กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมนั้นสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าตั้งแต่ลูกน้อยยังอยู่ในวัยแบเบาะ สืบเนื่องจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่แปรเปลี่ยนไปจนทำให้เกิดลักษณะเฉพาะตัวหลายอย่างทั้งลักษณะทางกายภาพที่สามารถเห็นได้ชัด ความบกพร่องทางพัฒนาการเมื่อลูกเริ่มโตขึ้น รวมไปถึงภาวะทางการแพทย์บางอย่างที่อาจมีส่วนทำให้เด็กๆ ต้องกลายเป็นดาวน์ซินโดรม วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลดีๆ มาฝากกันสำหรับใครที่สงสัยและอยากหาข้อมูลประดับความรู้ไว้ว่าภาวะดาวน์ซินโดรมนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไรและมีกลุ่มอาการแบบไหน อย่ามัวรอช้าตามไปดูกันเลยดีกว่า
ลักษณะเฉพาะของเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมลักษณะของเด็กที่มีกลุ่มอาการเป็นดาวน์ซินโดรมนั้น ในเด็กแต่ละคนอาจจะได้ผลกระทบและมี
ความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เด็กส่วนใหญ่มีคล้ายๆ กันหลายอย่างคือลักษณะทางกายภาพและปัญหาเรื่องพัฒนาการที่คนเป็นพ่อแม่อาจจะสังเกตเห็นได้ในระยะเวลาอันสั้นโดยลักษณะทางกายภาพคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมมักมีลักษณะทางกายภาพเหมือนกันบางอย่าง แต่ไม่จำเป็นต้องพบทุกอย่างในเด็กทุกคน ซึ่งลักษณะที่อาจพบเจอได้แก่
- มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้ตัวอ่อนปวกเปียก (hypotonia)
- จมูกเล็กและแบน
- ปากเล็ก ลิ้นจุกปาก
- ตาเรียว หางตาเฉียงชี้ขึ้น
- ศีรษะแบน หน้าแบน
- ช่องระหว่างนิ้วโป้งเท้าและนิ้วชี้ห่างมาก
- มือกว้าง นิ้วมือสั้น
- เส้นฝ่ามือมีเพียงเส้นตัดขวางเส้นเดียว (Transverse palmer crease)
- น้ำหนักและความยาวทารกแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย
แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีสิ่งสำคัญที่คนเป็นพ่อแม่ต้องรู้คือต้องสังเกตว่าเด็กที่เกิดเป็นดาวน์ซินโดรมนั้นอาจจะไม่ได้มีลักษณะเหมือนกันทุกคนเนื่องจากเด็กๆ แต่ละคนจะได้รับลักษณะสืบทอดทางกายภาพจากพ่อแม่และครอบครัวไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของพัฒนาการของเด็กที่ล่าช้าล่าช้า ซึ่งเด็กทุกคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมจะมีความบกพร่องทางด้านความสามารถในการเรียนรู้ในระดับหนึ่งและมีพัฒนาการที่ล่าช้า ซึ่งในเด็กแต่ละคนจะมีความรุนแรงที่แตกต่างกันไป
รวมไปถึงการเรียนรู้ทักษะต่างๆ ได้ช้ากว่าเด็กวัยเดียวกันได้แก่ การยื่นมือ, การนั่ง, การยืน, การเดิน และการพูด ทั้งนี้เด็กที่มีดาวน์ซินโดรมจะสามารถเกิดทักษะเหล่านี้ได้ในที่สุด เพียงแต่ต้องใช้อาศัยระยะเวลาที่ยาวนานกว่าเด็กคนอื่นๆ เท่านั้น
นอกจากนี้เด็กดาวน์ซินโดรมประมาณ 1 คนในทุกๆ 10 คนนั้นจะมีปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ กลุ่มอาการออทิสติก (ASD) โรคสมาธิสั้น (ADHD) ฯลฯ เนื่องจากปัญหาเหล่านี้เด็กๆ ที่เป็นดาวน์ซินโดรมจึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษอย่างใกล้ชิด และเมื่อพวกเขาโตขึ้นก็อาจจำเป็นที่จะต้องเข้าโรงเรียนเฉพาะหรือได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมเป็นพิเศษเมื่อเข้ารับการศึกษาต่อไปในอนาคต ดังนั้นแล้วพ่อแม่คนไหนที่มีลูกน้อยที่เข้าข่ายกลุ่มอาการเหล่านี้ อย่ารีรอที่จะเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาหนทางในการรักษาต่อไปในอนาคต