Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รวมคำแสดงความอาลัย ถวายแด่ ในหลวง รัชกาลที่ 9 โดย ราชบัณฑิตยสภา

Posted By มหัทธโน | 09 ต.ค. 60
23,425 Views

  Favorite

 

ตัวอย่างการใช้คำแสดงความอาลัย ถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

 

สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

ข้าพระพุทธเจ้า ........................


เสด็จสู่สวรรคาลัย
ผองพสกนิกรชาวไทยน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

ข้าพระพุทธเจ้า ........................

 

ปวงพสกนิกรชาวไทยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์
ข้าพระพุทธเจ้า ........................

 

ปวงประชาสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า ........................

 

เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย
พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล

ข้าพระพุทธเจ้า ........................

 

สถิตในดวงใจตราบนิจนิรันดร์
น้อมศิระกราน กราบแทบพระยุคลบาท
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

ข้าพระพุทธเจ้า ........................

 

พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ 

ข้าพระพุทธเจ้า ........................

 

หมายเหตุ : 

หลังคำว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" ให้ระบุชื่อบุคคล คณะบุคคล และหน่วยงาน เช่น 
ข้าพระพุทธเจ้า นาย .....
ข้าพระพุทธเจ้า คณะครูและนักเรียน โรงเรียน ....
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และพนักงาน บริษัท ....

 

กรณีการใช้วลี “เสด็จสู่สวรรคาลัย”  


สำนักงานราชบัณทิตยสภาออกหนังสือชี้แจงการใช้ราชาศัพท์ “เสด็จสู่สวรรคาลัย” ว่าควรละการใช้คำว่า “ส่ง” และควรใช้คำว่า “เสด็จสู่สวรรคาลัย” หรือ  “พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย” เพื่อความเหมาะสมตามที่ประชาชนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ราชาศัพท์ “เสด็จสู่สวรรคาลัย” ว่าควรต้องมีคำว่า “ส่งเสด็จ” ด้วยหรือไม่ สำนักงานราชบัณทิตยสภาชี้แจงตามที่เคยให้ความหมายวลีดังกล่าวเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชมน์ ว่า


 คำว่า “สวรรคาลัย” ความหมายตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ปัจจุบันใช้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. 2554) คือ เป็นคำกริยา หมายความว่า ตาย (ใช้แก่เจ้านายชั้นสูง) ซึ่งไม่ได้หมายถึงการส่งเสด็จไปสู่สวรรค์ ทำให้การใช้คำว่า “สวรรคาลัย” เป็นการสื่อความหมายไม่ถูกต้องนั้น เป็นความเข้าใจที่เกิดจากการแปลตรงตามรูปศัพท์


โดยแท้จริงแล้วคำว่า “สวรรคาลัย” มาจากคำว่า “สวรรค” (สะ-หวัน-คะ) และ “อาลัย” ซึ่งคำว่า “สวรรค, สวรรค์” เป็นคำนาม หมายถึง โลกของเทวดา, เมืองฟ้า คำว่า “อาลัย” ที่เป็นคำนาม มีความหมายว่า ที่อยู่ ที่พัก ดังนั้น วลี “สู่สวรรค” จึงหมายถึง สู่ที่อยู่ในสวรรค์ สู่ที่พักในสวรรค์ ส่วนวลี “เสด็จไปสู่สวรรคาลัย” จึงสื่อความหมายได้ว่า (พระองค์) เสด็จสู่สวรรคาลัย หรือ (พระองค์) เสด็จสู่สรวงสวรรค์


ตามความเห็นของ พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี ประธานคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์ การใช้ราชศัพท์แห่งราชบัณฑิตยสถาน ศาสตราจารย์พิเศษจำนง ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต และที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ และอาจารย์จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ รองประธานคณะกรรมการฯ มีความเห็นพ้องกันว่า พระองค์ทรงมีบุญญาบารมีที่จะเสด็จไปสู่สรวงสวรรค์ด้วยพระองค์เอง


ดังนั้น หากละการใช้คำว่า “ส่ง” ออกไป เหลือ “เสด็จสู่สวรรคาลัย” หรือใช้คำว่า “พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย” ก็จะทำให้ถ้อยคำดูสวยงามและสื่อความหมายได้ชัดเจน

นอกจากนี้ สำนักงานราชบัณทิตยสภายังชี้แจงหลักการใช้คำว่า “ข้าพระพุทธเจ้า” ว่า ให้ระบุชื่อบุคคล คณะบุคคล และหน่วยงาน หลังคำว่า “ข้าพระพุทธเจ้า” อาทิ

                            ข้าพระพุทธเจ้า นายจงรัก ภักดี

                            ข้าพระพุทธเจ้า คณะครูและนักเรียน โรงเรียน...

                            ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และพนักงาน บริษัท...

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow