Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

Posted By Plookpedia | 26 เม.ย. 60
8,299 Views

  Favorite

พันธุ์ไม้ป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

เนื่องจากพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ นั้นมีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก คนเราได้นำเนื้อไม้มาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และเครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีไม้บางชนิดให้ประโยชน์อย่างอื่นที่สูงกว่าเนื้อไม้ เช่น น้ำมัน ชัน หรือให้ผลที่เป็นสมุนไพร ใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ดังนั้น ทางการจึงต้องป้องกันมิให้สูญพันธุ์ โดยกำหนดไม้บางชนิดให้เป็นไม้หวงห้าม 

ไม้หวงห้ามที่ทางการกำหนดไว้ แบ่งออก เป็น ๒ ประเภท คือ 

๑. ไม้หวงห้ามประเภท ก. 

เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้เนื้อไม้มีคุณภาพดี ซึ่งใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้นั้น ทางการจะยอมให้ตัดฟัน และชักลากออกมา ทำสินค้าได้ ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน ได้กำหนดให้อยู่ในประเภทนี้ มีจำนวนกว่า ๒๕๐ ชนิด พร้อมทั้งกำหนด อัตราค่าภาคหลวงไว้ด้วย ได้แก่

 

 

ชนิด
ของไม้
ชื่อ-สกุล ลักษณะของ
ต้นและใบ
สีของดอกและ
ลักษณะผล
ที่ชอบขึ้น
  ก่อ มี ๓
  สกุล คือ
  ๑. ก่อแอบ เคอร์คัส(Quercus)
    
  ได้แก่ ก่อแอบ (Q.kerrii)
       ก่อแดง (Q. kingiana)
       ก่อขี้กวาง (Q. acutissima)
       ก่อสีเสียด (Q. brandisiana)
  ต้นไม้ขนาดใหญ่
  ขอบใบมักจักเป็น
  ฟันเลื่อยห่าง ๆ
  ดอกเพศผู้และ
  เพศเมียแยกอยู่
  คนละช่อ
  ผลเดี่ยว ๆ มีถ้วย
  รองรับตอนโคน
  ผล

  ป่าดิบเขา
  ป่าดิบชื้น
  พื้นราบ
    ๒.   ก่อหินลิโทคาร์ปัส
       (Lithocarpus)
        ก่อหิน (L.encleisacarpus)
       
  ก่อหม่น (L. elegans)
         ก่อด่าง (L. lindleyanas)
         ก่อก้างด้าง (L. garrettianus)
    
  ต้นไม้ขนาดใหญ่
  ขอบใบเรียบ
  ดอกเพศผู้ และเพศ
  เมียอยู่ปนในช่อ
  เดียวกัน หรือบางที
  ก็แยกกันอยู่คนละช่อ
  ผลอยู่ติดกัน ๒-๓
  ผล มีถ้วยรองรับ
  ตอนโคนผล
 
    ๓. ก่อเดือย แคสทานอพซีส
                   (Castanopsis)
   
  ก่อเดือย (C. acuminatissian)
      ก่อข้าว (C. indica)
      ก่อขี้หมู (C. pierri)
      ก่อแป้น (C.diversifolia)
      ก่อบ้าน (C. wallichii)
  คล้ายสกุลก่อหิน
  บางชนิดใบมีขอบ
  ผลมีเปลือกที่เป็น
  หนามแหลมมาก
  หรือน้อยหุ้มคลุม
  อีกชั้นหนึ่ง เปลือก
  หนึ่ง ๆ อาจหุ้มผล
  ได้ ๑-๓ ผล ซึ่ง
  รับประทานได้
 
  แดง       Xylia Kerrii   ผลัดใบ
  สูง ๒๐-๒๕ เมตร
  เนื้อไม้สีแดงคล้ำ
  ดอกสีขาวหอม
  ผลเป็นฝักแบน
  แห้งแข็ง
  ป่าเบญจพรรณ
  มะค่าโมง      Afzelia xylocarpa    ผลัดใบ
  สูง ๑๕-๒๐ เมตร
  เนื้อไม้สีน้ำตาลอม
  เหลือง
  ดอกสีเขียว ๆ
  ผลเป็นฝักแบนหนา
  แห้งแข้ง
  ป่าเบญจพรรณ
  พะยูง      Dalbergia cochinchinensis   ผลัดใบ
  สูง ๑๕-๒๐ เมตร
  เนื้อไม้สีน้ำตาล
  อมแดง
  ดอกสีขาว
  ผลเป็นฝักเล็กบาง
  ป่าเบญจพรรณ
  ชิงชันหรือ
  เกดแดง
     Dalbergia   ผลัดใบ
  สูง ๒๐-๒๕ เมตร
  เนื้อไม้สีแดง
  ดอกสีขาว
  ผลเป็นฝักเล็กแข้ง
  ป่าเบญจพรรณ
  กระพี้เขา
  ควายหรือ
  เกดดำ
     Dalbergia   ผลัดใบ
  สูง ๒๐-๒๕ เมตร
  เนื้อไม้สีแดง แกมดำ
  ดอกสีขาว
  ผลเป็นฝักเล็กแข็ง
  ป่าเบญจพรรณ
  ประดู่       Pterocarpus macrocarpus   ผลัดใบ
  สูง ๒๐-๒๕ เมตร
  เนื้อไม้สีแดงคล้ำ
  ดอกสีเหลืองหอม
  ผลเป็นฝักแบนกลม
  มีครีบโดยรอบ
  ป่าเบญจพรรณ
  กันเกรา   Fagraea Fragrans  ไม้ผลัดใบ
  สูง ๑๕-๒๐ เมตร
  เนื้อไม้สีน้ำตาล
  อ่อน
  ดอกสีนวลหอม
  ผลเล็กกลม
  สุกสีแดง
 ป่าดิบชื้นและ
  ที่ลุ่มน้ำขัง
  กระเจา   Holoptelea integrifolia   ไม้ผลัดใบ
  สูง ๒๐-๒๕ เมตร
  เนื้อไม้สีนวล
  ดอกสีขาวๆ เขียว ๆ
  ผลเล็กแบน บางที
  มีครีบโดยรอบ
  ป่าเบญจพรรณ
  ตะแบก
  เปลือก
  หนา
  Lagerstroemia Calyculata   ไม้ผลัดใบ
  สูง ๒๐-๒๕ เมตร
  เปลือกสีเทา
  เป็นสะเก็ดล่อน
  เป็นหลุมตื้น ๆ
  เนื้อไม้สีนวล
  ดอกสีม่วงอ่อน
  ผลเล็ก ผิวแข็ง
  แก่จัดแยกออก
  เป็นเสี่ยง ๆ
   ป่าเบญจพรรณ
  ตะแบก
  เปลือก
  บาง
  Lagerstroemia balansae   คล้ายตะแบก
  เปลือกหนา
  ดอกสีม่วง ผลมี
  ขนาดใหญ่กว่า
   ป่าเบญจพรรณ
  เสลา   Lagerstroemia tomentosa   ไม้ผลัดใบ
  สูง ๒๐-๒๕ เมตร
  เปลือกเรียบสีน้ำ
  ตาล เนื้อไม้สีนวล
  ดอกสีม่วงอ่อน
  เกือบขาว ผลผิว
  แข็ง แก่จัดแยก
  ออกเป็นเสี่ยง ๆ
   ป่าเบญจพรรณ
  อินทนิล   Lagerstroemia speciosa   ไม้ผลัดใบ
  สูง ๑๕-๒๐ เมตร
  เป็นสะเก็ดล่อน
  ออกบาง ๆ เนื้อไม้
  สีน้ำตาลอ่อน
  สีม่วงเข้ม ผล
  ขนาดใหญ่ ผิวแข็ง
  แก่จัดแยกออกเป็น
  เสี่ยง ๆ
  ป่าดิบแล้ง
  ริมลำธาร
  กระบาก
  มี ๓ ชนิด
 กระบากขาว
  กระบากดำ 
  ปีกหรือ
  ช้าม่วง


  Anisoptera oblonga
  Anisoptera costata

  Anisoptera scaphula
  ไม่ผลัดใบ
  สูง ๒๕-๓๐ เมตร
  เปลือกสีน้ำตาลอ่อน
  เนื้อไม้สีนวล
  สีขาวหอม
  ผลกลม
  มีปีกยาว ๒ ปีก
  ปีกสั้น ๓ ปีก
  ป่าดิบแล้ง
  ป่าดิบชื้น
  ตะเคียน
  มี ๓ ชนิด
ตะเคียนทอง
ตะเคียนหิน
ตะเคียนราก


  Hopea odorata
  Hopea  ferrea
  Hopea  pierrei
  ไม่ผลัดใบ
  สูง ๒๕-๓๐ เมตร
  เปลือกสีน้ำตาล
  อมเหลือง
  สีนวล ผลเล็กกลม
  ปลายแหลม
  มีปีกใหญ่ ๒ ปีก
  ปีกสั้น ๓ ปีก
  ป่าดิบแล้ง
  ป่าดิบชื้น
  เต็งหรือแงะ   Shorea obtusa   ผลัดใบ
  สูง ๑๕–๒๐ เมตร
  เนื้อไม้สีน้ำตาล

  สีนวล หอม 
  ผลเล็กกลม
  ปลายแหลม
  มีปีกใหญ่ ๓ ปีก 
  ปีกสั้น ๒ ปีก

  ป่าเต็งรัง
  ป่าเบญจพรรณ
  แล้ง
  เต็งตานี   Shorea thorelii   คล้ายไม้เต็งมาก   คล้ายไม้เต็ง  
  แต่ดอกใหญ่กว่า
  ป่าดิบแล้ง
  รัง หรือ เปา   Shorea siamensis   ผลัดใบ 
  สูง ๑๕–๒๐ เมตร 
  เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน
  สีนวล หอม 
  ผลเล็กกลม
  ปลายแหลม
  มีปีก ๕ ปีก     
  ยาวไล่เลี่ยกัน
  ขึ้นปะปนกัน
  กับไม้เต็ง
  ยางเหียง   Dipterocarpus obtusifolius   ผลัดใบ
  สูง ๒๐–๒๕ เมตร
  เนื้อไม้สีน้ำตาล
  สีชมพู หอม 
  ผลใหญ่กลม
  ปลายแหลม 
  มีปีกใหญ่ ๒ ปีก
  ปีกสั้นรูปหูหนู ๓ ปีก
  ขึ้นปนกับ
  ไม้เต็ง ไม้รัง
  ยางกราด   Dipterocarpus intricatus   ผลัดใบ
  สูง ๒๐–๒๕ เมตร
  เนื้อไม้สีน้ำตาล
  สีชมพูอ่อน หอม 
  ผลใบใหญ่กลม
  ปลายแหลม 
  มีปีกใหญ่ ๒ ปีก 
  ปีกสั้นรูปหูหนู ๓ 
  ปีก แต่ส่วนโคนปีก
  ที่หุ้มผลนั้นมีกลีบ
  ขยุกขยิก ๕ กลีบ
  ตามยาวแต่ละกลีบ
  ชนกัน
  ขึ้นปนกับ
  ไม้เต็ง ไม้รัง 
  และไม้เหนียว
  ยางพลวง Dipterocarpus tuberculatus   ผลัดใบ
  สูง ๒๐–๒๕ เมตร
  ใบมีขนาดใหญ่มาก
  เนื้อไม้สีน้ำตาล
  สีชมพูอ่อน ผลกลม 
  มีปีกใหญ่ ๒ ปีก 
  ปีกรูปหูหนู ๓ ปีก 
  ตอนโคนปีกจะมี
  ตุ่มปมสลับกันอยู่ 
  ๕ ปม
  ขึ้นปนกับ
  ไม้เต็ง ไม้รังเหียง
   และกราด
  ยมหอมหรือ
  สีเสียดอ้ม
  Toona ciliata   ไม่ผลัดใบ 
  สูง ๒๐–๒๕ เมตร 
  เปลือกแตกออก  
  เป็นร่องตามยาว
  สีน้ำตาลเข้ม
  สับออกดูมีสีชมพู
ู  กลิ่นเหมือนยาหอม
  เนื้อไม้สีน้ำตาล
  แกมชมพู
  สีขาว ผลผิวแข็ง
  แก่จัดแยกออก
  เป็นเสี่ยง ๆ
  ป่าดิบแล้ง
  สนทะเล   Casuarina equisetifolia   ไม่ผลัดใบ
  สูง ๒๐–๒๕ เมตร
  กิ่งดึงหลุดออกได้ 
  เป็นปล้อง ๆ
  เนื้อไม้สีขาว
  สีน้ำตาลอมแดง
  ผลกลมขรุขระ
  ขึ้นตามหาด
  ทรายชายทะเล

 

 

ดอกก่อแจง

 

ดอกก่อแอบ

  

 

อินทนิล

 

เสลา

 

ตะแบก

 

ต้นยางพลวง

 

๒. ไม้หวงห้ามประเภท ข. 

ได้แก่พันธุ์ไม้บางชนิดที่ทางการ ได้พิจารณาเห็นว่า เป็นไม้ชนิดดีมีค่า หายาก หรือมีคุณค่าพิเศษอย่างอื่น เช่น เปลือกหรือเนื้อไม้ มีกลิ่นหอม เป็นสมุนไพรที่หายาก หรือเนื้อไม้มีน้ำมันหรือชัน ซึ่งใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรม ที่จะหาของอื่นมาใช้แทนไม่ได้ หรือมีผลที่เป็นสมุนไพร ใช้แก้โรคติดต่อร้ายแรงบางโรคได้ ทางการจะห้ามมิให้ตัดฟัน โค่น ล้ม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ

พันธุ์ไม้ที่ใช้ยางนำมากลั่นเป็นน้ำมันและ ชันก็คือ

 

สนเขา เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ อยู่ใน สกุลไพนัส (Pinus) ต้นสูง ๒๕-๓๐ เมตร ใบรูปเข็ม มีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิด คือ

สนสองใบ (Pinus merkusii) 
สนสามใบ (Pinus khasya)

 

 

 

ต้นสนสามใบ

 

 

ที่มีบริมาณน้อยและหายากได้แก่ 

พญาไม้ ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุลพอโดคาร์ปัส (Podocarpus) ขึ้นตามป่าดิบเขา มีอยู่ ๓ ชนิด คือ 

พญามะขามป้อมดง (Podocarpus imbri-catus) ใบเล็กละเอียด บางทีเป็นเกล็ดแหลม 
ขุนไม้ (Podocarpus wallichii) ใบกว้าง สอบเรียวทางปลายและโคน 
พญาไม้หรือซางจิง (Podocarpus neriifolia) ใบแคบขอบขนาน

แปกลม (Colocedrus macrolepis) ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเล็กอยู่ชิดติดกัน เป็นแผงคล้ายใบสนแผง ด้านล่างสีขาว ขึ้นตาม ป่าดิบเขา 

มะขามป้อมดง (Cephalotaxus griffithii) ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเล็กเรียว ปลายแหลมเรียงกันอยู่สองข้าง ด้านล่างสีขาว ขึ้น ตามป่าดิบ 

 

สามพันปี (Dacrydium elatum) ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเรียวเล็ก ปลาย ใบแหลมเป็นเกล็ดเล็กๆ ขึ้นตามป่าดิบเขา ริม ลำธาร

 

 

สามพันปี

 

 

กฤษณาหรือกระลำพัก เป็นไม้สกุลอะควิลาเรีย (Aquilaria) ซึ่งขึ้นตามป่าดิบ เรียกกันทั่วๆ ไปว่า กฤษณา มีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ Aquilaria crassna และ Aquilaria intergra พันธุ์ไม้สองชนิด นี้มีลักษณะคล้ายกันมาก ยากที่จะจำแนกออกจาก กันได้ แต่พอจะสังเกตรู้ได้ว่าเป็นไม้ในสกุลนี้ คือ มีใบบาง เนื้อแน่น มีเส้นใบถี่ เปลือกสีเทา ลอกออกได้ง่ายตามยาวของลำต้นและมีใยเหนียวมาก 

หอม หรือ สบ หรือ กะตุก (Altingia siamensis)ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ขึ้นตามป่า ดิบ ใบมีกลิ่นฉุนเหมือนการบูร เนื้อไม้มีกลิ่นหอม 

กระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminticus และ H.kurzii) ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าดิบ ผลให้เมล็ดใช้สกัดน้ำมัน ทำยารักษาโรคเรื้อนได้ผลดี 

มะพอก หรือทะลอก หรือ มะมื่อ (Parinari annamense) ไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ผลให้เมล็ดใช้น้ำมันใน อุตสาหกรรมเครื่องเขิน และกระดาษ 

รักใหญ่ (Melanorrhoea usitata และ M. laccifera) ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๑๕-๒๐ เมตร ขึ้น ตามป่าเบญจพรรณแล้ง เปลือกให้ยางสีดำใช้ใน อุตสาหกรรมเครื่องเขิน 

นอกจากไม้หวงห้ามทั้งสองประเภทที่ยกตัวอย่างมาพอเป็นสังเขปนั้น ยังมีไม้อยู่อีก ๒ ชนิด ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ให้เป็นไม้หวงห้าม ชนิดพิเศษ คือ ไม้สัก และไม้ยางทุกชนิด ไม้ทั้งสองชนิดนี้ ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดก็ตามให้ถือว่า เป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น การตัดฟันใช้สอยจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่ได้มอบหมายให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมป่าไม้ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด

 

ไม้สัก (Tectona grandis) ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ผลกลมมีขนนุ่มปกคลุม และมีเปลือกบางๆ หุ้มโดยรอบภายนอกอีกชั้นหนึ่ง เนื้อไม้สีน้ำตาล อมเหลือง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ

 

 

 

ต้นสัก

 

 

ไม้ยาง (Dipterocarpus spp.) ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูง ๓๐-๔๐ เมตร ดอกสีชมพูผลกลม ปลายแหลม มีปีก ๒ ปีกใหญ่ และปีกรูปหูหนู ๓ ปีก เนื้อไม้สีน้ำตาล ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ไม้ ยางมีอยู่ด้วยกันมากชนิด ชนิดที่พบทั่วๆ ไป คือ

ยางนา (Dipterocarpus alatus) 
ยางพาย (Dipterocarpus costatus) 
ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus) 
ยางมันหมู (Dipterocarpus kerrii) 
ยางเสียน (Dipterocarpus gracilis)

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow