Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

"สารทำความเย็น" คืออะไร

Posted By Atiphat | 23 ก.ค. 61
38,238 Views

  Favorite

ในวันที่อากาศร้อนหรือรู้สึกว่าอากาศอบอ้าว แต่ละคนมีวิธีการคลายร้อนกันยังไงบ้างครับ ? แน่นอนละว่าต้องเปิดพัดลม หรือถ้าไม่ไหวก็คงเปิดแอร์คลายร้อนกันสินะครับ

 

กระบวนการที่ทำให้เกิดความเย็น

เป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้วว่า แอร์หรือเครื่องปรับอากาศสามารถเปลี่ยนอากาศในสถานที่นั้น ๆ ให้เย็นสบายได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบสำคัญอย่างคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ซึ่งทำงานควบคู่กับสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ (Refrigerant) ซึ่งจะผ่านกระบวนการควบแน่น กระบวนการลดแรงดันเพื่อเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ กระบวนการระเหยจนได้ก๊าซที่มีอุณหภูมิลดลง จากนั้นระบบพัดลมจึงพัดก๊าซที่มีอุณหภูมิลดลงหรืออากาศเย็นกลับเข้าสู่สถานที่ที่เราอาศัยอยู่นั่นเอง

ภาพ : Shutterstock

 

กระบวนการควบแน่น→กระบวนการลดแรงดันเพื่อเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ→กระบวนการระเหยจนได้ก๊าซที่มีอุณหภูมิลดลง

 

รู้จักกับสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ

สารทำความเย็นที่ใช้ทั่วไปแบ่งตามคุณสมบัติทางเคมีได้ 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ สารกลุ่ม CFC (chlorofluorocarbon) สารกลุ่ม HFC (hydrofluorocarbon) สารกลุ่ม HCFC (hydrochlorofluorocarbon) และสารกลุ่ม HC (hydrocarbon)

 

1. สารกลุ่ม CFC (chlorofluorocarbon) ประกอบด้วย คลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่น R-11 R-12 หรือเรียกว่า CFC-11, CFC-12 เป็นที่ใช้กันทั่วไปอย่างแพร่หลาย มีความปลอดภัยและไม่เป็นพิษถ้าไม่ได้สัมผัสกับความร้อนจากอุปกรณ์ในเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.สารกลุ่ม HFC (hydrofluorocarbon) ประกอบด้วย ไฮโดรเจน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่น R-407C หรือเรียกว่า HFC-407C และ  R-134a หรือเรียกว่า HFC-134a ที่นำมาใช้แทน R-12 มีสูตรโมเลกุลคือ CH2FCF3 มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ R-22 เหมาะมากสำหรับการใช้งานในแอร์ทั่วไปทั้ง แอร์บ้าน แอร์รถยนต์ หรือ ตู้เย็น เพราะไม่มีเป็นพิษ ไม่ติดไฟ ไม่กัดกร่อนอุปกรณ์และยังไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนอีกด้วย

3.สารกลุ่ม HCFC (hydrochlorofluorocarbon) ประกอบด้วย ไฮโดรเจน คลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่น R-22 หรือเรียกว่า HCFC-22  เป็นสารทำความเย็นที่เหมาะกับระบบของอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กอย่างเช่น เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากมีปริมาตรจำเพาะน้อยทำให้ใช้เครื่องอัดที่เล็กกว่าสารทำความเย็นแบบ R-12 และยังมีแนวโน้มในการรั่วไหลที่น้อยกว่าและราคาถูกอีกด้วย

4. สารกลุ่ม HC (hydrocarbon) ประกอบด้วย ไฮโดรเจน และคาร์บอน เช่น เช่น R-290 หรือเรียกว่า HC-290 สารกลุ่มนี้ส่งผลกระทบต่อชั้นโอโซนน้อยกว่าสารใน 3 กลุ่มแรก จึงเหมาะกับการใช้งานสำหรับแอร์บ้านมาก

 

ผลกระทบของการใช้สารทำความเย็น

เนื่องจากสถานการณ์โลกในปัจจุบัน ได้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจก และที่สำคัญคือการที่ชั้นบรรยากาศโอโซนถูกทำลาย การใช้สารทำความเย็นจึงต้องพิจารณาถึงเรื่องนี้ด้วย ดังนั้น เราจำเป็นต้องประเมินค่า ODP (Ozone Depleting Potential) ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกถึงการทำลายชั้นโอโซน และ GWP (Global Warming Potential) ซึ่งกำหนดค่าเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบ คือ เท่ากับ 1 หมายความว่าถ้าค่านี้สูงโลกเราก็จะร้อนมากขึ้น หากสารทำความเย็นมีค่าสูงกว่า 1 ขึ้นไป ก็เท่ากับเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะโลกร้อนมากกว่าที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำตามจำนวนเท่าของค่านั้น ดังนั้นสารทำความเย็นที่ดีจะต้องมีค่า ODP เป็นศูนย์ และ ค่า GWP ที่ต่ำ

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Atiphat
  • 2 Followers
  • Follow