อนุกรมนก
๑. อันดับนกเป็ดผี (Order Podicipediformes)
มีวงศ์เดียว คือ วงศ์นกเป็ดผี (Family Podicipedidae) ได้แก่ เป็ดผี (grebe) เป็นนกขนาดกลางสีน้ำตาล อมดำ ท้องขาว ปากแหลม พบตามบริเวณหนองน้ำใหญ่ๆ ทั่วประเทศ เท้าเป็ดผีมีพังผืดออก มาตามข้อนิ้ว สำหรับใช้ว่ายน้ำ แต่ไม่ใช่พังผืดแบบเท้าเป็ด เวลาตกใจ จะมุดน้ำหายไป ชาวบ้าน จึงเรียกกันว่า เป็ดผี
๒. อันดับนกกระทุง (Order Pelecaniformes)
ที่พบบ่อยๆ มี ๒ วงศ์ คือ
๑) วงศ์นกกระทุง (Family Pelecanidae)
เป็นนกขนาดใหญ่มาก ปากยาวใหญ่ และ หนามาก ใต้คางจะมีถุง สำหรับเก็บอาหารได้เวลาไซ้น้ำหาปลากินเป็นอาหาร เท้าเป็นพังผืดสำหรับ ว่ายน้ำ มักอยู่ตามริมทะเลหรือบึงใหญ่ๆ ได้แก่ นกกระทุง (pelican) เดี๋ยวนี้หายากมากแล้ว
๒) วงศ์นกกาน้ำ (Family Phalacrocoracidae)
เป็นนกขนาดใหญ่ ตัวขนาดอีกา แต่ปาก ยาว แหลม คอยาว เท้ามีพังผืดสำหรับว่ายน้ำ ชอบว่ายน้ำหากิน มักทำรังปะปนอยู่กับฝูงนก กระยาง เนื่องจากตัวขนาดกา สีดำ แต่อยู่ริมน้ำ ชอบว่ายน้ำหากิน ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า กาน้ำ (cormorant)
๓. อันดับนกกระยาง (Order Ciconiiformes)
เป็นนกขนาดใหญ่มากจนถึงขนาด ปานกลางมีหลายวงศ์ที่น่าจะรู้จักไว้ก็มี
๑) วงศ์นกกระสา-นกกระยาง (Family Ardeidae)
มีหลายขนาดด้วยกัน ตามชนิดและตามสกุล ปากยาว แข้งยาว ขายาว นิ้วยาว เพื่อจะใช้เดินลุยโคลนได้ง่ายๆ นิ้วกลางของนก พวกนี้มักจะมี "หวี" ยื่นออกมาเป็นซี่เล็กๆ เข้าใจว่า คงใช้ในการเหยียบมิให้จมเลนลงไป ที่รู้จัก กันมาก คือ นกกระสา (heron) และนกกระยาง (egret) ซึ่งมักพบเห็นกันเสมอในทุ่งนารอบๆ ตัวเมือง
๒) วงศ์นกปากห่าง (Family Ciconiidae) เป็นนกขนาดใหญ่มาก แต่เดี๋ยวนี้หาได้ยากมาก ที่พบกันเสมอก็คือ นกปากห่าง (openbilled stork) ซึ่งทางรัฐบาลได้ทำการคุ้มครอง เพราะเกรงจะสูญพันธุ์ เราเรียกว่า นกปากห่าง ก็เพราะบริเวณริมฝีปากของมันไม่ติดกัน จะแยกห่าง จากกันเพื่อใช้ในการคาบหอย เป็นนกขนาดใหญ่มาก พบตามท้องนาทั่วๆ ไป
๔. อันดับนกเป็ด (Order Anseriformes)
มีวงศ์เดียว คือ วงศ์นกเป็ด (Family Anatidae) ได้แก่ พวกเป็ดป่า เป็ดน้ำต่างๆ ภาษาอังกฤษเรียก wood duck และ teal บ้านเราก็มีเป็ดแดง เป็ดคับแค และเป็ดลาย ขนาดตัวเล็กกว่าเป็ดบ้านที่ เลี้ยงไว้ บางชนิดก็โตมาก เช่น เป็ดหงส์ ขนาดใหญ่กว่าเป็ดบ้าน เป็ดพวกนี้บางชนิด เช่น เป็ดลาย อพยพลงมาหากินในประเทศไทยเฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น โดยมากมักจะไปอาศัยเกาะ นอนตาม ทะเลริมฝั่งทะเลโคลน และบินเข้ามาในแผ่นดินตอนดึกๆ เพื่อหาอาหารประเภทสาหร่าย หรือ สัตว์น้ำจืดกินบ้าง พอหน้าร้อนก็อพยพกลับไปทำรังวางไข่ในทางตอนเหนือของประเทศไทย
๕. อันดับนกเหยี่ยว (Order Falconiformes)