ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทางกรมแผนที่ได้ติดตามเรื่องเกี่ยวกับการทำแผนที่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับใช้ในการทำสงครามมีอยู่ ๒ เรื่อง ที่อยู่ในความสนใจมากที่สุดตอนท้าย ๆ ของสงครามได้มีวิวัฒนาการใช้การถ่ายรูปทางอากาศจากเครื่องบินทำแผนผังและมีการให้กำเนิดระบบแผนที่ตาราง
สนามรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ อยู่ในพื้นที่หลายประเทศ แผนที่ของแต่ละประเทศของฝ่ายสัมพันธมิตรใช้โครงสร้างแผ่นระวางแผนที่ไม่เหมือนกันทั้งหมด การใช้ขนาดทรงวงรีของโลกก็มีความแตกต่างกันบ้าง กองทัพบกที่ ๒ ของประเทศฝรั่งเศสได้ริเริ่มนำระบบแผนที่ตารางมาใช้ให้ชื่อว่า "ระบบแผนที่ตารางกิโลเมตรลัมเบิร์ต" (Quadrillage Kilometrique Systeme Lambert) ในเวลาสงครามปรากฏได้ผลดีบรรดากองทัพบกฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงใช้ระบบการนั้นทั่วไป
กรมแผนที่เห็นเป็นการสมควรที่จะจัดการคำนวณทำสมุดคู่มือแผนที่ตารางแบบลัมเบิร์ตขึ้นไว้สำหรับใช้ในราชการ จึงได้มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่ใช้สมุดคู่มือแผนที่ตารางสำหรับช่วยการคำนวณ และแสดงตารางเลขเพื่อให้หาผลได้ตามประสงค์เป็นสมุดคู่มือปฏิบัติการต่อไป
สมุดคู่มือแผนที่ตารางเล่มนี้ได้คำนวณขึ้นไว้สำหรับประเทศไทย ใช้แบบเส้นโครงแผนที่ลัมเบิร์ตคอนฟอร์มาลรูปกรวย (Lambert Conformal Conic Projection) (คอนฟอร์มาล ๆ ที่อยู่บนผิวพื้นของโลกจะแสดงไว้ถูกต้องตามตำแหน่งที่และตามมาตราส่วนบนแผ่นแผนที่ และมาตราส่วนจะถูกต้องแท้ทีเดียวตามวงละติจูด ๒ วง ซึ่งเลือกใช้ในการคำนวณและเส้นเมริเดียนเป็นเส้นตรงแผ่ออกจากศูนย์รวมกับศูนย์เดียว)
การคำนวณเลขในสมุดเล่มนี้ได้เลือกใช้วงละติจูดที่ ๘ องศา และที่ ๑๘ องศา เพื่อให้ความคลาดเคลื่อนในการจำลองรูปแผนที่ทั่วไปในประเทศไทยลงในแผ่นแผนที่มีน้อยที่สุด
นอกจากแผนที่ตารางซึ่งได้กล่าวมาแล้วยังได้มีการใช้รูปถ่ายทางอากาศจากเครื่องบินทำแผนผังและทำแผนที่ในระหว่างสงคราม
ภายหลังสงครามได้เลิกแล้วได้มีการศึกษาวิจัยและสร้างอุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับบการทำแผนที่ด้วยรูปถ่ายทางอากาศในหลายรูปแบบ ทั้งที่ใช้เกี่ยวกับการถ่ายการบินและการเขียนแปลจากรูปถ่ายเป็นแผนที่ การดำเนินการเรื่องการทำแผนที่โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศจึงต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ (มีบทความเขียนไว้ ในรายงานประจำปี กรมแผนที่ พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๔๖๘)
การทำแผนที่ภูมิประเทศโดยใช้รูปถ่ายทางอากาศในประเทศไทยเริ่มใน พ.ศ. ๒๔๖๗ ในเวลานั้นทางกองทัพที่ ๒ ได้จัดให้สำรวจแผนที่ภูมิประเทศในพื้นที่ระหว่างละติจูด ๑๖ ํ ๓๐' กับ ๑๗ ํ ๐๙ ' และลองจิจูด ๑๐๐ ํ ๑๕' กับ ๑๐๐ ํ ๓๐' โดยใช้นายทหารแผนที่ของกองทัพที่ ๒ เป็นหัวหน้าและมีนายสิบที่ได้รับการอบรมวิชาการแผนที่มาบ้าง เป็นผู้ทำการสำรวจเป็นแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๕,๐๐๐ แผนที่ชุดนี้ยังไม่เป็นแผนที่ที่ได้มาตรฐานของกรมแผนที่ เป็นแผนที่ซึ่งทางกองทัพที่ ๒ ต้องการด่วนเพื่อใช้ไปพลางก่อน เพราะทางกรมแผนที่ยังไม่พร้อมที่จะไปสำรวจตามแผนกำหนดการ ในเวลานั้นทางกรมแผนที่จึงได้ถือโอกาสที่จะใช้รูปถ่ายทางอากาศสำรวจแก้ไขให้แผนที่ชุดนี้ เป็นการหาประสบการณ์ด้วยความร่วมมือกับกรมอากาศยาน ซึ่งก็ต้องการหาความชำนาญและประสบการณ์ในการใช้รูปถ่ายทางอากาศสำรวจแผนที่ภูมิประเทศได้ เริ่มต้นถ่ายรูปบริเวณพื้นที่ซึ่งได้กล่าวมาแล้วนั้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ การถ่ายและการพิมพ์รูปเป็นหน้าที่ของกรมอากาศยานซึ่งทำให้เพื่อใช้รวบรวมเขียนแก้ไขแผนที่ซึ่งทางกองทัพได้สำรวจไว้กรมอากาศยานได้ใช้เครื่องบินแบบเบรเกต์ (Brequet) บินถ่ายกล้องที่ถ่ายก็เป็นของกรมอากาศยานที่มีอยู่แล้ว ใช้กระจกระยะศูนย์เพลิง (focus) ๒๖ เซนติเมตร แมกกาซีนบรรจุกระจกถ่ายครั้งหนึ่งถ่ายได้ ๑๒ รูป ขนาดกระจก ๑๘x๒๔ เซนติเมตร รูปที่ถ่ายมีมาตราส่วนประมาณ ๑:๑๐,๐๐๐ ใช้สนามบินที่พิษณุโลก และสร้างห้องล้างรูปในสถานที่นั้นใช้ในการนี้งานถ่ายรูปใช้เวลาทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบประมาณหนึ่งเดือน พื้นที่ที่ถ่ายรูปประมาณ ๑,๒๕๐ ตารางกิโลเมตร จำนวนรูปแผ่นพิมพ์รูปถ่ายพื้นที่นั้น ๗๖๕ รูปงานครั้งนี้เป็นครั้งแรก จึงใช้เครื่องมือเท่าที่มีอยู่เมื่อกรมอากาศยานส่งรูปถ่ายมาให้แล้ว การรวบรวมเป็นแผนที่เป็นหน้าที่ของกรมแผนที่
การถ่ายรูปทางอากาศครั้งต่อมาคงใช้เครื่องมือกล้องถ่ายรูปอย่างเดียวกัน ได้ถ่ายทำเพื่อการสำรวจแก้ไขแผนที่กรุงเทพ ฯ ทางตอนเหนือในระหว่างปลายเดือนมิถุนายนและต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ในการทำงานครั้งนี้ ได้มีการวางโครงหลักฐานไว้ล่วงหน้าและสร้างที่หมายเป็นรูปต่าง ๆ กัน โรยปูนขาวมีระยะห่าง กัน ๘๐๐-๑,๐๐๐ เมตร เพื่อให้รูปถ่ายมีที่หมาย ๔ หมุดแต่เนื่องจากเป็นฤดูฝนจึงต้องเสียเวลาซ่อมที่หมายซึ่งโรยปูนขาวบ้าง ผลงานที่ทำไปนั้นทำได้ดีกว่าที่พิษณุโลกมากใช้การรวบรวมแก้ไขแผนที่ภูมิประเทศได้ดี ในการนี้ได้กำหนดจะใช้รูปถ่ายสำหรับทำแผนที่มาตราส่วนใหญ่และจะใช้รวบรวมทำแผนที่รังวัดที่ดินได้ด้วยจึงได้สั่งเครื่องแบบรูซิลล์ (Rousille) (ที่อินโดจีนฝรั่งเศสได้ใช้วิธีการของรูซิลล์สำรวจเป็นแผนที่รังวัดทำหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน) พื้นที่ที่ถ่ายงานครั้งนี้ ๙๐ ตารางกิโลเมตรประกอบด้วยรูปถ่าย ๔๕ รูป
ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้เริ่มดำเนินการถ่ายทำแผนที่ภูมิประเทศซึ่งยังไม่เคยสำรวจแบบมาตรฐานมาก่อน โดยใช้กล้องถ่ายรูปซึ่งใช้ฟิล์มที่สามารถถ่ายได้แมกกาซีนหนึ่ง ๆ จำนวน ๑๐๐ รูป ซึ่งเพิ่งได้สั่งมาใช้ในเวลานั้นกรมแผนที่มีโครงการสำรวจแผนที่ภูมิประเทศในภาคพื้นมณฑลนครราชสีมาให้เป็นพื้นที่ซึ่งจะให้ติดต่อกันกับพื้นที่ซึ่งจะได้มีการสำรวจภูมิประเทศตามแผนกำหนดการ พื้นที่ซึ่งได้เลือกทำครั้งนี้อยู่ทางด้านนอกของที่ตั้งตัวเมืองสุรินทร์ ระหว่างลองจิจูด ๑๐๐ ํ ๓๐' กับ ๑๐๔ ํ ๐๐' คลุมพื้นที่ ๓ ระวาง แผนที่สมัยนั้น มีขนาด ๑๐ข x ๑๐ข รวมประมาณ ๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
งานสำรวจทำแผนที่ภูมิประเทศครั้งนี้ ได้เริ่มดำเนินการตามกรรมวิธีการสำรวจได้ส่งกองวางหมุดหลักฐานในพื้นที่ ซึ่งจะสำรวจใช้วงรอบสร้างหมุดหลักฐานตามแบบที่ใช้งานชนิดที่ใช้ทำแผนที่ภูมิประเทศแต่มีเพิ่มเติมให้สีหมุดที่หมายซึ่งจะแปลเห็นได้ในรูปถ่ายแต่ละแผ่นซึ่งจะโรยปูนขาวเป็นรูปต่าง ๆ กัน ให้เป็นที่สังเกตจดจำในรูปถ่ายได้เพื่อใช้ในการรวบรวมรายละเอียดภูมิประเทศ
การบินถ่ายรูปได้ทำในตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้ถ่ายเป็นแนวตั้งเหนือ-ใต้ ๑๑ แนวบินและถ่ายตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ๒๔ แนวบินเป็นรูปถ่ายทั้งหมดประมาณ ๘๓๘ รูป คลุมพื้นที่เหนือที่กำหนดไว้เดิมบางส่วน ๑๐ แนวบินทา ละติจุดเหนือ ๑๕ ํ ๐๐' ที่ได้กำหนดไว้เดิมกล้องที่ใช้เป็นกล้องแบบอีเกิลฟิล์ม เอฟ ๘ (F8 Eagle Film Camera) ซื้อจากอังกฤษเฉลี่ยมาตราส่วนรูปประมาณ ๑:๑๕,๐๐๐
เมื่อกรมแผนที่ได้รับรูปถ่ายเริ่มต้นเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓ ก็ได้รวบรวมต่อเป็นแถบ ๆ แล้วปรับเขียนลงจุดที่หมายหมุดหลักฐานก่อนเสร็จแล้วจึงได้ส่งไปให้แผนกพิมพ์พิมพ์สำเนาลงบนกระดาษโบรไมด์แล้วถ่ายย่อเป็นมาตราส่วน ๑:๒๕,๐๐๐ การรวบรวมย่อทำเป็นมาตราส่วน ๑:๑๔,๐๐๐ ตอนต้น ๆ ใช้เวลานานหน่อยแต่เมื่อได้ประสบการณ์มากขึ้นก็ทำได้เร็วขึ้น
รูปถ่ายชุดแรกใช้เวลาทำจนเป็นแผ่นโบรไมด์ ๑:๒๕,๐๐๐ อยู่จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ จึงพร้อมที่จะให้กองรังวัดแผนที่ภูมิประเทศออกไปทำการในสนาม เพื่อสำรวจชื่อหมู่บ้านตำบลและจดความสูงที่หมายชื่อลำน้ำ ลำธาร เขต ตำบล ฯลฯ เพิ่มเติม
เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รับสำเนารูปถ่ายทางอากาศอีกหนึ่งรุ่นเป็นรูปถ่ายแถบละติจูดเหนือ ๑๕ ํ ๐๐' ไปถึง ๑๕ ํ ๑๐' การรวบรวมลงจุดที่หมายและการย่อลงเป็นมาตราส่วน ๑:๑๔,๐๐๐ กองรังวัดแผนที่ภูมิประเทศคงดำเนินไปตามแผนที่ที่ใช้รุ่นแรกเสร็จในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๔
ในการนี้ได้ให้นายร้อยโทชิตวีร์ ภักดีกุล (ภายหลังได้เลื่อนเป็นนายร้อยเอกหลวงชิตวีร์ สุนทรา) ผู้ซึ่งได้รับการศึกษาในประเทศอังกฤษและได้ให้รับการฝึกหัดอบรมในเรื่องนี้ที่แผนกภูมิศาสตร์กรมเสนาธิการทหารบกอังกฤษ เป็นผู้ควบคุมดำเนินการการถ่ายทำแผนที่ภูมิประเทศค รั้งนี้มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ได้มาใหม่คือกล้องถ่ายแบบอีเกิล (Eagle) ใช้ฟิล์มสเตอริโอสโคป (Stereoscope) ชนิดเบาเป็นเครื่องที่ใช้อย่างธรรมดา (ไม่ใช่แบบพิสดารนัก และก็ใช้ประจำที่) และเครื่องวัดความสูงละเอียดแบบพอลิน (Paulin) และแบบนีเกรตต์และเซมบรา (Negrett and Zembra) ซึ่งเป็นแบบใหม่ที่สุดในเวลานั้นเครื่องเล็งทางแบบแอลดิส (Aldis sight) ที่ใช้ในการบินถ่ายก็ได้รับมาแล้วและการติดตั้งใช้ยังไม่เรียบร้อยดีพอที่จะใช้การในเวลานั้น
วิธีการรวบรวมและถ่ายทอดข้อมูลจากรูปถ่ายทางอากาศให้เป็นแผนที่ภูมิประเทศดำเนินการตามแบบของนายร้อยเอกฮอทีน (Hotine) ขณะนั้นประจำอยู่แผนกภูมิศาสตร์กรมเสนาธิการทหารบกอังกฤษภายหลังเป็นนายพลจัตวาเจ้ากรมแผนที่ทหารบกอังกฤษ (Ordnance Survey) (รายละเอียดวิธีการมีแจ้งอยู่ในหนังสือ Professional Paper of Air Survey Committee No.3 and No.4)
ภายหลังการถ่ายรูปทางอากาศในการทำแผนที่ในจังหวัดสุรินทร์ก็ไม่ได้มีการถ่ายรูปทางอากาศทำแผนที่อีกเป็นเวลานาน
ก่อนสมัยที่จะมีเครื่องบินก็ได้มีการพัฒนาเครื่องมือและเครื่องใช้ในการสำรวจทำแผนที่จากรูปถ่ายทางพื้นดินมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งรวมทั้งการปรับปรุงกล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์มม้วนแทนกระจกเครื่องวัดเขียนรายละเอียดจากรูปถ่ายเป็นแบบซึ่งมีชื่อว่าสเตอริโอ ออโตกราฟ (Stereo autograph)
สงครามโลกครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้กระตุ้นให้โฟโตแกรมเมตรี (photogrammetry) จากผลความเจริญของเครื่องบินสามารถทำแผนที่สังเขปเบื้องต้น (ลาดตระเวน) และการสืบแปลความหมายของรายละเอียดในรูปถ่าย
ศัพท์โฟโตแกรมเมตรี ได้เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๐ ผู้ที่ทำการบุกเบิกการสำรวจทำแผนที่จากรูปถ่ายที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งคือพันเอกเอเม โลส์เซดาต์ (Aime Laussedat) นายทหารช่างทหารบกฝรั่งเศส ได้สร้างเครื่องมือใช้สำรวจทำแผนที่ทางพื้นดินและได้รับสมญานามว่า "บิดา แห่งโฟโตแกรมเมตรี" ศัพท์โฟโตแกรมเมตรียอมรับใช้กันทั้งในยุโรปและอเมริกา
การสำรวจโดยรูปถ่ายคงทำจากพื้นดินจนถึงสมัยที่มีเครื่องบินแล้ว จึงได้เริ่มนำรูปถ่ายทางอากาศมาใช้ทำเป็นแผนที่ใน พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นครั้งแรกทางการทหารที่ใช้รูปถ่ายจากบอลลูนได้แก่สหรัฐอเมริกาในขณะเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๔
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ ฝ่ายเยอรมันใช้ปืนใหญ่ขนาด ๓๘ เซนติเมตร มีลำกล้องยาวยิงเข้ามาทางกรุงปารี สฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ใช้รูปถ่ายทางอากาศลาดตระเวนหาตำแหน่งที่ตั้งปืนใหญ่นั้นจากการแปลความหมายในรูปถ่ายหาที่ตั้งปืนและทิ้งระเบิดฐานที่ตั้งปืนได้
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ มีผู้ให้ความสนใจเรื่องโฟโตแกรมเมตรีมากขึ้น ได้มีการพัฒนาและผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจทางอากาศ และวิธีใช้รูปถ่ายทางอากาศมากมายหลายรูปแบบ
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการใช้เครื่องมือหลักในการเขียนแผนที่ให้ความละเอียดถูกต้องมากสร้างขึ้น โดยบริษัทไซส์ (เยอรมัน) และบริษัทวิลด์ (สวิตเซอร์แลนด์) เครื่องมือของทั้งสองบริษัทนี้มีผู้นิยมใช้มาก
ยังมีเครื่องเขียนแผนที่อีกแบบหนึ่งเป็นแบบใหม่ใช้หลักการแตกต่างกับเครื่องที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เครื่องมือชนิดนี้เป็นแบบมัลติเพล็กซ์ (multiplex) สร้างขึ้นในสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ราคาน้อยกว่าแบบเครื่องของไซส์และวิลด์มาก หน่วยบริการแผนที่กองทัพบกสหรัฐอเมริกา (U.S. Army Man Service) ได้รับเครื่องมือแบบมัลติเพล็กซ์ เป็นเครื่องมือทำแผนที่มาตรฐาน
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ หน่วยทหารนี้ได้จัดพิมพ์แผนที่จำนวนหลายล้านแผ่น ให้กองทัพสหรัฐ ฯ ซึ่งปฏิบัติการอยู่ทั่วไปในสนามรบ ในพื้นที่มากมายหลายแห่งเป็นจำนวนล้าน ๆ แผ่น
สงครามโลกครั้งที่ ๒ นี้ ได้ทำให้มีความต้องการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับการฝึกมาแล้วเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเร่งรีบพัฒนาเครื่องมือช่วยในการถ่ายรูปในการสำรวจและต้นหนและยังมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้โฟโตแกรมเมตรีเพื่อการโจมตีและป้องกันประเทศทั้งทางบกและทางทะเล จึงทำให้การแปลความหมายจากรูปถ่ายเป็นวิทยาศาสตร์ใหม่ที่สำคัญมากทางสหรัฐอเมริกายังได้รับความสำเร็จในการผลิตกล้องถ่ายรูปเป็นแบบทีไม่มีที่ปิดมีกรวยเลนส์เป็นคู่และการทรงตัวแบบไจโรสโคป และรู้ถึงเทคนิคของการถ่ายรูปทางอากาศในเวลากลางคืน