก็ตาม หากใครที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแล้ว โอเมก้า 3 อาจ ไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการป่วยหรือชะลอภาวะตาบอดแก่ผู้ที่ป่วยแล้วได้

แหล่งอาหารที่มีโอเมก้า 3

อย่างที่หลายคนอาจเคยได้ยินว่า “ปลาและอาหารทะเล” เป็นแหล่งของโอเมก้า 3 แต่ที่แนะนำควรเป็นอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน เพื่อไม่ให้โอเมก้าถูกทำลายไป ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงนิยมทาน แซมอนซาซิมิ นั่นเอง นอกจากนี้ยังพบโอเมก้า 3 ได้จากอีกหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น ถั่วและเมล็ดพืช เช่น เมล็ดเจีย เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท เมล็ดฟักทอง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง โยเกิร์ต น้ำผลไม้ นม น้ำนมถั่วเหลือง หรืออาหารทารกบางอย่าง เป็นต้น

ประโยชน์ของ โอเมก้า 6

  • ช่วยลดคลอเลสเตอรอลในร่างกาย ลดไขมันอุดตันเส้นเลือด ส่งผลดีต่อหลอดเลือด และหัวใจ
  • ช่วยลดอาการอักเสบ และอาการปวดต่างๆ ตามร่างกาย
  • รักษาความชุ่มชื้นให้กับผิว ลดปัญหาผิวแห้ง แตก กร้าน ลอกเป็นขุย รวมไปถึงรังแคบนหนังศีรษะ ผมร่วง หรือโรคผิวหนังบางชนิดอีกด้วย
  • ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
  • ลดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ของผู้ป่วยเบาหวาน เช่น อาการชาตามปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า
  • ควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายให้เป็นปกติ

แหล่งอาหารที่มีโอเมก้า 6

โอเมก้า 6 อยู่ในน้ำมันพืชต่างๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน รำข้าว ข้าวโพด หรืออาจจะเป็นน้ำมันพืชพิเศษ เช่น น้ำมันพริมโรส น้ำมันมะกอกมีโอเมก้า 6 ด้วยเช่นกัน แต่น้อยกว่าน้ำมันที่มาจากพืชอื่นๆ และเหมาะสำหรับทานสด ผสมในสลัด หรือผ่านความร้อนน้อยๆ เช่นผัดเท่านั้น

ประโยชน์ของโอเมก้า 9

โอเมก้า 9 เกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ซึ่งมีผลต่อสุขภาพมาก ในร่างกายของคนเราควรจะมีกรดไขมันโอเมก้า 9 อยู่ในสัดส่วนที่ถูกต้องเมื่อเทียบกับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 น้ำมันที่สร้างโดยผิวหน้าของเรามีลักษณะเหมือนกับกรดไขมันโอเมก้า 9 ที่พบได้มากในน้ำมันมะกอก นอกจากนี้แล้วกรดไขมันโอเมก้า 9 ยังอาจจะ

  • เป็นตัวช่วยในการสร้าง ฮอร์โมน โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins)
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL-Low Density Lipoprotein)
  • ช่วยเพิ่มระดับของ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
  • ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานปกติ หัวใจ สมอง ตับ ไต และอวัยวะอื่นๆ ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้สามารถป้องกันโรคหัวใจ และกลุ่มโรคหลอดเลือดตีบตันได้

แหล่งอาหารที่มีโอเมก้า 9

เราสามารถกินอาหารเหล่านี้เพื่อให้ร่างกายได้รับโอเมก้า 9 ได้จาก ไขมันจากถั่วลิสง น้ำมันมะกอก คาโนลา น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน งา ถั่วพิตาชิโอ อัลมอนด์ และอะโวคาโด

                ถึงแม้ว่าร่างกายของเราส่วนใหญ่จะสร้างโอเมก้า 9 ขึ้นมาได้เองเมื่อได้รับโอเมก้า 3 และ 6 แต่การรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมที่มีโอเมก้า 9 เสริมเข้าไปก็ถือว่าช่วยลดความเสี่ยงในการขาดโอเมก้า 9  แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม ทุกอย่างก็ยังคงต้องมีความพอดีด้วยค่ะ อย่ากลัวว่าร่างกายจะขาดอย่างเดียวแล้วก็กินอาหารเหล่านี้เข้าไปมากเกินความจำเป็น ซึ่งอาจจะเกิดโทษต่อร่างกายของเราได้เหมือนกันนะคะ

แหล่งข้อมูล
โอเมก้า
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • ChinJungGu
  • 1 Followers
  • Follow