Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วิธีการพ่นสารเคมี

Posted By Plookpedia | 03 ธ.ค. 59
1,849 Views

  Favorite

วิธีการพ่นสารเคมี 

การพ่นสารเคมี เพื่อป้องกัน และกำจัดแมลง มีวิธีที่จะปฏิบัติได้ ๒ วิธี คือ 

๑.วิธีการพ่นสารเคมีตามตารางที่กำหนด ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย แต่อาจต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง อันตรายจากพิษของสารเคมีมาก แต่ก็เป็นวิธีที่เหมาะสมกับผู้ไม่คุ้นเคยกับแมลง และไม่มีกำลังคนพอในการตรวจไร่ 

๒.วิธีการพ่นสารเคมี เมื่อมีแมลงระบาด เป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป เป็นการลดค่าใช้จ่าย และลดอันตรายจากพิษของสารเคมีฆ่าแมลงลงได้มาก เหมาะสำหรับผู้รู้จักแมลงดีพอสมควร และมีกำลังคนที่จะคอยตรวจดูไร่อยู่เสมอ

๑. วิธีการพ่นสารเคมีตามตารางที่กำหนด 

การพ่นยาตามตารางกำหนดนั้น หมายถึง การ กำหนดวันที่จะพ่นสารเคมีอะไร อัตราเท่าไร สำหรับ ป้องกันและกำจัดแมลงชนิดใดไว้แน่นอน เหมาะสำหรับ การปลูกฝ้ายที่มีแมลงระบาดรุนแรง และติดต่อกันนาน ตลอดฤดู และเหมาะกับกสิกรที่ไม่คุ้นเคยกับแมลง และผู้ที่ไม่มีเวลาจะทำการสำรวจไร่ วิธีพ่นสารเคมี แบบนี้ต้องสิ้นเปลืองสารเคมีมาก จากผลการค้นคว้า ทดลองวิธีพ่นสารเคมีมาหลายปี ได้กำหนดวิธีการและ ตารางการพ่นสารเคมีไว้ดังนี้ 
๑. ตอนต้นฤดูกาล ใช้สารเคมีประเภทน้ำกับแมลง จำพวกปากดูด ปกติใช้พ่น ๒-๓ ครั้ง เมื่อฝ้ายอายุ ประมาณ ๗,๑๔ และ ๒๑ วัน หลังงอก ในกรณีที่เพลี้ย อ่อนและโรคใบหงิกไม่ระบาด แต่อาจจะต้องพ่น ๔-๕ ครั้ง ในเขตที่มีโรคใบหงิกระบาดและมีเพลี้ยอ่อนลงรุน แรง 
๒. ตอนกลางและปลายฤดู ใช้สารเคมีป้องกัน และกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย และแมลงจำพวกกินใบ ชนิดใดชนิดหนึ่งดังกล่าวมาแล้ว พ่นติดต่อกันไปจนกว่า ฝ้ายเริ่มแตกสมอแล้วเป็นส่วนใหญ่จึงหยุดพ่น จำนวนครั้งที่พ่นอาจจะมากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไว้นี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการระบาดของแมลง การยืดระยะเวลาหรือ ร่นระยะเวลาของการพ่นสารเคมีโดยปกติทุก ๗ วัน อาจจะเว้น ๕-๖ วัน หรือ ๘-๙ วันแล้วแต่เหมาะสม แต่จะเว้นเกิน ๑๐ วันไม่ได้
 

ตารางการพ่นสารเคมี
พ่นครั้งที่ อายุฝ้าย (วัน)
หลังงอก
ปริมาณน้ำยาที่ผสมแล้ว
ต่อเนื้อที่ ๑ ไร่
ตอนต้นฤดูฝน





๑-๒
๖-๗
๑๒–๑๔
๑๘–๒๑
๒๔–๒๘

๒ ปีบ (๔๐ ลิตร)
๒ “ (๔๐ “ )
๒ “ (๔๐ “ )
๒ “ (๔๐ “ )
๒ “ (๔๐ “ )
ตอนกลางและปลายฤดูฝน









๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔

๓๓
๔๐
๔๗
๕๔
๖๑
๖๘
๗๕
๘๒
๘๙
๙๖
๑๐๓
๑๑๐
๑๑๗
๑๒๔

๒ ปีบ (๔๐ ลิตร)
๒ “ (๔๐ “ )
๒ “ (๔๐ “ )
๒ “ (๔๐ “ )
๔ “ (๘๐ “ )
๔ “ (๘๐ “ )
๔ “ (๘๐ “ )
๔ “ (๘๐ “ )
๔ “ (๘๐ “ )
๔ “ (๘๐ “ )
๔ “ (๘๐ “ )
๔ “ (๘๐ “ )
๔ “ (๘๐ “ )
๔ “ (๘๐ “ )


๑. จากตารางกำหนดการพ่นสารเคมีนี้ ปริมาณน้ำยาที่ผสมแล้วในตาราง ใช้กับเครื่องพ่นสารเคมีที่ใช้น้ำมากซึ่งใช้กันทั่วไป ถ้าใช้เครื่องพ่นสารเคมีที่ใช้น้ำน้อย ต้องคำนวณหาปริมาณน้ำสารเคมีที่ใช้เอาเอง โดยใช้อัตราการใช้/ไร่ เป็นหลัก ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องชนิดและอัตราการใช้
๒. เครื่องพ่นยาที่ใช้น้ำมากจะใช้ชนิดใดก็ตามต้องใช้น้ำยาที่ผสมแล้วให้ครบจำนวนที่กำหนดไว้ คือ ต้องพ่นให้หมดพอดีในเนื้อที่ที่กำหนดไว้ ควรทดลองพ่นน้ำเปล่าในพื้นที่จำกัด เพื่อดูว่า ปริมาณน้ำยาที่ใช้ เท่าไร กี่ลิตร/ไร่ โดยเดินตามปกติเหมือนกันทุกครั้ง 
๒.วิธีการพ่นสารเคมีเมื่อมีแมลงศัตรูฝ้ายระบาด การพ่นสารเคมีแบบนี้ อาศัยการตรวจไร่ นับ แมลงเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจว่า ควรจะพ่นยา หรือไม่ กสิกรต้องหมั่นออกตรวจไร่ของตนเองอย่าง น้อยสัปดาห์ละ ๑-๒ ครั้ง เพราะว่าถ้าปล่อยไว้เกิน ๗ วัน ถ้ามีหนอนระบาดมาก หนอนจะโตเกินไปที่จะฆ่า ด้วยสารเคมี สิ่งที่สำคัญ คือ กสิกรต้องรู้จักแมลง ศัตรูฝ้ายแต่ละชนิดในวัยต่าง ๆ เป็นอย่างดี คำแนะนำนี้ เน้นหนักให้ปฏิบัติกับหนอนเจาะสมอฝ้ายอเมริกัน ซึ่ง เป็นศัตรูที่สำคัญและมีปัญหามากที่สุดในปัจจุบัน
วิธีการตรวจไร่ เมื่อเดินลงในไร่ ขั้นแรกที่สุด ต้องกำหนดตัวอย่างที่จะตรวจนับต่อเนื้อที่แปลงฝ้ายก่อน มีหลักเกณฑ์ว่า ให้เก็บ ๑๐๐ ตัวอย่าง (๑๐๐ ต้น) ใน เนื้อที่ไม่เกิน ๕๐ ไร่ ขั้นต่อไป คือ ให้ถือหลักว่า ต้อง ตรวจต้นฝ้ายให้กระจายทั่วทั้งแปลงฝ้าย ซึ่งอาจปฏิบัติ ได้โดยเดินทแยงมุม จากมุมใดมุมหนึ่ง เดินซิกแซ็ก เดินเป็นแถวหรือเดินเป็นรูปเลขแปดก็ได้ (ตามรูป) 

 

แบบที่ ๑ เดินทแยงมุม
แบบที่ ๒ เดินซิกแซ็ก

 

 

แบบที่ ๓ เดินตามแถวฝ้าย
แบบที่ ๔ เดินเป็นเลขแปด

 

การเลือกต้นฝ้ายเป็นตัวอย่างสุ่ม โดยกำหนด ระยะทางจากต้นฝ้ายต้นหนึ่งถึงต้นฝ้ายอีกต้นหนึ่งที่ กำหนดเอาไว้ ตัวอย่างเช่น กำหนดว่า ฝ้าย ๑๐ หลุม เลือกสำรวจเพียง ๑ ต้น อย่างไรก็ตาม ระยะทางที่ กำหนดนี้ เมื่อเดินครบระยะทางต้องได้ ๑๐๐ ตัวอย่าง พอดี อีกประการหนึ่ง ในการตรวจนับ ๑๐๐ ตัวอย่างนี้ อาจปฏิบัติเป็นกลุ่มต้นฝ้าย กลุ่มละ ๕ ต้น จำนวน ๒๐ กลุ่มหรือกลุ่มละ ๑๐ ต้น จำนวน ๑๐ กลุ่มก็ได้ แต่ต้อง ให้แต่ละกลุ่มกระจายทั่วทั้งแปลงฝ้ายเช่นกัน  ในการสำรวจหนอนเจาะสมอฝ้าย ต้องตรวจนับ หนอนตามดอก ปี้ สมอให้ทั่วทั้งต้น บันทึกจำนวนหนอน เอาไว้ แล้วเอาตัวเลขทั้ง ๑๐๐ ต้นมารวมกันเข้า ถ้าพบ หนอนเกิน ๒๐ ตัว ในฝ้าย ๑๐๐ ต้นก็ให้พ่นยาตาม ตำรับต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทันที

วิธีการผสมสารเคมี

การผสมสารเคมี ต้องพยายามผสมน้ำยาให้ ละลายเข้ากันอย่างทั่วถึง จึงจะได้ผลดี ดังนั้นควรปฏิบัติ ดังนี้ 

เทน้ำลงในถังที่จะผสมสักเล็กน้อย แล้วเทสาร เคมีฆ่าแมลงที่ตวงไว้ผสมลงไปให้หมด ใช้ไม้คนให้น้ำและสารเคมีฆ่าแมลงเข้ากัน แล้วเติมน้ำที่เหลือลงไปให้ ครบตามจำนวนที่ต้องการ คนให้ทั่วจนเห็นน้ำยาที่ผสม สีเดียวกันเป็นอันใช้ได้  สำหรับสารเคมีผงก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน แต่สาร เคมีผงมักตกตะกอนนอนก้นถัง ฉะนั้น เมื่อเทลงในถัง เครื่องพ่นสารเคมีแล้ว ให้หมั่นเขย่าถังเวลาพ่นเสมอๆ และก่อนที่จะเทสารเคมีฆ่าแมลงออกจากขวดใส่เครื่อง พ่น ต้องเขย่าขวดสารเคมีฆ่าแมลงก่อนเทลงในถังผสมก่อนเสมอ  น้ำที่ใช้ผสมควรใช้น้ำสะอาด ก่อนที่จะเทน้ำยา ที่ผสมแล้วใส่เครื่องพ่น ควรกรองเอาเศษผงออกเสียก่อน เพื่อไม่ให้เศษผงไปอุดหัวฉีดเครื่องพ่น ควรผสมน้ำที่ ใช้ให้พอดีทุกครั้ง ไม่ควรผสมให้เหลือเก็บไว้ใช้วันอื่น

มีสารเคมีฆ่าแมลงที่แนะนำให้ใช้กับแมลงปากดูด หลายชนิดที่อยู่ในรูปผง สำหรับคลุกเมล็ด และอยู่ในรูป เม็ดสำหรับหยอดรองก้นหลุมพร้อมการปลูกฝ้าย การ คลุกยากับเมล็ดฝ้าย หรือหยอดด้วยมือ ต้องระวังเป็น พิเศษ เพราะสารเหล่านี้มีพิษสูงมาก จะต้องสวมถุงมือและ หน้ากาก ห้ามใช้มือเปล่าหยิบจับสารเคมีฆ่าแมลงหรือ เมล็ดฝ้ายที่คลุกสารเคมีฆ่าแมลงเป็นอันขาด 

ข้อแนะนำในการพ่นสารเคมี 

เครื่องพ่นสารเคมีมีอยู่หลายชนิด เช่น เครื่องพ่น สารเคมีอัดลมด้วยแรงคน เครื่องพ่นสารเคมีอัดลมด้วย เครื่องยนต์ เครื่องพ่นสารเคมีด้วยการเป่าลมให้น้ำยา ฟุ้งกระจาย หรือเครื่องพ่นสารเคมีฝอยละเอียด กสิกร จะใช้เครื่องพ่นสารเคมีชนิดไหนก็ตาม จะต้องปฏิบัติ ดังนี้ 

๑. ตรวจความเรียบร้อยของเครื่องพ่นสารเคมี ให้อยู่สภาพที่ใช้งานได้ดี 
๒. พ่นสารเคมีให้ทั่วทั้งต้น แต่ไม่ควรให้เปียกใบ จนโชกเกินไป เพราะทำให้สิ้นเปลืองน้ำยามาก 
๓. ในการพ่นสารเคมีตามตารางที่กำหนด ถ้า การปฏิบัติงานอยู่ในระยะที่มีมรสุมหรือมีฝนตกชุก อาจ เลื่อนการพ่นสารเคมีก่อนกำหนด แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ ได้ ก็ให้พยายามพ่นสารเคมีให้เสร็จก่อนฝนตกสัก ๒ ชั่วโมง เพราะฝนตกมาหลังจากนั้นจะไม่เสียหาย ไม่ จำเป็นต้องพ่นซ้ำ แต่ถ้าฝนตกขณะที่กำลังพ่นสารเคมีหรือพ่นสารเคมีเสร็จแล้วไม่เกิน ๒ ชั่วโมง จะต้องพ่น สารเคมีซ้ำอีก

ข้อควรระวังในการพ่น 

กสิกรจะปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพ่นสารเคมี ฆ่าแมลง พึงสังวรอยู่เสมอว่า เรากำลังเกี่ยวข้องอยู่กับ ความตาย สารเคมีฆ่าแมลงทุกชนิดนั้น คือ ยาพิษ เป็น พิษต่อมนุษย์และสัตว์ ดังนั้น เมื่อจะใช้สารเคมีฆ่าแมลง จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และปฏิบัติตามคำแนะนำ อย่างเคร่งครัด เพื่อลดอันตรายจากสารเคมีฆ่าแมลง ควรปฏิบัติดังนี้ 

๑. ต้องสวมหน้ากากและถุงมือยาง ใส่เสื้อผ้าปิด ร่างกายให้มิดชิด ระวังละอองสารเคมีมิให้เข้าปาก จมูกและถูกร่างกาย 

๒. ต้องเดินพ่นสารเคมีให้ฟุ้งกระจายตามลมหรือ ขวางทิศทางของลม ห้ามเดินทวนลม 

๓. ต้องไม่เดินผ่านฝ้ายที่พ่นสารเคมีแล้วในขณะ กำลังพ่นสารเคมี คือ ให้เดินถอยหลัง สำหรับการพ่น สารเคมีที่ต้องพ่นในแถวฝ้ายที่ใกล้ตัว 

๔. ห้ามสูบบุหรี่ขณะพ่นสารเคมี และควรล้างมือ ให้สะอาดก่อนการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร 

๕. เมื่อหัวฉีดอุดตัน ห้ามใช้ปากเป่า ควรถอดออก ล้างน้ำให้สะอาด 

๖. เมื่อพ่นสารเคมีเสร็จแล้ว ควรรีบเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำชำระล้างร่างกาย ฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง เสื้อผ้าที่ใช้ในการปฏิบัติงานควรซักให้สะอาดด้วยทุก ครั้ง 

๗. ควรมีน้ำสะอาด สบู่หรือผงซักฟอกเตรียมไว้ ให้เพียงพอใกล้ๆ กับที่พ่นสารเคมี เพื่อจะได้ชำระล้าง ได้ทันที 

๘. เมื่อมีอาการแน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่น ไส้ หรือเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการพ่น สารเคมี หรือหลังการพ่นสารเคมี ให้หยุดปฏิบัติงาน ทันที เปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วรีบไปปรึกษาแพทย์ที่อยู่ใกล้ที่ สุดโดยเร็ว 

๙. ภาชนะทีบรรจุสารเคมีฆ่าแมลง เช่น ขวด กระป๋อง ถุง ฯลฯ เมื่อใช้หมอแล้วให้ทำลายทิ้งเสีย อาจ จะใช้วิธีฝังดินก็ได้ ห้ามนำไปบรรจุอาหารหรือน้ำดื่ม เป็นอันขาด เพราะถึงแม้จะล้างอย่างไร ก็ไม่สามารถ ทำให้สารพิษที่ติดอยู่หมดไปได้ 

๑๐. เก็บสารเคมีฆ่าแมลงในที่ที่มิดชิด ให้พ้นมือ เด็กและห่างจากสัตว์เลี้ยง ควรมีห้องเก็บต่างหากเพื่อ ความปลอดภัย อุปกรณ์การพ่นสารเคมีฆ่าแมลงเมื่อใช้ แล้ว ไม่ควรนำไปล้างในบ่อน้ำหรือแหล่งเก็บน้ำต่างๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและผู้ใช้น้ำนั้น

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow