การเก็บพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคาร เป็นพิธีที่กระทำขึ้นหลังจากการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม การที่จะอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารไปประดิษฐานไว้ที่ใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่ากษัตริย์พระองค์นั้นทรงมีพระราชปรารภไว้หรือไม่ อย่างรัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชปรารภไว้ก่อนเสด็จสวรรคตว่าให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารไปประดิษฐานไว้ที่ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ที่วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง รวมไปถึงประดิษฐาน ณ วัดประจำรัชกาลด้วย
พระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทยจะประดิษฐานอยู่สองที่ คือ
1. หอพระธาตุมณเฑียร
เป็นหอประดิษฐานพระบรมอัฐิ ตั้งอยู่ข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ จะมีพระวิมานประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี 3 พระองค์รวมไปถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย โดยพระวิมานกลางจะเป็นพระบรมอัฐิ รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 รวมไปถึงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมราชชนกผู้เป็นพระราชบิดาในรัชกาลที่ 1
2. พระวิมานทองกลาง
พระที่นั่งองค์กลางชั้นบนสุดของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 8 รวมไปถึงพระมเหสีตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ขึ้นมาทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระบรมราชวงศ์จักรีชั้นสูงหลายพระองค์ ส่วนในส่วนพระที่นั่งจักรีฯ นั้น ทางด้านชั้นบนพระที่นั่งองค์ตะวันตกก็เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระอัฐิของพระบรมวงศ์บางพระองค์อีกด้วย
การบรรจุพระบรมราชสรีรางคารเป็นขั้นตอนสุดท้ายในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
รัชกาลที่ 1 ประดิษฐาน ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
รัชกาลที่ 2 ประดิษฐาน ณ วัดอรุณราชวราราม วรมหาวิหาร
รัชกาลที่ 3 ประดิษฐาน ณ วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร
รัชกาลที่ 4 ประดิษฐาน ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
รัชกาลที่ 5 ประดิษฐาน ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร
รัชกาลที่ 6 ประดิษฐาน ไว้ที่ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ที่วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม และวัดบวรนิเวศวิหาร
รัชกาลที่ 7 ประดิษฐาน ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
รัชกาลที่ 8 ประดิษฐาน ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรวิหาร
รัชกาลที่ 9 ประดิษฐาน ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดบวรนิเวศวิหาร
พระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เจ้าพนักงานได้ประมวลลงในพระผอบโลหะปิดทอง อัญเชิญจากพระเมรุมาศไปบรรจุ 2 แห่ง
สาเหตุ : วัดราชบพิธฯ เป็นที่ตั้งของ "สุสานหลวง" และเป็นที่บรรจุพระราชสรีรางคารของ 3 สมาชิกราชสกุลมหิดล
1) สุสานหลวง
โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้น เป็นที่บรรจุพระอัฐิ และพระสรีรางคาร พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระองค์ ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดได้อยู่ร่วมกัน หลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
นอกจากนี้ยังเป็น พระอารามหลวงแห่งสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณี ที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล
ซึ่งพระถ้ำศิลาที่พระพุทธบัลลังก์ของ “พระพุทธอังคีรส” ภายในบรรจุพระบรมอัฐิ
-พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
-พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
-พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
-พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
-พระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
-พระอัฐิสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๓
-สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร
-พระราชสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗
2) ที่บรรจุพระราชสรีรางคารของ 3 สมาชิกราชสกุลมหิดล
โดยในบริเวณวัดราชบพิธฯ ได้มีเจดีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา” เป็นที่บรรจุพระราชสรีรางคารของ 3 สมาชิกราชสกุลมหิดล ได้แก่
-สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
-สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า)
-สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
จึงคาดว่า อาจจะเป็นด้วยเหตุผลเดียวกับที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เคยทรงมีพระดำริไว้เมื่อครั้งมีพระชนม์ชีพว่า…
“ฉันจะอยู่ข้างแม่”
สาเหตุ :
วัดบวรนิเวศราชวรวิหารนั้น เหตุที่ถูกเลือกให้เป็นวัดประจำพระองค์ ก็เพราะว่าเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงผนวชและจำวัดเมื่อปี พ.ศ 2499
นอกจากนี้ยังมีบันทึกว่า ภายหลังทรงลาสิกขา ในเวลาที่ทรงว่างจากพระราชกรณียกิจ พระองค์มักทรงขับรถยนต์พระที่นั่งด้วยพระองค์เอง เพื่อไปเข้าเฝ้า แลสดับพระธรรมจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น
วันเข้าพรรษาของทุกปี พระองค์ต้องเสด็จพระราชดำเนินไปถวายพุ่มเทียนเข้าพรรษา รวมทั้งถวายผ้าพระกฐินเป็นวัดแรก เมื่อถึงช่วงพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินหลวงประจำปี และเมื่อทรงริเริ่มโครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา ก็ทรงนำกังหันมาทดลองที่คลองเต่าภายในวัดบวรนิเวศวิหารเป็นที่แรก ๆ เนื่องด้วยทอดพระเนตรเห็นน้ำในคลองที่ไหลเวียนไม่ดีนัก
- วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่เสด็จออกทรงผนวช
คือ
-พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
-พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
-พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
-พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
-พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10
- พระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงผนวชเกือบทุกพระองค์
ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราช