Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วัสดุชนิดใหม่สำหรับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์

Posted By thaiscience | 31 พ.ค. 61
6,364 Views

  Favorite

นักวิจัยได้ค้นพบวัสดุชนิดใหม่ที่มีราคาถูกและไม่เป็นพิษซึ่งมีศักยภาพในการนำไปพัฒนาระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์

 

การผลิตก๊าซสังเคราะห์หรือ syn-gas ซึ่งมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ โดยใช้น้ำและแสงอาทิตย์เป็นสารตั้งต้น ถือเป็นขั้นตอนแรกในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เป็นพลังงานทางเลือกทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ในขณะนี้นักวิจัยกำลังค้นหาตัวเร่งและวัสดุที่ดีกว่าในการดูดกลืนแสงเพื่อใช้ในการผลิตก๊าซสังเคราะห์ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการสังเคราะห์แสงที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยตัวเร่งที่ต้องการนำมาใช้นั้นควรทำมาจากโลหะแอลคาไลน์เอิร์ทที่มีอยู่จำนวนมากหาได้ทั่วไปและราคาถูก นอกจากนี้ยังจะต้องสามารถดูดกลืนแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกความถี่ของคลื่นแสงที่อยู่ในสเปกตรัม

 

โครงการ CO2SF ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปได้ทำการศึกษาวัสดุอโลหะสองชนิดที่มีคุณสมบัติดูดกลืนแสงร่วมกับการใช้โลหะนิกเกิลที่มีคุณสมบัติละลายน้ำและเอนไซม์ที่สามารถผลิตก๊าซไฮโดรเจนโดยวัสดุอโลหะชนิดแรกที่ถูกนำมาทดลองคือ คาร์บอนไนไตรด์ซึ่งเป็นสารประกอบคาร์บอนที่ปลอดสารพิษและมีราคาถูก ซึ่งผลิตได้จากปฏิกิริยาการควบแน่นของเมลามีน วัสดุชนิดนี้ถูกพิสูจน์แล้วว่ามีเสถียรภาพและอายุการใช้งานสูงกว่าสารที่ดูดกลืนพลังงานแสงชนิดอื่น ๆ ซึ่งจะเสื่อมสภาพลงไปเรื่อย ๆ หลังจากถูกใช้งานเป็นเวลานาน 

 

วัสดุอโลหะชนิดที่สองคือ หมุดคาร์บอนควอนตัมซึ่งถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยการใช้กรดซิตริกเป็นสารตั้งต้นซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไป มีราคาถูกและไม่เป็นพิษ โดยวัสดุชนิดนี้สามารถดูดกลืนแสงได้ดีและสามารถเอื้อให้ผู้ใช้ทำการวัดปริมาณก๊าซไฮโดรเจนได้ภายใต้แสงที่อยู่ในช่วงความถี่ที่ดวงตามองเห็นได้ 

 

การใช้เอนไซม์ไฮโดรจีเนสเป็นส่วนประกอบของตัวเร่งนั้นถือเป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งนักวิจัยได้ศึกษาและค้นพบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคุณสมบัติและกลไกการทำงานของเอนไซม์เหล่านี้ โดยมีวารสารทางวิชาการ 4 ฉบับที่มีค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความวารสารสูงได้ถูกตีพิมพ์ออกมา เนื่องมาจากการวิจัยภายใต้โครงการ CO2SF และมีบริษัท spin-off หลาย ๆ บริษัทที่ได้นำผลวิจัยจากโครงการนี้ไปใช้ประโยชน์ จึงสรุปได้ว่างานวิจัยภายใต้โครงการ CO2SF ได้ช่วยปูทางสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และท้ายที่สุดวิธีการดักจับ การแปรรูป และการกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ถูกคิดค้นภายใต้โครงการนี้ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาแหล่งพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้

 

ที่มา: http://cordis.europa.eu/result/rcn/182822_en.html

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • thaiscience
  • 2 Followers
  • Follow