ชื่อองค์ความรู้ การดูแลรักษาแบตเตอรี่รถยนต์
ชื่อเจ้าของความรู้ นายณัทวลินทร์ ทองพลอย ตำแหน่งพนักงานทั่วไป
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี
หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้ เทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง
ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้ การใช้ยานพาหนะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน บางคนใช้ยานพาหนะทุกๆวัน แต่ลืมเรื่องการดูแลบำรุงรักษายานพาหนะให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ จึงคิดว่าเรื่องการดูแลยานพาหนะนั้นสำคัญน่าจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของรถยนต์ หากเสื่อมสภาพทำให้รถสตาร์ทไม่ติด ไม่สามารถขับขี่ได้ เป็นเหตุให้ส่งผลกระทบไม่สามารถมาทำงานได้/ทำให้ขาดงาน/มาทำงานสาย
วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้ แบตเตอรี่รถยนต์ มี 3 ประเภท ได้แก่ แบตเตอรี่แบบเปียก แบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง และแบตเตอรี่แบบแห้ง
แบตเตอรี่ เปียก ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กันทั่วไป ลักษณะมีฝาเปิด-ปิด สามารถเติมน้ำกลั่นเองได้ มีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 ปี ควรดูแลเติมน้ำกลั่นอย่างน้อยประมาณสัปดาห์ละครั้ง
แบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง มีคุณสมบัติคล้ายกับแบบเปียกแต่การดูแลรักษาง่ายกว่า โดยคอยเติมน้ำกลั่นทุกๆ 4-6 เดือนเนื่องจากน้ำกรดข้างในมีความเข้มข้นสูงกว่า อายุการใช้ประมาณ 2-3 ปี
แบตเตอรี่แห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น ลักษณะไม่มีฝาเปิด-ปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งานที่มีระยะเวลานานกว่าแบบเปียก 5-10 ปีหากใช้ประเภทนี้แนะนำว่าอย่าต่อเติมปรับแต่งอะไรที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเข้าไป กำลังไฟอาจจะไม่เพียงพอและทำให้มีปัญหาในการใช้ได้ การดูแลแบตเตอรี่เบื้องต้นสำหรับผู้ที่ใช้แบตเตอรี่แบบเปียก
1. ควรตรวจสอบระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อย่างปล่อยให้น้ำกลั่นแห้ง ให้อยู่ในระดับกลางๆ ระหว่างขีดสูงสุดและต่ำสุด อย่าเติมให้เกินขีดสูง 2. ควรดูแลขั้วแบตเตอรี่ให้สะอาดอยู่เสมอ ง่ายๆ ก็คือ ให้ทาขั้วแบตเตอรี่ด้วยวาสลีนเพื่อป้องกันไม่ให้มีคราบขี้เกลือขึ้น แต่หากมีคราบเกลือขึ้นที่ขั้วแบตเตอรี่ควรใช้น้ำร้อนราดทำความสะอาด
3. ควรดูแลตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่อยู่เสมอ มีรอยแตก รอยร้าว ไหม เพราะทำให้ไม่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้อย่างที่ควร
4. ข้อสังเกตหากแบตเตอรี่ใกล้หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ การสตาร์ทเครื่องจะติดยาก/ไฟหน้ารถไม่สว่าง/ระบบไฟฟ้าในระยนต์ทำงานช้าลง เช่น กระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง ไดสตาร์ทไม่ทำงาน
ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
- เทคนิคและแนวทาง หมั่นตรวจสอบแบตเตอรี่อยู่เสมอๆเพื่อยึดอายุการใช้แบตเตอรี่
- ข้อพึงระวัง ห้ามสูบบุหรี่ขณะตรวจเช็คแบตเตอรี่เป็นอันตรายทำให้ระเบิดได้
- ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ทำให้ยืดอายุงานการใช้แบตเตอรี่ได้นาน/ลดภาระค่าใช้จ่ายลง
- ปัญหาและวิธีการแก้ไข ไม่ได้ตรวจเช็คแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอๆ
- วิธีแก้ไข คือ ต้องทำการตรวจสอบแบตเตอรี่อยู่เสมอๆ
- ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหา/พัฒนา แบตเตอรี่มีระยะเวลาการใช้ได้นานขึ้น