Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การพิจารณาค่าความจริง

Posted By Plookpedia | 07 ก.ค. 60
2,554 Views

  Favorite

 

การพิจารณาค่าความจริง

 

ประพจน์เดิมที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปนั้น แยกพิจารณาความเป็นจริง หรือ ความเป็นเท็จได้ดังนี้ 

1. ประพจน์ที่เกิดขึ้นเป็นคู่ปฏิเสธของประพจน์เดิม ประพจน์ชนิดนี้เกิด ขึ้นได้ด้วยการเติมคำ "ไม่" 

ซึ่งเขียนแทนด้วย สัญลักษณ์ " ~ " ข้างหน้าประพจน์ เดิม เช่น 

ก แทน มีทุเรียนอยู่ในกระจาด 
~ ก แทน ไม่มีทุเรียนอยู่ในกระจาด ซึ่งจะมีกรณีที่เกิดขึ้นได้แตกต่าง กัน 2 กรณี ดังนี้

 

 

กรณีที่ 1 

ก เป็นจริง เนื่องจากมีทุเรียนอยู่ในกระจาดจริงๆ ดังนั้น ~ ก เป็นเท็จ

 

 

กรณีที่ 2 

ก เป็นเท็จ (เนื่องจากไม่มีทุเรียนอยู่ในกระจาด) ดังนั้น ~ ก เป็นจริง

 

สรุปได้ว่า กรณีที่ ก เป็นจริง ~ ก จะเป็นเท็จ กรณีที่ ก เป็นเท็จ ~ ก จะเป็นจริง

เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้
 

 

~ ก

กรณีที่ 1

จริง

เท็จ

กรณีที่ 2

เท็จ

จริง


2. ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากประพจน์สองประพจน์ ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อม "และ" 

ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ " ^ " ู ประพจน์ชนิดนี้เกิดขึ้นได้ โดยการ นำเอาประพจน์มาเชื่อมกันด้วย ""และ" เช่น 

ก แทน "มีทุเรียนอยู่ในกระจาด"   
ข แทน "มีมั่งคุดอยู่ในกระจาด" 

ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมประพจน์ ก,ข ด้วย "และ" คือ "มีทุเรียน และ มังคุดอยู่ในกระจาด" เขียนแทนด้วย "ก ^ ูข" จะมีกรณีที่เกิดขึ้นได้แตกต่างกัน 4 กรณีดังนี้ 

 

 

กรณีที่ 1 

ก เป็นจริง ข เป็นจริง 
ประพจน์ "มีทุเรียน และ มังคุดอยู่ ในกระจาด" เป็นจริง

 

 

 

กรณีที่ 2 

ก เป็นจริง ข เป็นเท็จ 
ประพจน์ "มีทุเรียน และ มังคุดอยู่ ในกระจาด" เป็นเท็จ

 

 

กรณีที่ 3 

ก เป็นเท็จ ข เป็นจริง 
ประพจน์ "มีทุเรียน และ มังคุดอยู่ ในกระจาด" เป็นเท็จ

 

 

กรณีที่ 4 

ก เป็นเท็จ ข เป็นเท็จ 
ประพจน์ "มีทุเรียน และ มังคุดอยู่ ในกระจาด" เป็นเท็จ

สรุปได้ว่า กรณีที่ ก เป็นจริง ข เป็นจริง ประพจน์ ก ู ข เป็นจริง กรณีอื่นๆ นอกจากนี้ ก ู^ ข เป็นเท็จ 

เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้
 

 

ก ^ู ข

กรณีที่ 1

จริง

จริง

จริง

กรณีที่ 2

จริง

เท็จ

เท็จ

กรณีที่ 3

เท็จ

จริง

เท็จ

กรณีที่ 4

เท็จ

เท็จ

เท็จ


3. ประพจน์ที่เกิดจากประพจน์สองประพจน์เชื่อมกันด้วยตัวเชื่อม "หรือ" 

ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ "ฺ v " ประพจน์ชนิดนี้ เกิดขึ้นได้โดยการนำเอาประ พจน์ทั้งสองมาเชื่อมกันด้วย "หรือ" 

สำหรับความหมายของคำ "หรือ" ในทางตรรกวิทยานั้น เมื่อเชื่อมประพจน์สองประพจน์ด้วย "หรือ" แล้วจะมีความหมายถึง ประพจน์ใดประพจน์หนึ่ง หรือ ทั้งสองประพจน์เลยก็ได้ 

ดังนั้นประพจน์ "มีทุเรียน หรือ มังคุดอยู่ในกระจาด" จึงมีความหมายเช่น เดียวกับ "มีทุเรียน หรือ มังคุดอย่างน้อยหนึ่งอย่างอยู่ในกระจาด" ให้ 

ก แทน "มีทุเรียนอยู่ในกระจาด"     
ข แทน "มีมังคุดอยู่ในกระจาด" 

ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมประพจน์ ก,ข ด้วย "หรือ" คือ "มีทุเรียน หรือมังคุดอยู่ในกระจาด" ซึ่งเขียนแทนด้วย "ก v ข" ซึ่งจะมีกรณีที่เกิดขึ้นได้ แตกต่างกัน 4 กรณี ดังนี้

 

 

กรณีที่ 1 

ก เป็นจริง   ข เป็นจริง   
ประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุด อยู่ในกระจาด" (อย่างน้อยหนึ่งอย่าง)   เป็นจริง

 

 

กรณีที่ 2 

ก เป็นจริง   ข เป็นเท็จ   
ประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุด อยู่ในกระจาด" (อย่างน้อยหนึ่งอย่าง)   เป็นจริง

 

 

กรณีที่ 3 

ก เป็นเท็จ   ข เป็นจริง   
ประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุด อยู่ในกระจาด" (อย่างน้อยหนึ่งอย่าง)   เป็นจริง

 

กรณีที่ 4 

ก เป็นเท็จ   ข เป็นเท็จ   
ประพจน์ "มีทุเรียนหรือมังคุด อยู่ในกระจาด" (อย่างน้อยหนึ่งอย่าง)   เป็นเท็จ

สรุปได้ว่า กรณีที่ ก เป็นเท็จ ข เป็นเท็จ ประพจน์ ก v ฺ ข จะเป็นเท็จ กรณีอื่นๆ นอกจากนี้ ก ฺv  ข เป็นจริง 

เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้
 

 

ก ฺ ข

กรณีที่ 1

จริง

จริง

จริง

กรณีที่ 2

จริง

เท็จ

จริง

กรณีที่ 3

เท็จ

จริง

จริง

กรณีที่ 4

เท็จ

เท็จ

เท็จ

 


4. ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากประพจน์สองประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อม "ถ้า ...แล้วจะได้..." 

ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ "->"

ข้อความชนิดนี้เกิดขึ้นโดยการนำเอาประพจน์ทั้งสองมาเชื่อมกันด้วย "ถ้า ...แล้วจะได้..." โดยมีประพจน์หนึ่งเป็นเหต ุและอีกประพจน์หนึ่งเป็นผล เช่น ก แทน "นายแดงซื้อทุเรียน" ข แทน "นายแดงได้รับทุเรียน"

 

 

ประพจน์ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมประพจน์ ก, ข ด้วย "ถ้า...แล้วจะได้..." คือ "ถ้านายแดงซื้อทุเรียนแล้ว นายแดงจะได้รับทุเรียน"

ซึ่งเขียนแทนด้วย "ก -> ข" จะเห็นว่าประพจน์ ก เป็นเหตุ ประพจน์ ข เป็นผล ซึ่งจะมีกรณี ที่เกิดขึ้นได้แตกต่างกัน 4 กรณี ดังนี้
 

 

กรณีที่ 1 

ก เป็นจริง (เพราะ ก แทน นายแดงซื้อทุเรียน) ข เป็นจริง (เพราะ ข แทน นายแดงได้รับทุเรียน)
ประพจน์ "ถ้านายแดงซื้อทุเรียนแล้วนายแดง จะได้รับทุเรียน" เป็นจริง

 

 

กรณีที่ 2 

ก เป็นจริง (เมื่อนายแดงซื้อทุเรียน) ข เป็นเท็จ (เมื่อนายแดงไม่ได้รับทุเรียน) 
ประพจน์ "ถ้านายแดงซื้อทุเรียนแล้ว นายแดงจะได้รับทุเรียน" เป็นเท็จ

 

 

กรณีที่ 3 

ก เป็นเท็จ (เมื่อนายแดงไม่ซื้อทุเรียน) ข เป็นเท็จ (เมื่อนายแดงได้รับทุเรียน) 
ประพจน์ "ถ้านายแดงซื้อทุเรียนแล้ว นายแดงจะได้รับทุเรียน" ยัง เป็นจริงอยู่

 

 

จะเห็นว่ากรณีนี้นายแดงไม่ได้ซื้อทุเรียน นายแดงจึงไม่ได้รับทุเรียน 
จะเห็นว่ากรณีที่ ก เป็นจริง ข เป็นเท็จ ข้อความ ก -> ข จะเป็นเท็จ กรณีอื่นๆ นอกจากนี้ ก ->ข เป็นจริง

เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้

 

ก ฎ ข

กรณีที่ 1

จริง

จริง

จริง

กรณีที่ 2

จริง

เท็จ

เท็จ

กรณีที่ 3

เท็จ

จริง

จริง

กรณีที่ 4

เท็จ

เท็จ

จริง


5. ประพจน์ที่เกิดจากการเชื่อมสองประพจน์ด้วยตัวเชื่อม "ก็ต่อเมื่อ" 

ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ "<->"

การเชื่อมประพจน์ ก กับ ข ด้วย <-> ซึ่งเขียนแทนด้วย ก <-> ข มีความ หมายว่า ก เป็นเหตุของ ข และ ในขณะเดียวกัน ข ก็เป็นเหตุของ ก ด้วย 

ถ้าพูด ตามภาษาตรรกวิทยาก็คือ ก <-> ข มีความหมายเดียวกันกับ (ก <-> ข) ^ (ข <-> ก) เช่น 

 ก แทน สมชายไปงานเย็นนี้ 
 ข แทน สมศรีไปงานเย็นนี้ 

ก <-> ข แทน ถ้าสมชายไปงานเย็นนี้แล้ว (จะได้) สมศรีไปงานเย็นนี้ด้วย
และ ถ้าสมศรีไปงานเย็นนี้แล้ว (จะได้) สมชายไปงานเย็นนี้ด้วย  

สมมุติเหตุการณ์ว่า สุพจน์รู้จักสมชาย และ สมศรี และ สุพจน์ได้กล่าว ประพจน์ ก <-> ข เราจะพิจารณาคำกล่าว ก <-> ข ของสุพจน์ว่า เป็นจริงหรือ เท็จได้ 4 กรณีคือ

 

 

กรณีที่ 1 

ก เป็นจริง เมื่อสมชายไปงานเย็นนี้ ข เป็นจริง เมื่อสมศรีไปงานเย็นนี้ 
จะได้ (ก -> ข), (ข -> ก) เป็นจริงทั้งคู่ 
แสดงว่า (ก -> ข) ^ (ข -> ก) เป็นจริง 
ดังนั้น ก <-> ข เป็นจริง

 

 

กรณีที่ 2 

ก เป็นจริง เมื่อสมชายไปงานเย็นนี้ ข เป็นเท็จ เมื่อสมศรีไม่ไปงานเย็นนี้ 
จะได้ (ก -> ข) เป็นเท็จ, (ข -> ก) เป็นจริง 
แสดงว่า (ก -> ข) ^ (ข -> ก) เป็นเท็จ 
ดังนั้น ก <-> ข เป็นเท็จ

 

 

กรณีที่ 3 

ก เป็นเท็จ เมื่อสมชายไม่ไปงานเย็นนี้ ข เป็นจริง เมื่อสมศรีไปงานเย็นนี้ 
จะได้ (ก -> ข) เป็นจริง, (ข -> ก) เป็นเท็จ
แสดงว่า (ก -> ข) ^ (ข -> ก) เป็นเท็จ 
ดังนั้น ก <-> ข เป็นเท็จ

 

 

กรณีที่ 4 

ก เป็นเท็จ เมื่อสมชายไม่ไปงานเย็นนี้ ข เป็นเท็จ เมื่อสมศรีไม่ไปงานเย็นนี้ 
จะได้ (ก-> ข), (ก -> ข) เป็นจริงทั้งคู่ 
แสดงว่า (ก -> ข) ^ (ข -> ก) เป็นจริง 
ดังนั้น ก <-> ข เป็นจริง

 

เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้
 

 

ก ซ ข

กรณีที่ 1

จริง

จริง

จริง

กรณีที่ 2

จริง

เท็จ

เท็จ

กรณีที่ 3

เท็จ

จริง

เท็จ

กรณีที่ 4

เท็จ

เท็จ

จริง

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow