บ้านที่สร้างไว้นานแล้วย่อมต้องมีการชำรุด เก่า โทรม เป็นเรื่องธรรมดา หากใครอยากที่จะมีบ้านที่ดูสวยดูดีโดยที่ไม่อยากจะหมดงบเยอะนั้น เราขอแนะนำวิธีการปรับปรุงบ้านเก่าหรือที่เราเรียกกันว่าการรีโนเวทบ้านซึ่งวันนี้เราจะบอกถึงวิธีเตรียมตัวให้พร้อมในขั้นตอนในการปรับปรุงบ้านเก่าเอามาฝากให้กับทุกคนด้วย รับรองว่าไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดแน่นอนมาเริ่มกันเลยค่ะ
ขั้นตอนการเตรียมตัวปรับปรุงบ้านเก่า
1.แรงบันดาลใจ
นำแรงบันดาลใจจากที่เคยพบเห็น นำมาถ่ายทอดให้สถาปนิก อินทีเรีย หรือผู้รับเหมาทราบ โดยพิจารณาว่า พื้นที่เดิมซึ่งเคยถูกออกแบบไว้เพื่อการใช้งานตั้งแต่เก่าก่อนหรือทรุดโทรมมากแล้ว เราจะปรับเปลี่ยนฟังชั่นก์การใช้งาน หรือจะปรับเปลี่ยนดีไซน์ใหม่ให้เข้ากับแบบที่เราชื่นชอบได้อย่างไร ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
2.ปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่น
เมื่อทำใหม่เราควรคิดถึงประโยชน์ใช้สอย ที่เราจะใช้ในชีวิตประจำวันของเราในทุก ๆ วันว่าเราต้องการอะไรบ้าง หรืออาจจะดีไซน์ให้ฟังก์ชั่นการใช้งานหนึ่งชิ้นให้ใช้ประโยนช์ได้มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นต้น
3.ติดสินใจเลือกวัสดุให้เหมาะกับการใช้งาน
เลือกใช้วัสดุและออกแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ เลือกวัสดุที่ดูแลรักษาง่าย เข้าได้กับทุกสไตล์ของบ้าน และที่สำคัญเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับพื้นที่ค่ะ ว่าจะนำมาไว้ภายในบ้าน หรือควรไว้ภายนอกบ้าน เพราะมีผลต่ออายุการใช้งานของวัสดุนั้น ๆ
4.โครงสร้าง
การปรับปรุงโครงสร้างเราต้องคำนึงถึงโครงสร้างเดิมเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าปรับปรุงภายในบ้านวัสดุที่นำมาใช้ไม่ควรเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างบ้านมากจนเกินไป ควรเลือกใช้วัสดุโครงสร้างผนังและพื้นที่มีน้ำหนักเบากว่างานโครงสร้างเดิม แต่ถ้ามีการต่อเติออกมานอกตัวบ้าน โครงสร้างจะต้องแข็งแรงและคำนึงถึงการทรุดตัว เพราะถ้าคำนวนไม่ดีบ้านเกิดการทรุดตัวจะทำให้ดึงรั้งโครงสร้างบ้านเดิมทำให้ตัวบ้านเกิดความเสียหาย หรืออาจจะราว ทรุดพังเลยก็เป็นได้นะคะ
5.ระบบไฟฟ้าและประปา
สำหรับบ้านที่มีอายุเกิน 15 ปี อาจจะถือโอกาสเดินงานระบบไฟฟ้าและระบบประปาใหม่เลยก็ส่งผลดีค่ะ เพราะอายุการใช้งานของงานระบบ มีอายุการใช้งานที่ไม่เท่ากัน ถ้าบ้านเป็นบ้านเก่าบางที่ตอนที่สร้างครั้งแรกช่างอาจจะไม่ได้กรีดผนังฝังสายไว้ หรืออาจจะกรีดผนังฝังสายไฟ แต่ไม่ได้นำสายไฟร้อยท่อก็จะทำให้อายุการใช้งานลดลง ถ้าบ้านอายุประมาณ 15-20 ปีก็ควรเป็นงานระบบไฟฟ้าไปเลยในตัวค่ะ
6.งบประมาณ
เรื่องเงินถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ แม้จะมีการตั้งงบประมาณไว้แล้ว แต่ก็ควรวางแผนในการใช้งบประมาณ ถ้าไม่อยากให้งบประมาณบานปลายควรคุมเรื่อง ของระยะเวลาในการปรับปรุง, ไม่เปลี่ยนความคิดบ่อย ๆ เพราะจะส่งผลให้การก่อสร้างยืดเวลาและจะทำให้ค่าใช้จ่ายเราสูงเพิ่มขึ้นอีกด้วยค่ะ
จะเห็นได้ว่าหากเรามีการเตรียมความพร้อมที่ดีในแต่ละขั้นตอนในการที่จะปรับปรุงบ้านเก่าให้เป็นบ้านใหม่จะทำให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดคุ้มค่ากับเงินที่เราจะเสียไปแน่นอนค่ะ