Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional learning communities)

Posted By Plook Teacher | 26 ก.พ. 61
7,113 Views

  Favorite
 
               ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional learning communities) หรือที่เรียกอย่างย่อว่า PLCs นั้น หากนำมาใช้ในวิชาชีพทางการศึกษาแล้วหมายถึงการพัฒนาประสบการณ์สอนของครูที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน โดยอาศัยความร่วมมือจากตนเองและครูคนอื่นทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียน 

 

แนวคิดนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

               ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาจากฐานคิดที่การสอนโดยครูมาแต่เดิมนั้นมักจะมีลักษณะ "One man show" คือครูเป็นผู้สอนหลักในชั้นเรียน และโอกาสน้อยที่ครูจะเรียนรู้ร่วมกันกับนักเรียนเชิงการทำงาน หากยังให้ครูเป็นผู้ที่อยู่หน้าชั้นตลอดเวลาอาจส่งผลลบกับกระบวนการที่จะฝึกเด็กในเรื่องอื่น ๆ ตามมาด้วย ซึ่งโรงเรียนจะดีได้ก็ย่อมาจากครูที่สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นหลัก ดังนั้นหากเปลี่ยนการสอนในชั้นเรียนมาเป็นการเรียนรู้ในบริบทเชิงสังคมที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างครูในสถานที่มีบริบทเดียวกันหรือคล้ายกันก็จะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
 
               หัวใจหลักของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพคือการได้เรียนรู้เชิงสถานการณ์ (Situated Learning) ซึ่งความรู้จะได้มาจากสถานการณ์นั้นมาจากกลุ่มผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ (Communities of practice) ซึ่งการเรียนรู้และการปฏิบัติเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกันผ่านบริบทเชิงสังคมในที่ทำงานที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งจากพฤติกรรมและการได้เห็นการปฏิบัติจริงจากผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญ และเมื่อครูที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวแล้วก็จะมีกระบวนการค้นหาความรู้ (Inquiry-based learning) จนสามารถเป็นสร้างเครือข่ายต่อไปได้ 
 
ภาพ : shutterstock.com

 

วิธีการเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

               จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปราการด่านแรกที่จะทำให้รู้ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ นั่นคือ "ความร่วมมือและความเห็นดีเห็นชอบ" จากผู้บังคับบัญชา แต่อย่างไรก็ตามปราการด่านแรกก็อาจไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะยืนยันว่าชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนามานั้นจะประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีเงื่อนไขอย่างอื่นด้วย ซึ่ง (1) การสร้างความไว้วางใจบนพื้นฐานของความสมัครใจและกัลยาณมิตรเป็นสิ่งแรกที่จะก่อให้เกิดเครือข่ายได้ (2) ใช้ปัญหาและความต้องการของสมาชิกเป็นเป้าหมายหลัก (3) ส่งเสริมและสนับสนุนผู้นำเครือข่าย และ (4) สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเครือข่ายให้สามารถดำเนินต่อไปเองได้
 

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จากหิ้ง...สู่ห้าง

               จากการสัมภาษณ์ จรรยารักษ์ โพธิ์ทองงาม สำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เกี่ยวกับการนำแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในโรงเรียน
“โรงเรียนจะมาคุยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันโดยเขาจะเชิญราชภัฏ มีศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการมานั่งฟังครูเขาคุยกันในแต่ละชุมชนที่เขาทำต่อเด็ก มาดูว่าเขาทำอย่างไง เกิดอะไรขึ้น เขาเข้มแข็งแล้วครูแกนนำทำยังไง เปิดขายของคือครูที่สอนโดยใช้วิธีคิดก็จะขายของนะคะคราวนี้พอไปใช้... ใครสนใจเข้าร่วมมาเป็นทีมด้วยกัน ครูที่จะไม่เข้าร่วมเขาก็จะมองว่า นี่ไม่ได้สอนวิชาภาษาไทยจะใช้ได้ไหมเนี่ย เรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้วิจัยเป็นฐานไปสอนเด็กนักเรียนแล้วได้ผลสำเร็จดีมากทีนี้เขาก็จะเป็นแกนนำแล้วเขาก็จะมีเพื่อนๆ มาอยู่ในกลุ่มเขานี่คือการขยายความรู้” 
 
รายการอ้างอิง
อาชัญญา รัตนอุบลและคณะ. (2559). การศึกษาการส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Chauraya, M., & Brodie, K. (2017). Learning in Professional Learning Communities: Shifts in mathematics teachers’ practices. African Journal of Research in Mathematics, Science and Technology Education, 1-11. doi: 10.1080/0035919X.2017.1350531
Feger, S., & Arruda, E. (2008). Professional learning communities : key themes from the literature. Providence, RI: Education Alliance, Brown University.
Lamb, J., & Geiger, V. (2012). Teaching Experiments and Professional Learning. In N. M. Seel (Ed.), Encyclopedia of the Sciences of Learning (pp. 3276-3277). Boston, MA: Springer US.
Lave, J., & Wenger, E. (2016). Situated learning : legitimate peripheral participation.
Mattos, M., DuFour, R., DuFour, R., Eaker, R., & Many, T. W. (2016). Learning by doing : a handbook for professional learning communities at work.
Steyn, G. M. (2017). Fostering Teachers’ Professional Development Through Collaboration in Professional Learning Communities. In I. H. Amzat & N. P. Valdez (Eds.), Teacher Empowerment Toward Professional Development and Practices: Perspectives Across Borders (pp. 241-253). Singapore: Springer Singapore.
Stoll, L., & Louis, K. S. (2008). Professional learning communities : divergence, depth and dilemmas. Maidenhead: McGraw-Hill/Open University Press.
Wilson, A. (2016). From Professional Practice to Practical Leader: Teacher Leadership in Professional Learning Communities. International Journal of Teacher Leadership, 7(2), 45-62. 
 
ประวัติผู้เขียน
รศ.ดร.อาชัญญา รัตนอุบล
ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://portal.edu.chula.ac.th/pub/nfed/documents/work02.pdf
http://portal.edu.chula.ac.th/pub/nfed/documents/work_Archanya_59.pdf
 
โรงเรียนเมืองกระบี่ 
ผอ.วสันต์ ปัญญา โทร. 089-727-2738
บ้านถนนศรีตรัง ตำบลเมืองกระบี่ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 81000
 
โรงเรียนเมืองถลาง
ผอ.วัชรศักดิ์ สงค์ปาน โทร. 093-626-3854
บ้านเมืองใหม่ ตำบลเมืองถลาง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110
 
โรงเรียนสาธิตพัฒนา
ผอ.ลัดดา ภู่เกียรติ โทร. 086-388-2431
เลขที่ 387 ถนนปัญญาอินทรา แขวงสามวาตะวันตก
เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510
 
โรงเรียนเพลินพัฒนา
คุณครูภูริทัต ชัยวัฒนกุล โทร.087-685-1495
33/39-40 ถนนสวนผัก แขวงศาลาธรรมสพน์ 
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
 
โรงเรียนราชินีบน
ดร.พิรุณ ศิริศักดิ์ โทร. 081-308-8613
885 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กทม. 10300
 
เครือข่ายโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา
ศน.รังสิมา จันทะโชติ โทร. 089-618-2871
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานการศึกษาเมืองพัทยา
ถ.พัทยาเหนือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Teacher
  • 127 Followers
  • Follow