Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ชั้นเทอร์โมไคลน์ (Thermocline) ชั้นกั้นน้ำอุ่นกับน้ำเย็น

Posted By Guide NT | 10 ม.ค. 63
34,846 Views

  Favorite

หากใครเคยรู้จักกับปรากฏการณ์เอนโซ (ENSO) หรือเอลนีโญ-ลานีญา (ElNino - La Nina) มาก่อน จะต้องเคยเจอกับคำว่า “เทอร์โมไคลน์ (Thermocline)” ซึ่งเป็นชั้นที่กั้นอยู่ระหว่างน้ำชั้นบนและน้ำชั้นล่าง แต่ชั้นเทอร์โมไคลน์แท้จริงแล้วคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร?

ภาพ : Shutterstock

 

ภาพ : Shutterstock

 

ชั้นเทอร์โมไคลน์เป็นชั้นบาง ๆ ที่อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าอุณหภูมิของน้ำโดยรอบ ซึ่งเกิดจากการผสมกันของชั้นน้ำอุ่นและชั้นน้ำเย็น ลักษณะคล้ายกับเป็นชั้นที่แยกน้ำชั้นบนที่เป็นน้ำอุ่นและน้ำชั้นล่างที่เป็นน้ำเย็นออกจากกัน และเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก อุณหภูมิของน้ำชั้นบนจะร้อนขึ้นและเย็นลงตามลำดับ ทำให้อุณหภูมิของน้ำชั้นผสมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน


ชั้นเทอร์โมไคลน์สามารถพบได้ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในมหาสมุทร นอกจากนี้ยังพบในทะเลสาบและสระน้ำได้ด้วยเช่นกัน ชั้นเทอร์โมไคลน์ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ  เช่น การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล กระแสน้ำในมหาสมุทร และสภาพอากาศ นอกจากคลื่นทะเล กระแสน้ำ และลมในมหาสมุทร ความผันผวนของชั้นน้ำเหล่านี้ในบางครั้งเราอาจมองเห็นเหมือนกับเป็นชั้นบาง ๆ ที่มีแสงวิบวับ เมื่อเราดำน้ำผ่านเข้าไปในชั้นเทอร์โมไคลน์อีกด้วย

ภาพ : Shutterstock

 

การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำในชั้นเทอรโมไคลน์ไม่เพียงแต่เป็นปรากฏการณ์หนึ่งในมหาสมุทรเท่านั้น มันยังสามารถพยากรณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดเฮอร์ริเคนได้ด้วย ซึ่งการเกิดเฮอร์ริเคนจะพิจารณาจากอุณหภูมิพื้นผิวของน้ำทะเลจนไปถึงความลึกของชั้นเทอร์โมไคลน์ นั้นเป็นเพราะว่าความลึกของชั้นเทอร์โมไคลน์ส่งผลต่อการระเหยกลายเป็นไอของน้ำทะเล และยิ่งน้ำทะเลระเหยกลายเป็นไอมากขึ้นจะทำให้มีโอกาสเกิดเฮอร์ริเคนเพิ่มขึ้นด้วยนั้นเอง

 

ความลึกของชั้นเทอร์โมไคลน์มีค่าแตกต่างกันไปในแต่ละฤดูกาลและแต่ละปี แต่นักอุตุนิยมวิทยามีแนวโน้มที่จะศึกษาความลึกของชั้นเทอร์โมไคลน์และเครื่องมือกึ่งถาวรเพื่อพยากรณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อน โดยเฉพาะมหาสมุทรบริเวณใกล้กับแถบเส้นศูนย์สูตร ความรู้ในเรื่องนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และรับมือในการเกิดพายุหมุนเขตร้อนในอนาคตต่อไปได้

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
- ปรากฏการณ์น้ำผุด (upwelling) ดีอย่างไร
- ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) คืออะไร
- การเกิดพายุหมุนเขตร้อน
 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Guide NT
  • 2 Followers
  • Follow