Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ปรอทวัดไข้ ทำไมต้องใช้ปรอท

Posted By Atiphat | 09 ก.ค. 61
43,120 Views

  Favorite

เวลาเราเป็นไข้หรือไม่สบาย พอไปโรงพยาบาล สิ่งแรก ๆ ที่เราจะเจอ คือ การถูกวัดไข้ โดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) ในการวัดระดับอุณหภูมิของร่างกายเพื่อตรวจดูความผิดปกติของร่างกาย เรามาดูกันว่า ทำไมหมอหรือพยาบาลถึงต้องใช้ปรอทในการวัดไข้

 

รู้จักกับ "เทอร์โมมิเตอร์"        

เทอร์โมมิเตอร์หรือที่เรียกกันจนคุ้นเคยว่า ปรอทวัดไข้ เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นหลอดทรงยาวแคบ ทำมาจากแก้วชนิด Pyrex glass ภายในบรรจุสารเคมีที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิอย่างสม่ำเสมอ ก็คือ ปรอท (Hg) ซึ่งเป็นธาตุในกลุ่มโลหะทรานซิชัน มีมวลอะตอม 200.589 กรัมต่อโมล มีจุดหลอมเหลวหรือจุดเยือกแข็งที่ -38.83°C และมีจุดเดือดที่ 356.73°C มีความหนาแน่น 13.53 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

 

เนื่องจากปรอทมีจุดเดือดและจุดเยือกแข็งดังที่กล่าวมา เมื่ออยู่ในอุณหภูมิปกติหรืออุณหภูมิประมาณ 25°C จึงทำให้เราสังเกตเห็นปรอทอยู่ในสถานะของเหลวสีเงินภายในเทอร์โมมิเตอร์ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ระดับของปรอทในเทอร์โมมิเตอร์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เราสามารถทราบค่าอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปได้

ภาพ : Shutterstock

 

ระดับของปรอทเปลี่ยนแปลงเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป

สภาพปกติของเทอร์โมมิเตอร์ คือ หลอดแก้วบรรจุของเหลวที่มีลักษณะแคบมาก เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของของเหลวนั้นตามมา โดยของเหลวจะมีการขยายตัวตามภาชนะที่บรรจุ  ปรอทจึงเคลื่อนที่ในลักษณะของการขึ้นและลงในทิศทางเดียว

 

ทำไมถึงเลือกใช้ปรอท ?

ช่วงใกล้ปลายศตวรรษที่ 16 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แดเนียล กาเบรียล ฟาเรนไฮน์ ได้เลือกใช้ปรอทมาบรรจุในเครื่องมือวัดที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ ซึ่งเป็นของเหลวที่มีพฤติกรรมการขยายตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างสม่ำเสมอ และมีจุดเยือกแข็งต่ำมาก รวมทั้งสีเงินของปรอททำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงระดับของอุณหภูมิในเครื่องมือวัดได้ง่าย

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Atiphat
  • 2 Followers
  • Follow