Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ปอแก้วปอกระเจา

Posted By Plookpedia | 25 เม.ย. 60
20,968 Views

  Favorite

 

ปอ
หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 17

 

ปอเป็นพืชเส้นใย เมื่อนำเปลือกของต้นปอไปแช่น้ำ ลอก และฟอกให้สะอาด แล้วตากให้แห้ง จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง

 

ปอแก้วปอกระเจา
หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 17

 

ปอไม่กล้วความแห้งแล้ง เราปลูกปอได้ในดินทุกประเภท แต่ดินที่ต้นปอชอบที่สุดคือ ดินร่วนซุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก และมีฝนตกสม่ำเสมอตลอดฤดู

ประเทศไทยปลูกปอมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นปอพื้นเมืองของเรา โดยนำมาลอกเปลือก แล้วฟั่นเป็นเชือก จึงเรียกว่า "ปอฟั่น" แต่ต่อมาภายหลัง เรานำพันธุ์มาจากต่างประเทศ เช่น นำมาจากประเทศจีน และประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาค้นคว้าทดลองหาพันธุ์ดีๆ ไว้ปลูกต่อไป

 

ดอกกระเจี้ยบ
หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 17

 

ปอแก้วกับปอกกระเจาเป็นปอที่นิยมปลูกกันมาก เพราะใยของปอทั้งสองชนิดนี้มีคุณภาพดี คือ มีเส้นยาว เหนียว และมีสีนวลสวย

กระเจี๊ยบก็เป็นปอแก้วอย่างหนึ่ง เราใช้กลีบรองดอกมาทำน้ำกระเจี๊ยบ สีแดงรสอร่อย

 

ต้นกระเจี้ยบ
หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 17

 

ปอนั้นมิใช่จะมีประโยชน์เฉพาะสำหรับทำกระสอบบรรจุ และ เก็บรักษาธัญพืชเท่านั้น เส้นใยของปอยังมีคุณประโยชน์อย่างอื่น ๆ อีก เช่น ประโยชน์ในการสร้างของใช้บางอย่างในบ้าน ใช้ทำพรม ทอเสื่อ ทำวัสดุปิดฝาผนังป้องกันน้ำซึม และประโยชน์ทางด้านกิจการ ทหาร ใช้ทำกระสอบทราย เต็นท์ ถัง สายสะพายปืน และผสมกับ ฝ้ายทำเสื้อผ้าทหาร เป็นต้น

 

ปอเป็นพืชเส้นใช้ชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเกษตร เมื่อนำเส้นใยจากส่วนเปลือกไปแช่ และฟอกแล้ว จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นานัปการ และนำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละมากๆ

 

ปอแก้ว
ปอแก้ว
จาก หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 17

 

ปอมีหลายชนิด ที่รู้จักกันแพร่หลายคือ ปอแก้ว ปอคิวบา และปอกระเจา

ปอแก้ว และปอคิวบา เป็นพืชอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกันกับฝ้าย คือ อยู่ในวงศ์มัลวาซีอี สกุลไฮบิสคุส แต่ปอคิบามีเส้นใยที่มีคุณภาพดีกว่าปอแก้ว

 

ปอคิวบา
ปอคิวบา
จาก หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 17

 

ปอทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายคลึงกันมาก แต่มีชื่อพื้นเมืองต่างกัน เพราะเรียกชื่อตามท้องถิ่นที่ปลูก ปอแก้วมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น โรแซลล์ ปูซาเฮมพ์ และชันนี เป็นต้น ปอแก้วนี้มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งใช้กลีบรองดอกทำเป็นอาหาร เรียกว่า "กระเจี๊ยบ" อีกชนิดหนึ่งใช้เปลือกทำเป็นเส้นใย ปอคิวบาก็มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น เคนัฟ บิมลิพาตัม เดคคานเฮมพ์ และเมสตา เป็นต้น

 

ส่วนปอกระเจานั้นมี ๒ ชนิด คือ ปอกระเจาฝักยาว มีเส้นใยสีเหลืองอ่อนเหนียว อีกชนิดหนึ่งคือ ปอกกระเจาฝักกลม มีเส้นใยสีขาว เหนียวน้อยกว่าเส้นใยของปอกระเจาฝักยาว ปอกระเจาเป็นพืชอยู่ในตระกูลทิเลียซีอี สกุลคอร์โครุส เส้นใยของปอกระเจาทั้งสองชนิดนี้ มีคุณภาพดีกว่าปอแก้ว

 

ปอกระเจาฝักยาว
ปอกระเจาฝักยาว
จาก หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 17

 

คนไทยรู้จักใช้ปอให้เป็นประโชน์มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ปอที่ใช้เป็นปอพื้นเมือง นำมาลอกเปลือกต้นปอออกจากแกนต้น เรียกว่า "ปอกลีบ" แล้วจึงนำมาฟั่นเป็นเชือก เรียกว่า "ปอฟั่น" ในสมัยนั้นปอฟั่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทย ใช้ผูกมัดสิ่งของ และสัตว์เลี้ยง

 

ปอกระเจาฝักกลม
ปอกระเจาฝักกลม
จาก หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 17

 

ต่อมาได้มีการใช้กระสอบบรรจุธัญพืช และผลิตผลทางการเกษตรมากขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ตั้งโรงงานทอกระสอบ จากใยปอขึ้น เพื่อให้มีวัตถุดิบป้อนโรงงานสม่ำเสมอ และเพียงพอ ประเทศไทย จึงจำเป็นต้องนำพันธุ์ปอจากต่างประเทศ เข้ามาทดลองปลูกแทนปอพื้นเมือง เพื่อค้นคว้าหาพันธุ์ปอที่ดีไว้ใช้ส่งเสริมการปลูก ให้เพียงพอกับความต้องการ เช่น นำพันธุ์ปอแก้วมาจากประเทศจีน (ไต้หวัน) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ และนำพันธุ์ปอคิวบา มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นต้น

ต้นปอไม่กลัวความแห้งแล้ง สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท แต่ดินที่ต้นปอชอบมากที่สุดคือ ดินร่วนซุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก และมีฝนกระจายสม่ำเสมอตลอดฤดู พื้นที่ปลูกปอในประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่ปลูกมาก คือ ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ อุดรธานี และอุบลราชธานี

 

ดอกปอแก้ว
ดอกปอแก้ว
จาก หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 17

 

ปอมีประโยชน์ใช้สอยมากมาย มิใช่แต่ใช้สำหรับทอกระสอบเท่านั้น อาจจำแหนกประโยชน์ของปอได้ดังนี้

 

 

     

ประเภทของงาน

ประโยชน์

๑. ด้านการเกษตร

ทำผ้าคลุมแปลงพืชป้องกันแสงแดด หรือหิมะ (ในเมืองหนาว) ทำแฟงกันลมและทำเชือก เป็นต้น

๒. ด้นที่อยู่อาศัย

ทำพรมเช็ดเท้า พรมปูพื้น ใช้ผสมทำพรมน้ำมัน ทำผืนผ้าบุเก้าอี้ ทำเชือก ทอเสื่อ บุเตาอบ ทำผ้ากันเปื้อน และทำวัสดุปิดฝาผนัง เป็นต้น

๓. ด้านการก่อสร้าง

ทำฝ้าบุหลังคากันความร้อน ใช้บุกั้นป้องกันน้ำซึม และป้องกันเสียงสะท้อน เป็นต้น

๔. ด้านกิจการทหาร

ทำกระสอบทราย ทำเต็นท์ เครื่องเก็บกักน้ำ เช่น ถัง ผสมกับฝ้ายทำเสื้อผ้าทหาร ทำตาข่ายสายสะพายปืน สายโยง และทำฉนวนหุ้มภาชนะบรรจุอาหาร เป็นต้น

๕. ด้านอุตสาหกรรมและการขนส่ง

ทำถุงบรรจุสินค้า เช่น ถุงบรรจุเมล็ดพันธุ์พืช แร่ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ และตะปู ทำผ้าห่อเนื้อ ผ้าห่อถังปลา ทำฉนวนห่อหุ้มท่อลม ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า และปอทั้งต้นใช้ทำเยื่อกระดาษ เป็นต้น

๖. ด้านอื่นๆ

ทำผ้าบุผนังแสดงนิทรรศการแสดงสิ่งของ ทำผ้าหุ้มกระเป๋าเดินทาง ทำปกหนังสือ เศษปอใช้เช็ดล้างทำความสะอาดเครื่องยนต์ และทำจุก เป็นต้น

 

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow