Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

โรคผิวหนังที่มีการเปลี่ยนแปลงในสีของผิวหนัง

Posted By Plookpedia | 17 ธ.ค. 59
2,779 Views

  Favorite

โรคผิวหนังที่มีการเปลี่ยนแปลงในสีของผิวหนัง

โดยทั่วไปคนไทยมีผิวคล้ำ ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงในสีของผิวที่คล้ำหรือดำขึ้นจึงไม่ค่อยน่าเกลียด นอกจากในผู้ที่มีผิวขาวตามธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีผิวคล้ำแล้ว ผิวหนังเกิดมีสีซีดหรือขาวผิดปกติไป ก็มักจะทำให้ดูเด่นชัด และเห็นว่า น่าเกลียด จะทำให้ผู้นั้นมีความกังวลอยู่เสมอ

โรคที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในสีของผิว ไม่ว่าจะทำให้ผิวคล้ำดำขึ้น เป็นสีน้ำตาล หรือสีอื่นๆ และสีของผิวที่ขาวซีด และผิดปกตินั้นมีมากมาย บางโรคก็อาจพบได้บ่อยๆ หรือเป็นกันมาก บางโรคก็พอพบได้บ้างเป็นครั้งคราว และบางโรคก็พบได้น้อยมาก หรือนานๆ จะเห็นสักรายหนึ่ง 

ในบรรดาผิวที่มีสีคล้ำขึ้นกว่าปกติ และพบได้บ่อย เช่น ฝ้า ผิดตกกระและขี้แมลงวัน เป็นต้น 

ฝ้า 

เป็นผิวหนังที่มีสีคล้ำกว่าปกติ มักจะเป็นในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย อาจเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ หรือเกิดขึ้นในผู้ที่ตั้งครรภ์ ในผู้ที่เป็นมะเร็งของรังไข่ และในผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดอยู่ 

ฝ้านี้จะเป็นที่บริเวณผิวหนังที่ถูกแดด หรือผิวเข้ม ขึ้นเมื่อถูกแสงแดด โดยมากจะเป็นสีน้ำตาลกลางๆ หรือเข้ม เกิดขึ้นเหมือนกันทั้งสองข้างแถวหน้าผาก แก้ม ขมับ และเหนือริมฝีปาก 

ในรายที่เป็นระหว่างตั้งครรภ์หรือรับประทานยาคุมกำเนิด เมื่อคลอดหรือหยุดรับประทานยาแล้ว จะค่อยๆ จางหายไป 

ตกกระ 

มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ขึ้นบนผิวหนังบริเวณที่ถูกแดด เกิดขึ้นเพราะเม็ดสีเมลานินเกิดโฟโตออกซิเดชัน (photo-oxidation) โดยแสงอัลตราไวโอเลตขนาดคลื่นยาว ๓๒๐-๔๐๐ นาโนมิเตอร์ (320-400 nanometer; nm.) เข้าใจว่า กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยสำคัญในการตกกระด้วย

นอกจากผิวหนังที่มีสีคล้ำหรือเข้มที่พบบ่อยดัง- กล่าวแล้วนี้ ผิวหนังก็ยังอาจมีสีผิดปกติอื่นๆ ได้อีก เช่น ค่อนข้างเหลือง ในผู้ที่รับประทานมะละกอ หรือฟักทองเป็นประจำ หรือจากยาบางชนิด หรือเป็นสี อื่นๆ เช่น ฟ้าหม่นเนื่องจากพิษของโลหะหนัก เช่น ปรอท และบิสมัท เป็นต้น 

ในทารกที่เกิดใหม่อาจเห็นมีปื้นสีฟ้าคล้ำๆ ที่ บริเวณก้น เรียกว่า "จุดมองโกเลียน" ซึ่งจะหายไปเมื่อ อายุได้ ๕-๖ ขวบ หรืออาจเป็นอยู่จนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ ก็ได้ 

ด่างขาว 

ผิวหนังที่มีสีซีดจางผิดปกติ หรือกลายเป็นสีขาว มักเรียกกันว่า เป็นโรคด่างขาว ไม่ใช่ "เผือก" ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่ผิวหนังไม่มีเม็ดสีมาแต่กำเนิด เป็นลักษณะหนึ่งทางกรรมพันธุ์

โรคด่างขาววิทิลิโก

   ผิวหนังที่ด่างขาวนั้น อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น เกิดขึ้นภายหลังจากมีพยาธิสภาพที่ผิวหนังอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจเกิดจากโรคผิวหนังบางชนิด เช่น เกลื้อน คุดทะราด และโรคเรื้อน แต่ที่เป็นโรคสำคัญ และพบบ่อยคือ โรคด่างขาวแท้ๆ ที่เรียกว่า "วิทิลิโก" (vitiligo)
ถึงแม้ "วิทิลิโก" จะเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนในขณะนี้ แต่ก็มักพบบ่อยๆ ในผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน และอาจเกิดขึ้นในวัยไหนก็ได้ แต่มากที่สุดคือระหว่างอายุ ๑๐-๓๐ ปี

ลักษณะของผิวหนังที่เป็นโรคนี้จะมีสีขาวเหมือน แป้ง มีจำนวนและขนาดต่างๆ กัน ส่วนมากมีลักษณะ กลมหรือรีและมีขอบชัดเจน ซึ่งในบางรายขอบอาจมี สีคล้ำกว่าปกติ อาจเป็นกับผิวหนังบริเวณใดของร่างกาย ก็ได้ แต่พบบ่อยๆ ที่บริเวณกระดูกโปนออกมา เช่น ข้อศอก หัวเข่า ข้อนิ้ว รอบๆ ปาก ตา จมูก และทวารหนัก หน้าแข้ง ข้อมือ รักแร้ และส่วน ล่างของหลัง ถ้าเป็นทั้งสองด้านของร่างกาย ก็มักจะเป็นเท่าๆ กัน หรือไม่เหมือนกันก็ได้

เยื่อมูก เช่น ในบริเวณเหงือก และริมฝีปาก ก็อาจด่างขาวได้ 

ในตำแหน่งที่เป็นด่างขาวนั้น เส้นผมหรือขนก็ อาจขาวไปด้วยเหมือนกัน 

อาการของโรค อาจลามไปช้าๆ หรือหยุดนิ่ง อยู่เฉยๆ หรือลามกว้างออกทางริมอย่างรวดเร็วก็ได้ เช่น อาจลามไปเกือบทั่วทั้งตัว ภายใน ๒-๓ วันหรือ ๒-๓ สัปดาห์เท่านั้น และโรคนี้ก็อาจหายได้เองเช่นกัน แม้จะไม่มากนักหรือไม่หายสนิทเหมือนปกติก็ตาม

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow