Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วิตามินเสริมจำเป็นสำหรับเด็กหรือไม่

Posted By Amki Green | 25 ก.พ. 63
6,636 Views

  Favorite

วิตามินและแร่ธาตุถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์ แล้วสำหรับเด็กละ? เด็กจำเป็นต้องได้รับวิตามินใดบ้างที่ก่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาการของร่างกาย วันนี้เรามารู้ไปพร้อมกันค่ะ

 

สารอาหารและวิตามินมีความสำคัญสำหรับวัยเด็กอย่างมากแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และการเจริญเติบโตด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพกล่าวว่า เด็กวัย 2-8 ปี จำเป็นต้องได้รับพลังงานประมาณ 1,000 – 1,400 แคลอรี่ต่อวัน นอกจากนั้นการได้รับวิตามินแก่ร่างกายของเด็กเล็กกับเด็กโตก็ยังมีความแตกต่างกันอีกด้วย

ภาพ : Shutterstock

 

ตารางแสดงปริมาณสารอาหารที่เด็กแต่ละวัยควรได้รับในแต่ละวัน (DRI : Dietary reference intakes)

สารอาหาร

ปริมาณสารอาหารสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี

ปริมาณสารอาหารสำหรับเด็กวัย 4-8 ปี

แคลเซียม

700 มิลลิกรัม

1,000 มิลลิกรัม

เหล็ก

7 มิลลิกรัม

10 มิลลิกรัม

วิตามินเอ

300 ไมโครกรัม

400  ไมโครกรัม

วิตามินซี

15 มิลลิกรัม

25 มิลลิกรัม

      

 

 

 

 

 

 

เด็กต้องการปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมสำหรับวัยและอายุในแต่ละช่วง เด็กจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่จำเป็นเช่นเดียวกับวัยผู้ใหญ่ แต่ในปริมาณที่น้อยลงกว่าผู้ใหญ่ โดยสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กที่เด็กควรจะได้รับ ได้แก่ แคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างกระดูกให้แข็งแรง เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 6 และบี 12 ที่มีส่วนสำคัญช่วยพัฒนาสมองของเด็ก เป็นต้น
 

เด็กจำเป็นต้องกินอาหารเสริมหรือไม่

เด็กที่กินอาหารครบทั้ง 5 หมู่อยู่แล้วไม่มีความจำเป็นต้องกินอาหารเสริมเพิ่ม สถาบัน American Academy of Pediatrics and the United States Department of Agriculture Dietary Guidelines for Americans ได้กล่าวว่า ไม่แนะนำให้เด็กกินอาหารเสริมและไม่ให้กินเกินกว่าปริมาณวิตามินที่ได้รับในแต่ละวัน การจะได้รับสารอาหารและวิตามินที่เหมาะสมนั้น ทางสถาบันแนะนำให้เด็กกินผลไม้ ผัก ธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนมและโปรตีนจะดีกว่า เนื่องจากสารอาหารเหล่านี้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กแล้ว

ภาพ : Shutterstock

 

แต่สำหรับเด็กบางคนก็จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริม โดยเฉพาะเด็กที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดสารอาหารและไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน ได้แก่
1. คนที่เป็นมังสวิรัติ (Vegetarian) เด็กที่กินผักเป็นหลักอาจเสี่ยงต่อการขาดแคลนแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก วิตามินดี และวิตามินบี 12 ซึ่งวิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่พบในเนื้อสัตว์เป็นส่วนใหญ่

2. คนที่เป็นโรคเกี่ยวกับการดูดซึมอาหาร เช่น โรคเซลิแอค (Celiac disease) คือ โรคแพ้กลูเตน ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในพืชจำพวก ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ เมื่อเกิดอาการนี้จะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายและลำไส้ เช่น ท้องอืด ท้องร่วง เป็นต้น เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาต่อการดูดซึมสารอาหาร โดยเฉพาะธาตุเหล็กและวิตามินดี หรือโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของยีนในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายในระบบย่อยอาหาร เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาในการดูดซึมไขมัน ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารโดยเฉพาะวิตามินที่ละลายในไขมันได้ เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค

3. เด็กที่ได้รับการผ่าตัดและได้รับผลกระทบต่อลำไส้และท้อง

4. เด็กที่กินจุบจิบ กินตลอดเวลา มีงานวิจัยหนึ่งได้ทดลองเด็กจำนวน 937 คน อายุระหว่าง 3-7 ปี เด็กที่มีนิสัยกิบจุบจิบมักจะขาดแคลนธาตุอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น เหล็กและสังกะสี

ภาพ : Shutterstock


สรุปได้ว่าเด็กไม่จำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมเนื่องจากสามารถหาสารอาหารได้จากอาหารทั้ง 5 หมู่และผักผลไม้ แต่ถึงอย่างนั้นอาหารเสริมก็จำเป็นต่อเด็กที่มีนิสัยกินจุบจิบ เด็กที่มีโรคเกี่ยวกับการดูดซึมอาหารหรือเด็กที่กินมังสวิรัติ นอกจากนั้นหากต้องเลือกอาหารเสริมให้เด็กควรเลือกอาหารเสริมที่มีคุณภาพดีและมีสัดส่วนที่เหมาะสมพอเหมาะต่อความต้องการของเด็กในแต่ละวัน สำหรับเด็กทั่วไป การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่และกินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการกินของหวานและอาหารแปรรูป จะช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารและแร่ธาตุที่เหมาะสมต่อวัยของเด็กได้

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Amki Green
  • 14 Followers
  • Follow