Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

พาหนะหลักทางบกแต่ครั้งโบราณ

Posted By Plookpedia | 19 ก.พ. 60
3,983 Views

  Favorite

พาหนะหลักทางบกแต่ครั้งโบราณ

      ในสมัยก่อนการเดินทางที่มีสิ่งของจะใช้วิธีบรรทุกขนส่งด้วยการหาบ การหาม โดยใช้แรงคนหรือแรงสัตว์ต่อมาเมื่อสามารถสร้างเกวียนซึ่งเป็นพาหนะขับเคลื่อนด้วยล้อ ๒ ล้อที่ใช้แรงงานสัตว์เทียมลากได้แล้ว เกวียนจึงกลายเป็นพาหนะหลักใช้ในการบรรทุกเดินทางขนส่งทางบกระหว่างชนบทกับชนบทหรือชนบทกับในเมืองและเป็นเสมือนพาหนะคู่ใจของคนในสังคมเกษตรกรรมจนอาจกล่าวได้ว่าทุกครอบครัวในสังคมเกษตรกรรมต้องมีเกวียนไว้ใช้งานอย่างน้อย ๑ เล่ม ถ้าพิจารณาความหมายของสถาปัตยกรรมในแง่มุมว่าเป็นสิ่งที่มีพื้นที่ใช้สอยแล้วเกวียนก็จัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมประเภทหนึ่ง คือ เป็นเสมือนเรือนเคลื่อนที่ของเกษตรกรในช่วงหน้าแล้งตั้งแต่ช่วงการเก็บเกี่ยวจนถึงก่อนการทำนาโดยใช้บรรทุกขนส่งหรือเดินทางทางบกทั้งระยะใกล้และระยะไกลเป็นประจำทุกปี  ปัจจุบันความสำคัญของเกวียนลดน้อยลงมากจากที่เคยใช้เป็นพาหนะหลักในการบรรทุกและการเดินทางขนส่งก็นำมาใช้เป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งบ้านเรือนและเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในอดีตของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ

 

เกวียน
"เกวียน" พาหนะคู่ใจของคนในชนบทสมัยก่อน

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow