Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ

Posted By ไกด์เตยหอม | 19 มี.ค. 62
7,605 Views

  Favorite

รู้หรือไม่ ? เราเริ่มมีนักบินไทยคนแรกมา 100 กว่าปีแล้วนะ ในโอกาสวันที่ระลึกกองทัพอากาศ 27 มี.ค. และวันกองทัพอากาศ 9 เม.ย. ที่จะถึงนี้ ชวนมาตามรอยประวัติศาสตร์การบิน ชมเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งนิทรรศการน่าสนใจที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติกันค่ะ

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับสนามบินดอนเมือง แต่สนามบินอยู่ฝั่งถนนวิภาวดี พิพิธภัณฑ์ฯ อยู่ฝั่งถนนพหลโยธิน อยู่ข้างกองบัญชาการกองทัพอากาศเลยค่ะ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เพื่อเป็นที่เก็บรวมรวมมรดกทางการบินของชาติ แหล่งเรียนรู้ และสถานที่ท่องเที่ยวด้วยค่ะ

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

จากทางเข้าจะเห็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของ ร.5 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงเป็นพลอากาศเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานแก่กองทัพอากาศ ในบริเวณพิพิธภัณฑ์มีอาคาร 4 หลังล้อมรอบลานแสดงเครื่องบินที่อยู่ตรงกลาง
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
 

ที่นี่ไม่เก็บค่าเข้าชมค่ะ ฟรี ! แต่ผู้มาเยือนก็สามารถช่วยสนับสนุนได้โดยบริจาคเงินลงกล่องรับบริจาคได้เลยค่ะ การเดินชมจะเริ่มจากอาคารแรกคือ อาคาร 100 ปีการบิน วนไปก็จะสามารถชมได้ครบถ้วนเลยค่ะ 

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
    

ภายในติดแอร์เย็นสบาย ไม่ต้องกลัวร้อน และยังมีรถเข็นสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการด้วยนะคะ ด้านหน้าถัดจากแผนที่กองบินต่าง ๆ ในประเทศไทยแล้วเป็นจุดถ่ายรูปหมู่ที่มีฉากหลังเป็นเครื่องบินไอพ่นลำใหญ่ ใกล้ ๆ กันมีตู้จัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ของ ร.9 ในห้องประทับเครื่องบินลำเลียง Boeing 737-200

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
 

โซนแรกเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์การบินของไทยซึ่งเริ่มจากการที่ ร.6 ทรงให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เสนาธิการทหารบกในขณะนั้นคัดเลือกทหาร 3 นายไปเรียนการบินที่ฝรั่งเศส เป็นนักบินไทย 3 คนแรกและถือเป็น ‘บุพการีของกองทัพอากาศ’

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
 

และมีการจัดแสดงเครื่องบินแบบต่าง ๆ มากมาย อย่างในรูปด้านล่างคือ Breguet III จากฝรั่งเศส ในยุคที่ล้อยังคล้าย ๆ ล้อจักรยานหรือล้อรถเข็นขายส้มตําอยู่เลยค่ะ

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
 

ลำถัดมาด้านล่างนี้คือ Nieuport IIN/IVG ที่นักเรียนการบินชาวไทยรุ่นแรกใช้ฝึกบินในฝรั่งเศส และต่อมากระทรวงกลาโหมได้สั่งซื้อกลับมายังประเทศไทย

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

  
เมื่อมีรุ่นแรกแล้วก็นำไปสู่การสร้างนักบินรุ่นต่อ ๆ ไป ภาพล่างคือ นายสิบโท โทน บินดี ทหารอาสาที่ไปร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 และสำเร็จการบินผาดแผลงเป็นคนแรกในรุ่น 
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ต่อมาเมื่อเครื่องบินที่ซื้อมาชำรุดสึกหรอก็ต้องมีการซ่อม ซึ่งหากจ้างช่างชาวต่างประเทศใช้อะไหล่จากต่างประเทศทั้งหมดก็จะแพงมหาศาล

 

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 
เดิมทีเครื่องบินไม่ได้ทำจากโลหะเป็นส่วนใหญ่อย่างทุกวันนี้ แต่ใช้ไม้และผ้าใบร่วมด้วย และจากไม้มะฮอกกานีในยุโรปก็มีการเฟ้นหาไม้ไทยที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น ไม้ยมหอม ไม้โมก ไม้ตาเสือ มาใช้ทดแทนเพื่อความรวดเร็วและประหยัด 

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

จากการเรียนรู้และประยุกต์ นำไปสู่การสร้างและออกแบบเครื่องบินฝีมือชาวไทยในที่สุด

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ภาพล่างเป็นจดหมาย เอกสาร และหมวกของนาวาอากาศตรี หลวงอัมพรไพศาล (กฤษณ์ บูรณะสัมฤทธิ์) นักบินไทยคนแรกที่ขับเครื่องบินที่สร้างและออกแบบโดยคนไทย (เครื่องบินบริพัตร) บินไปเยือนต่างประเทศได้สำเร็จ คือไปอินเดีย เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2472
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
 

อย่างไรก็ตาม การนำเข้าเครื่องบินและเทคโนโลยีการบินจากต่างประเทศก็ยังมีความสำคัญมาโดยตลอด เช่นในภาพล่างเป็นเครื่องบินรบ Curtiss Hawk III (ลำหน้า 3 ใบพัด) ซึ่งเป็นเพียงลำเดียวที่ยังเหลืออยู่ในโลกแล้ว และ Corsair (ลำใน 2 ใบพัด) จากอเมริกา
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

นอกจากนี้ยังมีคลิปเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับกองทัพอากาศไทยให้ได้ชมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอีกด้วย
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ลำด้านล่างนี้พับปีกได้ด้วย
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

นอกจากเครื่องบินใบพัดแบบต่าง ๆ ก็เข้าสู่ยุคเครื่องบินไอพ่น ในรูปด้านล่างเป็น T-33/T-Bird สำหรับฝึกบิน ได้รับมาจากอเมริกาในปี 2493
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

แล้วก็มาถึงลำนี้เครื่องบินขับไล่ F-86F เห็นแล้วคิดถึงคุณชายรณพีร์ในละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพเมื่อหลายปีก่อนเลยค่ะ
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

เดินผ่านทางเชื่อมที่มีภาพเขียนรูปเครื่องบินแบบต่าง ๆ ประดับอยู่ไปก็จะเจอกับ F-5 เครื่องแรกของโลกที่ได้รับมาจากอเมริกาเมื่อปี 2509 ที่ใช้ฝึกบินกระทั่งปลดประจำการในปี 2550
  

ภาพ : ไกด์เตยหอม
ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ส่วนลำด้านล่างนี้คือ Gripen C ได้รับมาจากสวีเดนในโอกาสครบ 100 ปีการบินของบุพการีทหารอากาศไทย ประจำการตั้งแต่ปี 2554-ปัจจุบัน (ปี 2562)
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ทางเชื่อมไปยังอาคารหลังที่ 2 เป็นแบบลำตัวของเครื่องบินโดยสารเลยค่ะ
  

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ภายในอาคารนี้มีการจัดแสดงสิ่งของที่เกี่ยวข้องและเครื่องบินต่าง ๆ มากมาย
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
ภาพ : ไกด์เตยหอม
ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

หนึ่งในนั้นคือเครื่องบินไอพ่นความเร็วเหนือเสียง MiG-21 Bis ในภาพด้านล่าง ที่ได้รับจากประเทศเวียดนามเมื่อปี 2557 
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

เสร็จจากอาคาร 2 ก็ออกไปยังลานจอดได้จากประตูตรงทางเชื่อมนี้เลยค่ะ
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

เดินข้ามลานจอดเครื่องบินไปยังอาคาร 3 
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ภายในนี้เป็นส่วนจัดแสดงเฮลิคอปเตอร์ต่าง ๆ และอากาศยานไร้คนขับ (UAV) จริง ๆ แล้วก็คือโดรน (Drone) แต่โดรนที่เราเห็นบ่อย ๆ ในปัจจุบันมักจะเป็นโดรนถ่ายภาพ ซึ่งอาจมีหน้าตาไม่เหมือนโดรนที่ใช้ในงานอื่น ๆ  
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

โดยไฮไลต์สำคัญคือ เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง BELL UH 1N TWIN HUEY ที่ ร.9 ทรงใช้ในการเสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ 
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

เฮลิคอปเตอร์กู้ภัย
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

อาคารถัดไปเป็นส่วนนิทรรศการเกี่ยวกับการเป็นนักบินและการบิน เริ่มตั้งแต่ส่วนสูงและการสอบคัดเลยเลยค่ะ 
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
ภาพ : ไกด์เตยหอม
ภาพ : ไกด์เตยหอม

 
ถ้าผ่านทั้งหมดนี้แล้วได้เข้าไปเรียนก็ยังต้องผ่านการสอบในห้องปรับบรรยากาศความดันต่ำ ซึ่งจะมีการปรับให้เป็นความความดันตามที่เป็นจริงเมื่อทำการบินในระดับความสูงต่าง ๆ โดยจะต้องมีสติ เมื่อจะไม่ไหวแล้วต้องรีบนำหน้ากากออกซิเจนมาสวมให้ทันการ

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

มีเครื่อง Flight Simulator รุ่นต่าง ๆ ตั้งแต่ในอดีตด้วย
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
ภาพ : ไกด์เตยหอม
ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ถัดมาจะเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับอาวุธและเครื่องแบบด้วยค่ะ

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

 

ชมภายในอาคารกันแล้วด้านนอกในลานจอดยังมีเครื่องบินที่น่าสนใจมากมายให้ได้ชม และถ่ายภาพกันอย่างใกล้ชิดเลยละค่ะ เช่น เครื่องบินลำเลียงลำใหญ่ ๆ สีเขียวนี้
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ขึ้นไปชมด้านในได้ค่ะ ท้ายเครื่องใหญ่ขนาดที่รถยนต์น่าจะขับขึ้นไปได้คันหนึ่งเลยทีเดียว
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ห้องน้ำขนาดเล็ก 
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ไฮไลต์สำคัญของเหล่าเครื่องบินต่าง ๆ ในลานจอดคือลำนี้เลยค่ะ ‘บริพัตร’ เครื่องบินที่ออกแบบและก่อสร้างโดยคนไทย คือหลวงเวชยันต์รังสฤษฏ์เป็นผู้ออกแบบ และหลวงอัมพรไพศาลเป็นผู้ขับไปอินเดียเมื่อปี 2472 (90 ปีที่แล้ว) 
 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

นอกจากนี้ยังมีเครื่องบินอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น Cessna T-37B/C Tweet ในรูปด้านล่าง ซึ่งเป็นเครื่องฝึกแบบแรกแบบแรกของกองทัพอากาศที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไอพ่น รวมถึงเครื่องบินรบและเครื่องบินกู้ภัยต่าง ๆ 

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม
ภาพ : ไกด์เตยหอม
ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

ขอปิดท้ายกันด้วยภาพเครื่องบินพระที่นั่ง Boeing 737-200 ที่ ร.9 เคยประทับในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ต่าง ๆ ในการประกอบพระราชกรณียกิจบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกรทั่วประเทศ 

 

ภาพ : ไกด์เตยหอม

 

“Amazing ไทยเท่” ที่เที่ยวเก๋ ๆ ใกล้ตัว อย่าลืมมาชื่นชมกันนะคะ

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • ไกด์เตยหอม
  • 3 Followers
  • Follow