ในประเทศไทยการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ด้วยฝีมือ ซึ่งเป็นงานหัตถกรรม มีอยู่มากมายหลายชนิด ทำด้วยวัสดุ และวัตถุดิบ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นนั้นๆ นอกจากจะมุ่ง เพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักแล้ว ยังสอดใส่ศิลปะในการประดิษฐ์ลงไปในสิ่งประดิษฐ์ให้ดูสวยงาม ทำให้ชิ้นงานต่างๆ ดูมีคุณค่า และความงามอย่างโดดเด่น ทางศิลปวัฒนธรรมของชนชาวไทยตลอดมา ไม่แพ้ชนชาติอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ที่ผลิตในประเทศไทย มีอยู่เป็นจำนวนมาก เกินกว่าจะนำมากล่าวได้หมดในที่นี้ หัตถกรรมของไทยแต่ละชนิดจะมีรูปแบบ แหล่งผลิต และประวัติความเป็นมา ที่แตกต่างกันไป ดังจะยกมากล่าวเพียง ๓ ประเภท ที่สำคัญมาก ดังนี้
๑. เครื่องจักสาน
การผลิตเครื่องจักสานในประเทศไทย มีมาแต่โบราณ นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เห็นได้จากหลักฐานด้านโบราณคดี คือ การขุดค้นพบเครื่องปั้นดินเผาสมัยหินใหม่ ที่มีลักษณะรูปทรงคล้ายคลึงกับเครื่องจักสาน ทำขึ้นด้วยวิธียาดินเหนียวภายในภาชนะเครื่องจักสานให้หนาพอ แล้วนำไปเผา เมื่อเผาเสร็จแล้วภาชนะเครื่อง จักสานจะถูกไฟไหม้หมดไป เหลือแต่ลวดลายจัก สานปรากฏอยู่บนภาชนะเครื่องปั้นดินเผานั้น นอกจากนี้ยังมีตำนานเกี่ยวกับบุญญาธิการของ พระร่วงเจ้าแห่งอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเล่ากันต่อมา ว่า สมัยหนึ่งอาณาจักรนี้ตกเป็นเมืองขึ้นของขอม และจะต้องส่งส่วยน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปถวาย พระร่วงฯ ได้ให้สานกระออมครุหรือครุ เพื่อบรรจุน้ำส่งไป ถวาย โดยน้ำมิได้รั่วไหลแม้แต่น้อย ตัวอย่างนี้ชี้ ให้เห็นได้ว่าเครื่องจักสานอยู่คู่กับชีวิตคนไทยมา เป็นเวลาช้านาน
แม้จะมีการจัดทำเครื่องจักสานในประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว แต่จากการศึกษาของผู้ช่วยศาสตราจารย์มาโนช กงกะนันทน์ ผู้ศึกษาวิจัยเรื่อง "เครื่องจักสานราชบุรี" ได้สรุปไว้ว่า กรรมวิธีในการจัดทำเครื่องจักสานในปัจจุบัน ก็ยังคงไม่แตกต่างไปจากกรรมวิธีการผลิตในอดีตมากนัก คือ จัก ถัก เย็บ สาน และทอ
เครื่องจักสานในประเทศไทยมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑. เครื่องจักสานสำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวันคือ
๓. เครื่องทองลงหิน (BRONZE WARE) หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างในสมัยโบราณว่า "เครื่องม้าล่อ" (จากเอกสารเก่าในประวัติศาสตร์จะพบว่า มีการใช้คำ "ม้าฬ่อ" และระบุว่า ช่างทำเครื่องทองลงหิน สมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซื้อทองม้าฬ่อ (โล่โก๊ะแตก) จากประเทศจีน ประมาณกิโลกรัมละ ๒๕ บาท มาหล่อใหม่ ทำเป็นขันน้ำพานรอง ฆ้องกระแต ระนาดแก้ว ตลอดจนได้หล่อเป็นพระพุทธรูป และลำกล้องปืนใหญ่ ต่อมานิยมทำเป็นขันลงหินกันมาก จนกระทั่งนายเกลียว บุนนาค ที่กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม แยกธาตุดู ทราบว่า แร่ธาตุที่ผสมอยู่ มีทองแดง ดีบุก จึงได้เริ่มผสมขึ้นใช้เองในประเทศไทย ไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศเหมือนแต่ก่อน ทำให้อุตสาหกรรมนี้ เจริญขึ้นมาก) เครื่องทองลงหินมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน และนำเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยการนำเอาโลหะ ๒ ชนิด คือ ดีบุก และทองแดง ผสมกัน แล้วหล่อหลอมทำ เป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ขันลงหิน ทัพพีลงหิน มีดลงหิน เป็นต้น มีการประดิษฐ์ลวดลาย ต่างๆ ลงไปให้ดูสวยงาม ฝีมือประณีตมีคุณภาพดี เป็นที่รู้จักและนิยมอย่างแพร่หลายในยุค รัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ต่อมาความนิยมลดลง ไปมาก เนื่องจากดูแลรักษายากเพราะจะต้องคอย ขัดอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะหมองและประกอบกับมี ผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นที่สวยงามและง่ายต่อการดูแล รักษา รวมทั้งมีราคาถูกกว่าอีกด้วย จึงทำให้ความ นิยมใช้เครื่องทองลงหินน้อยลง ในราวพ.ศ. ๒๔๙๐ ผู้ผลิตเครื่องทองลงหินบางคน ได้พยายามพัฒนาเครื่องทองลงหิน ด้วยการประดิษฐ์ และพัฒนาลวดลายไทยใหม่ๆ ลงบนเครื่องทองลงหิน รวมทั้งใช้เขาสัตว์และไม้ มาประกอบเป็นด้ามมีด ช้อน และทัพพี ให้ดูแปลกใหม่ แต่ตลาดรับซื้อก็ยังอยู่ในวงแคบ ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๗ มีชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนในประเทศไทยมากขึ้น ในช่วงเวลานี้เองมีผู้ผลิตเครื่องทองลงหิน ผู้มีความคิดกว้างไกล ได้คิดประดิษฐ์เครื่องทองลงหิน ให้มีลักษณะเป็นของที่ระลึก เช่น พวงกุญแจ ที่เปิดขวด และอื่นๆ ที่เหมาะสำหรับนำไปเป็นของฝาก หรือของขวัญ จนกระทั่งเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนารูปแบบ ให้สอดคล้องกับรสนิยมของชาวต่างประเทศ จนสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศได้ เป็นมูลค่านับร้อยล้านบาทต่อปี แต่สินค้า ประเภทนี้ก็ไม่เจริญเติบโตมากนัก เพราะขึ้นอยู่ กับความนิยมของผู้ซื้อในต่างประเทศซึ่งมักจะไม่ สม่ำเสมอ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังสามารถขายไปยัง ตลาดต่างประเทศได้บ้าง แหล่งผลิตเครื่องทองลงหินโดยทั่วไปอยู่ในกรุงเทพฯ และธนบุรี ซึ่งปัจจุบันมีน้อยราย และมีลักษณะการผลิตในรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน เพราะเป็นอาชีพที่ตกทอดกันมานาน |
|
จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมแต่ละประเภท ล้วนแต่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาแต่สมัยโบราณ ทั้งก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ มาจนถึงปัจจุบัน บางชนิดก็ได้เลิกผลิตกันไปแล้ว เพราะหมดความจำเป็นด้านการใช้สอย แต่บาง ชนิดแม้จะเลิกผลิตไปแล้ว แต่ก็มีการฟื้นฟูให้มี การผลิตขึ้นใหม่เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งศิลปะทาง วัฒนธรรม ก็สามารถขายได้แม้จะมีราคาแพง เพราะบางคนต้องการเพื่อเก็บสะสมไว้ บางคนก็ ซื้อเพื่อประดับบ้านเรือน หรือบางคนก็ซื้อเพื่อให้ เป็นของขวัญของกำนัล เป็นต้น |