Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

อิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบกษัตริย์มาเป็นระบบสาธารณรัฐ

Posted By Plookpedia | 02 มิ.ย. 60
5,555 Views

  Favorite

2 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) 
อิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบกษัตริย์มาเป็นระบบสาธารณรัฐ

แต่เดิมทีสาธารณรัฐอิตาลีหรือประเทศอิตาลีในระหว่างปี 1861-1946 ได้มีการปกครองด้วยระบบราชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมี "กษัตริย์อุมแบร์โต้ที่ 2” (Umberto II) ผู้ครองราชย์ในปี 1946 เป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย โดยในวันนี้การปกครองระบอบกษัตริย์ที่มีรัฐสภาและการเลือกตั้งแบบจำกัดก็ได้ถูกล้มล้างลง เมื่อประชาชนชาวอิตาลีพากันไปลงประชามติเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของประเทศมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุดแทน

 

ผลของประชามตินั้นได้บีบให้ “กษัตริย์อุมแบร์โต” (Umberto II) ที่เพิ่งขึ้นครองราชย์ พร้อมด้วยพระราชบิดาคือ อดีตกษัตริย์ “วิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่  3” (Victor Emmanuel III) และสมาชิกราชวงศ์อื่น ๆ ต้องลี้ภัยไปยังต่างแดน นับเป็นการปิดฉากระบอบกษัตริย์ในประเทศอิตาลีลง

 

ห
 “กษัตริย์อุมแบร์โต” (Umberto II) โดย alexanderpalace.org
ก
“กษัตริย์วิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3” โดย Wikimedia Commons 

 

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวอิตาลีหันหลังให้กับสถาบันกษัตริย์ก็คือบทบาทของ “กษัตริย์วิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3” ซึ่งชาวอิตาลีกล่าวหาว่าพระองค์คือต้นเหตุที่ทำให้อิตาลีเข้าสู่หายนะ เนื่องจากในเดือนตุลาคมปี 1922 เมื่อกองกำลังคนชุดดำของกลุ่มฟาสซิสต์นำโดย “เบนิโต มุสโสลินี” เตรียมเคลื่อนกำลังสู่กรุงโรม พระองค์ได้ปฏิเสธที่จะลงนามในพระราชกฤษฎีกาตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศกฎอัยการศึกซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการยับยั้งการยึดอำนาจของกลุ่มฟาสซิสต์

อีตาลีจึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบสาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐสภาและใช้ระบบพรรคผสม และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1948 ซึ่งยังคงมีการใช้กันมาถึงปัจจุบัน

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow