Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ปอแก้วปอกระเจาพืชเศรษกิจที่สำคัญ

Posted By Plookpedia | 25 เม.ย. 60
2,240 Views

  Favorite

 

ไร่ปอ
ไร่ปอ
จาก หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 17

 

ปอเป็นพืชเส้นใยชนิดหนึ่งที่ได้เส้นใยจากส่วนเปลือกของลำต้น โดยการแช่ฟอก เส้นใยมีลักษณะอ่อนนุ่ม ส่วนใหญ่จึงใช้ในการผลิตกระสอบบรรจุธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หรือผลิตผลทางการเกษตร เช่น น้ำตาล นอกจากนี้ยังใช้ในการทำพรมปูพื้น ฉนวนไฟฟ้า ส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ วัสดุทางการทหาร และอาจจะใช้ปอทั้งต้น เพื่อผลิตเยื่อกระดาษ จะเห็น ได้ว่า ปอเป็นพืชที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเกษตร และนำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละเป็น จำนวนมาก

ปอเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี ทนต่อความแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังสามารถเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกประเภท แต่ดินที่เหมาะสมในการปลูกปอให้ได้ผลิตผลสูง ควรเป็นดินร่วนซุย และมีความอุดมสมบูรณ์ มาก ปัจจุบันทั่วโลกมีพื้นที่ปลูกปอประมาณ ๑๖,๙๙๐,๐๐๐ ไร่ ได้ผลิตผล ๓.๔๒๓,๐๐๐ ตัน (พ.ศ. ๒๕๓๕) ผลิตผลที่ได้ร้อยละ ๙๔ อยู่ใน ทวีปเอเชีย ประเทศอินเดียเป็นผู้ผลิตได้มาก ที่สุดประมาณปีละ ๑,๖๒๐,๐๐๐ ตัน ส่วนใหญ่เป็นปอกระเจาฝักยาว และมีปอแก้วอยู่บ้างเล็กน้อย ประเทศผู้ผลิตรองลงมา ได้แก่ บังกลาเทศ สามารถผลิตได้ปีละ ๙๔๘,๖๐๐ ตัน ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นปอกระเจาฝักกลม และสาธารณรัฐประชาชนจีนผลิตได้ ๕๐๘,๐๐๐ ตัน เป็นปอคิวบา ส่วนประเทศไทยผลิตได้ประมาณ ๑๒๗,๐๐๐ ตัน เส้นใยที่ผลิตได้ร้อยละ ๙๒ เป็นปอแก้ว ส่วนที่เหลือเป็นปอกระเจา

พื้นที่ปลูกในประเทศไทยมี ๖๒๒,๐๐๐ ไร่ (พ.ศ. ๒๕๓๕) พื้นที่ปลูกปอแก้วเกือบทั้งหมด อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่ อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และบุรีรัมย์ และมีการ ปลูกอยู่บ้างในภาคเหนือและภาคกลาง เขตจังหวัด ปราจีนบุรี ส่วนปอกระเจามีการปลูกไม่มากนัก เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการความอุดมสมบูรณ์มาก มีการกระจายของน้ำฝนตลอดฤดูปลูกดี จึงสามารถปลูกได้บ้างในบางจังหวัดของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น หนองคาย นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ และบางส่วนของจังหวัด อุดรธานี

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow