Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เวชศาสตร์ ชันสูตร

Posted By Plookpedia | 26 เม.ย. 60
1,745 Views

  Favorite

คนเรามีร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เพราะการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ทำงานได้อย่างถูกต้อง เป็นระเบียบ นับตั้งแต่อาหารที่เราเข้าไป จะถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และลำไส้ย่อย แล้วดูดซึมไปเลี้ยงร่ายกาย เพื่อซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ และช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง เราหายใจเอาก๊าซออกซิเจนเข้าไป และหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา หัวใจเต้น สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย การขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสารต่างๆ ในร่างกายด้วยขบวนการชีวเคมี

 

ดังนั้นถ้าร่างกายเกิดเจ็บป่วยขึ้น ด้วยสาเหตุใดก็ตาม เช่น มีเชื้อโรคต่างๆ มีสารพิษ มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจต่างๆ เช่น การเจาะเลือด เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบในเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ หรือตรวจอย่างอื่นๆ อีก ตามที่แพทย์เห็นสมควร ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ และให้การรักษาแก่ผู้ป่วยอย่างถูกต้อง

ส่องกล้อง
หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 9

 

 

 

 

ขบวนการทางชีวเคมีของร่างกายคนนั้น ซับซ้อนมาก ดังนั้นเมื่อร่างกายเกิดเป็นโรคต่างๆ ก็จะทำให้ขบวนการเหล่านี้ เปลี่ยนแปลงไป หรือเมื่อการทำงานของขบวนการนี้เปลี่ยนแปลงไป ก็ทำให้เกิดเจ็บป่วยเป็นโรคขึ้นได้ ผู้ป่วยบางคนอาจมีการทำงานของขบวนการนี้ผิดปกติได้หลายอย่าง เช่น เมื่อตรวจเลือดจะพบว่า มีโลหิตจาง เมื่อตรวจการทำงานของตับพบว่า ตับทำงานเลวลง มีการอักเสบของตับ เป็นมะเร็งของตับ หรือพบสารพิษพวกไนโตรเจน ของยูเรีย สูงมากในเลือดแสดงว่า ไตพิการ หรือเมื่อตรวจอุจจาระ พบไข่พยาธิในอุจจาระ เป็นต้น

ห้องชันสูตร
หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 9

 

 

ผู้ป่วยโรคต่างๆ จึงได้รับการตรวจการทำงาน ของขบวนการทางชีวเคมีของร่างกายไม่เหมือนกัน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งตรวจไม่พบในคนปกติ และยังพบอีกว่า น้ำตาลในเลือดมีระดับสูงกว่าปกติ และฮอร์โมนอินซูลินน้อยกว่าปกติ ในผู้ป่วยโรคตับ ที่มีตัวเหลือง ตาเหลือง (ดีซ่าน) จะมีระดับของบิลิรูบินในเลือดสูง การทำงานของตับเลวลง เช่น ในรายที่มีตับอักเสบ ส่วนในคนที่ขาดอาหาร จะตรวจพบว่า ระดับโปรตีนในเลือดต่ำกว่าปกติ มีโลหิตจาง อาจพบไข่พยาธิชนิดต่างๆ ในอุจจาระด้วย ดังนั้น แพทย์จึงต้องพิจารณาว่า จะตรวจสิ่งใดบ้างที่จำเป็น เพื่อการวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง และส่งสิ่งที่ต้องการตรวจ ไปยังห้องปฏิบัติการ ซึ่งเรียกว่า "ห้องชันสูตร" วิชาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ เรียกว่า "เวชศาสตร์ชันสูตร"

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags

Content

1
การวิเคราะห์สารเคมีในร่างกาย
งานวิเคราะห์สารเคมีที่อยู่ในสิ่งส่งตรวจ เช่น เซรุ่ม (serum) พลาสมา (plasma) น้ำไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ปัสสาวะ (urine) ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค และทำนายอาการของโรคนั้น สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ตามผลของ
454 Views
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow