Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เซลล์เชื้อเพลิงแบบกลุ่มเซลล์

Posted By Plookpedia | 24 เม.ย. 60
610 Views

  Favorite

เซลล์เชื้อเพลิงแบบกลุ่มเซลล์   

มีลักษณะเป็นเซลล์เดี่ยวหลายเซลล์ต่ออนุกรมกันเป็นแถว บางครั้งอาจต่อเซลล์หลายแถว แบบขนานเป็นกลุ่ม เพื่อให้ได้กระแสไฟฟ้า และศักย์ไฟฟ้า เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน มีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้
 

กลุ่มเซลล์เชื้อเพลิงที่แยกให้เห็นส่วนประกอบภายในเซลล์

 

แผ่นอิเล็กโทรไลต์

มีลักษณะเช่นเดียวกันกับแผ่นอิเล็กโทรไลต์ที่ใช้ในเซลล์เดี่ยว

ขั้วไฟฟ้า

มีลักษณะเช่นเดียวกันกับขั้วไฟฟ้าที่ใช้ในเซลล์เดี่ยว ในกรณีเซลล์เชื้อเพลิงชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน ใช้ชุดรวมชิ้นส่วนเยื่อ และขั้วไฟฟ้าเป็นชุดเดียวกันเรียกว่า ชุดรวมชิ้นส่วนเยื่อ และขั้วไฟฟ้า (membrane electrode assembly : MEA)

แผ่นแพร่แก๊ส (gas diffuser)

มีลักษณะเป็นแผ่นบางคล้ายกระดาษมีรูพรุน แก๊สไหลผ่านได้ ปิดทับผิวหน้าของชุดรวมชิ้นส่วนเยื่อ และขั้วไฟฟ้าทั้งสองด้าน ทำหน้าที่แพร่กระจายแก๊สไฮโดรเจน และแก๊สออกซิเจน ให้กระจายเข้าสู่อิเล็กโทรไลต์อย่างทั่วถึง และสม่ำเสมอ มักทำจากคาร์บอน หรือแกรไฟต์ จึงสามารถนำกระแสไฟฟ้าจากแคโทดหรือแอโนดไปยังแผ่น ๒ ขั้วได้

แผ่น ๒ ขั้ว (bipolar plate)

เป็นแผ่นวัสดุหนาทำด้วยแกรไฟต์หรือโลหะบางชนิด พื้นผิวทั้งสองด้านถูกเซาะเป็นร่องเล็กๆ วกไปมาเต็มพื้นที่สัมผัสกับแผ่นแพร่แก๊ส เพื่อใช้เป็นช่องทางไหลของแก๊สเชื้อเพลิง และแก๊สออกซิเจน แผ่น ๒ ขั้วนี้สามารถนำไฟฟ้าได้ จึงทำหน้าที่ต่อเชื่อมจากแอโนดของเซลล์หนึ่ง ไปยังแคโทดของเซลล์ถัดไป สำหรับแผ่นปิดหัวท้ายของแถวเซลล์ จะมีร่องเป็นช่องทางไหลของแก๊ส เฉพาะด้านในเพียงด้านเดียว

แผ่นปิดหัวท้าย

เป็นแผ่นประกบด้านนอกทั้งสองด้านของแถวเซลล์ เพื่อบีบอัดและยึดชิ้นส่วนต่างๆ ไว้ด้วยกัน มีรูหรือช่องทาง สำหรับป้อนแก๊สเชื้อเพลิงและแก๊สออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ เช่นเดียวกันกับเซลล์เดี่ยว

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow