Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การประกันสังคมในประเทศไทย

Posted By Plookpedia | 22 ธ.ค. 59
2,509 Views

  Favorite

การประกันสังคมในประเทศไทย

ประเทศไทยมีกฎหมายประกันสังคมฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ กฎหมายฉบับนี้ ผ่านรัฐสภาพร้อมจะประกาศใช้ แต่ประสบปัญหาในเรื่องนโยบาย ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ได้ จนกระทั่งบัดนี้ กฎหมายนี้ถูกร่างเสนอ และสนับสนุน โดยกรมประชาสงเคราะห์ มีเนื้อหาให้ความคุ้มครองบุคคล ๒ ประเภท คือ ผู้ประกอบอาชีพรับจ้าง และประชาชนทั่วไป ที่สมัครใจประกันตนเอง บุคคลทั้งสองประเภทนี้กฎหมายได้ให้รายละเอียดไว้กว้างๆ ได้แก่ บุคคลซึ่งรับจ้างทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นการประจำ และได้รับค่าจ้างเป็นเงิน ตั้งแต่ ๕๐๐ บาทขึ้นไป ต่อหนึ่งเดือน หรือผู้ทำงานส่วนตัว ผู้ไม่ได้ทำงาน หรือแม้แต่ผู้ไม่ได้อยู่ในข่ายบังคับ ก็สามารถสมัครเข้าประกันตนเอง ตามกฎหมายฉบับนี้ได้ แต่ทั้งนี้ผู้เอาประกันต้องมีสุขภาพ ตามที่แพทย์ได้ตรวจรับรองว่า สมควรเข้าประกันตนได้ ส่วนประโยชน์ที่ผู้เอาประกันจะได้รับ ประกอบด้วยเงินหรือสิ่งของ หรือบริการอื่นๆ โดยจัดแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ คือ การประกันในด้านการคลอดบุตร การสงเคราะห์บุตร การเจ็บป่วยพิการหรือทุพพลภาพ ชราภาพ และการฌาปนกิจ

แบบฟอร์มกรมธรรม์ประกันภัย

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow