ผสมวง คือ การเอาเครื่องดนตรีหลาย ๆ อย่างมาบรรเลงรวมกันแต่การที่จะนำเอาเครื่องดนตรีคนละอย่างมาบรรเลงพร้อม ๆ กันนี้จะต้องพิจารณาเลือกแต่สิ่งที่มีเสียงกลมกลืนกันและไม่ดังกลบเสียงกันสมัยโบราณนั้นเครื่องดีดก็จะผสมแต่กับเครื่องสีเพราะมีเสียงที่ค่อนข้างเบาด้วยกันและเครื่องตีก็จะผสมแต่เฉพาะกับเครื่องเป่าเท่านั้น เพราะมีเสียงค่อนข้างดังมากด้วยกันภายหลังเมื่อรู้จักวิธีสร้างหรือแก้ไขเครื่องตีและเครื่องเป่าให้ลดความดังลงได้พอเสมอกับเครื่องดีดเครื่องสีจึงได้นำเครื่องตีและเครื่องเป่าเหล่านั้นบางอย่างเข้าผสมเฉพาะแต่ที่ต้องการและจำเป็นและเลือกดูว่าเครื่องดนตรีอย่างไหนทำเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ได้หลายเสียงก็ให้บรรเลงเป็นทำนองอย่างไหนทำเสียงสูงต่ำหลาย ๆ เสียงไม่ได้ก็ให้เป็นพวกบรรเลงประกอบจังหวะ
วงดนตรีไทยที่ผสมเป็นวงและถือเป็นแบบแผนมีอยู่ ๓ อย่างคือ วงปี่พาทย์ วงเครื่องสายและวงมโหรีนอกจากนี้ถือว่าเป็นวงพิเศษ
วงปี่พาทย์ผสมด้วยเครื่องตีและเป่ามีอยู่ ๓ ขนาดคือวงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่และวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
วงปี่พาทย์เครื่องห้ามีเครื่องดนตรีที่ผสมในวง โดยมีวิธีบรรเลงและหน้าที่ต่าง ๆ กันดังนี้
๑. ปี่ในเดินทำนองถี่ ๆ บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้างมีหน้าที่ดำเนินทำนองและช่วยนำวงด้วย ![]()
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ![]()
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่มีเครื่องดนตรีผสมอยู่ในวงดังนี้
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่นี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ![]()
โหม่ง ตีตรงปุ่มด้วยไม้ตีตามจังหวะห่าง ๆ มีหน้าที่ควบคุมจังหวะห่าง ๆ การบรรเลงปี่พาทย์นี้โดยปกติระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่จะใช้ไม้แข็งตีแต่ถ้าต้องการให้มีเสียงนุ่มนวลก็เปลี่ยนไม้ตีเป็นไม้นวมเสียทั้งสองอย่างเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้นวม"
เครื่องเครื่องสายวงเครื่องสายเป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดีดและเครื่องสีเป็นหลักมีเครื่องเป่าและเครื่องตีที่ได้เลือกว่ามีเสียงเหมาะสมกันผสม ดังนี้ ![]()
วงมโหรี
วงมโหรีเครื่องใหญ่มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงตลอดจนวิธีบรรเลงและหน้าที่เหมือนกับวงมโหรีเครื่องคู่ทุกอย่างแต่เพิ่มเครื่องดนตรีขึ้นอีก ๒ อย่าง คือ ๑. ระนาดเอกเหล็ก (หรือทอง) วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ![]()
|