Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การปรับปรุงคุณภาพไม้

Posted By Plookpedia | 05 ธ.ค. 59
1,875 Views

  Favorite

การปรับปรุงคุณภาพไม้

      แต่ก่อนมา ตลาดไม้เมืองไทยรู้จักไม้อยู่เพียงไม่กี่ชนิด ที่สำคัญก็มีสัก ประดู่ แดง เต็ง รัง ตะเคียน เคี่ยม และหลุมพอ ไม้เหล่านี้ส่วนใหญ่ง่ายต่อการเลื่อย ผ่า และไสกบตกแต่ง มีความแข็งแรงและทนทานตามธรรมชาติสูง หดตัวไม่มาก จึงไม่ค่อยแตกร้าว หรือบิดงอ เกิดความเสียหายในสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้ไม้สอยโดยทั่วๆ ไป ดังนั้น ความจำเป็นในการปรับปรุงคุณภาพไม้ให้ดีขึ้น จึงไม่ค่อยมี หากมีผู้คิดริเริ่มดำเนินการขึ้นบ้างก็มักขาดการสนับสนุน เนื่องจาก คนไม่ไว้ใจในประสิทธิภาพ และไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม อันเนื่องมาจากการปรับปรุงนั้น แต่บัดนี้ ปริมาณไม้ที่ตลาดต้องการมีมากขึ้น ในขณะที่ไม้ดีมีค่าจากป่ามีน้อยลง จำเป็นต้องใช้ไม้ที่มีคุณสมบัติรองๆ ลงไป การปรับปรุงคุณภาพไม้จึงค่อยมีความสำคัญขึ้นมา 

   

https://static.trueplookpanya.com/tppy/member/m_562500_565000/564144/cms/images/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/s3-217-1.jpg
แผนภาพแสดงไฮฟาของรา ซึ่งแทรกเข้าไปทำอันตรายตามเซลล์ไม้


การปรับปรุงคุณภาพไม้นั้น เราอาจทำได้ทั้งในด้านสี ความแข็งแรง การหด การพองตัว รวมถึงความทนทาน

การย้อมสี 

      เป็นวิธีหนึ่ง ซึ่งทำไม้ที่มีสีจาง เช่น กระพี้ไม้ มีสีสวยงามขึ้นได้อย่างกว้างขวาง น้ำยาอาบไม้บางอย่าง ก็มีผลทำให้ไม้มีสีสวยงามขึ้นได้ไม่น้อย ปัญหานี้ได้มีการศึกษา และปฏิบัติกันบ้างแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลาย

 

https://static.trueplookpanya.com/tppy/member/m_562500_565000/564144/cms/images/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/s3-217-2.jpg
แปลงทดลองความทนทานตามธรรมชาติของไม้ ที่สถานีวนกรรมเขาช่องจังหวัดตรัง

 

การอัดพลาสติก

      เป็นวิธีที่ทำให้ความแข็งแรง และทนทานของไม้ดีขึ้นได้ วิธีการ คือ เราอัดสารที่เป็นพลาสติกเข้าไปในไม้ตั้งแต่เมื่อสารนั้นยังอยู่ในสภาพของของเหลว แล้วจึงทำให้มันรวมตัวจับกันเป็นเนื้อพลาสติก ซึ่งเป็นของแข็งในภายหลัง ทั้งนี้อาจทำได้ โดยอาศัยตัวเร่งทางเคมี หรือฉายรังสี ไม้ที่อัดพลาสติกแล้ว อาจไสกบตกแต่งได้อย่างไม้ธรรมดา

การอัดไม้ด้วยความร้อน 

      ทำให้ไม้มีปริมาตรเล็ก เข้าและคงรูปอยู่ได้ภายหลังการอัด วิธีนี้ทำให้เราสามารถปรับปรุงไม้ที่เบาๆ ให้เป็นไม้หนักขึ้นได้ ในเวลาเดียวกัน ก็ทำให้ไม้แข็งและทนทานขึ้นได้ ตามส่วน การอัดไม้ให้มีความถ่วงจำเพาะ ๑.๒-๑.๓ (เปรียบเทียบกับความถ่วงจำเพาะของไม้แท้ๆ ๑.๕๔) สามารถทำได้โดยง่าย

 

https://static.trueplookpanya.com/tppy/member/m_562500_565000/564144/cms/images/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/s3-218.jpg
สภาพแวดล้อมและตัวการทำอันตรายไม้ ๑. ในร่ม ๒. กลางแจ้ง ๓. ที่ชื้นแฉะ
๔. ในน้ำ ๔.๑ ในน้ำจืด ๔.๒ ในน้ำเค็ม ๕. ในดิน ๕.๑ ในดินลึก ๕.๒ ในดินใต้ระดับน้ำ


การอบหรือนึ่งไม้ที่อุณหภูมิสูงๆ 

ทำให้สารประกอบทางเคมีบางประเภท ซึ่งดูดคายน้ำได้มากสลายตัว จึงมีผลทำให้การพอง และหดตัวของไม้ลดลงไปด้วย จัดได้ว่าเป็นวิธีปรับปรุงคุณภาพไม้วิธีหนึ่ง

 

https://static.trueplookpanya.com/tppy/member/m_562500_565000/564144/cms/images/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/s3-219-1.jpg


การอบหรือผึ่ง 

      เป็นวิธีทำให้ไม้แห้ง ได้ความชื้นสมดุลกับความชื้นในอากาศเสียก่อน เพื่อป้องกันการหดตัวของไม้ในภายหลังได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำได้ไม่ยาก และในปริมาณครั้งละมากๆ ในการอบ หรือผึ่งต้องกองไม้ให้โปร่ง ทำให้อากาศในกองไม้ถ่ายเทได้สะดวก การผึ่ง (ผึ่งในอากาศ) ปกติไม้แห้งช้า ต้องเสียเวลานาน เวลาใดอากาศแห้ง ไม้ก็แห้งเร็ว ถ้าอากาศชื้นดังเช่นในฤดูฝน ไม้ก็แห้งช้า เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้ จึงได้มีการคิดเตาอบขึ้นใช้ ในเตาอบเราอาจบังคับควบคุมให้อากาศร้อนเย็น แห้ง หรือชื้นได้ ตามที่ต้องการ จึงสามารถทำให้ไม้แห้งได้เร็ว เท่าที่จะไม่ทำให้ไม้เสียหายจากการหดตัวไม่เท่ากันดังกล่าวมาแล้ว

 

https://static.trueplookpanya.com/tppy/member/m_562500_565000/564144/cms/images/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/s3-219-2.jpg


การกองไม้ 

      โดยกองให้กองไม้นั้นโปร่งไม่ชิดกัน นอกจากจะทำให้ไม้แห้งเร็วแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดราที่ทำให้ไม้เสียสี และทำให้ไม้ผุได้เป็นอย่างดีด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนของไม้ที่เป็นกระพี้ หรือไม้ที่ไม่ทนทานโดยทั่วๆ ไป หากกองชิดกันในระยะที่แปรรูปออกมาสดๆ เพียงวันสองวัน จะเกิดราขึ้นเต็ม บางทีทำให้ไม้ติดกันเป็นตับ ถ้าไม่แยกผึ่งให้ทันท่วงที อาจเสียหายถึงกับใช้การไม่ได้ตลอดไป

การแช่น้ำ 

      ถ้าแช่น้ำเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้สารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีในไม้ สลายตัวไป ภายหลังเมื่อนำไม้ มาใช้งาน แม้จะมีส่วนที่เป็นกระพี้ติดอยู่ด้วย ก็จะไม่มีมอดเข้ารบกวน

 

https://static.trueplookpanya.com/tppy/member/m_562500_565000/564144/cms/images/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/s3-219-3.jpg
ไม้อาบน้ำยาก่อนนำเข้าอบ (ภาพถ่ายเป็นภาพภายในเครื่องอาบน้ำยา)


การอาบน้ำยา 

      ทำให้ไม้มีประสิทธิภาพในด้านความทนทานสูงขึ้นได้อย่างกว้างขวาง สามารถทนทานต่อรา มอด ปลวก รวมทั้งเพรียงในทะเล ทั้งนี้เพราะน้ำยานั้น มีหลายประเภท ทั้งที่เป็นพวกน้ำมัน เช่น ครีโอโสต และพวกเกลือละลายน้ำ เช่น เกลือของ สารหนู ทองแดง ปริมาณที่อาบ อาจบังคับให้มากน้อยตามความจำเป็น และตามสภาพที่จะนำไปใช้งาน โดยวิธีทา จุ่ม แช่ หรืออัดน้ำยาเข้าไป ด้วยแรงอัดสูง

 

https://static.trueplookpanya.com/tppy/member/m_562500_565000/564144/cms/images/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/s3-220-1.jpg
ไม้แช่น้ำยา

 

      วิธีอัดน้ำยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น เมื่อนำไม้เข้าท่อปิดฝาสนิทแล้ว ต้องดูดอากาศในไม้ และในท่อออกเสียก่อน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจึงปล่อยน้ำยาเข้าไป และเพิ่มความกดของอากาศในหม้อให้สูงขึ้น ถึงระดับที่ต้องการ รักษาความกดดัน ที่ระดับนั้นไว้ชั่วระยะหนึ่ง แล้วจึงลดความดัน และเปิดท่อนำไม้ออกมาได้  ไม้ที่อาบน้ำยาแล้วนี้ จะมีความทนทานสูงกว่าไม้ ธรรมชาติถึงเท่าตัวหรือหลายๆ เท่า เช่น ไม้ปออีเก้ง ที่กล่าวว่าทนทานไม่เกิน ๖ เดือนนั้น เมื่ออาบน้ำยาแล้ว ทนทานได้ถึง ๑๓ ปี

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow