Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

โปรแกรมแผ่นตารางทำการ (spread sheet)

Posted By Plookpedia | 21 เม.ย. 60
2,059 Views

  Favorite

โปรแกรมแผ่นตารางทำการ (spread sheet)

      แผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) หมายถึง แผ่นตารางที่ประกอบด้วยแนวตั้งและแนวนอนตัดกันเป็นช่องสี่เหลี่ยม แนวตั้งเรียกว่า "สดมภ์" (Column) แนวนอนเรียกว่า "แถว" (Row) ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากการตัดกันของสดมภ์และแถวเรียกว่า "เซลล์" (Cell) ใช้สำหรับบรรจุตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือสูตรคำนวณต่าง ๆ  สดมภ์แต่ละสดมภ์จะมีชื่อที่ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ A,B,C,.... กำกับไปตลอดส่วนแถวแต่ละแถวจะมีชื่อโดยใช้ตัวเลขอารบิก 1,2,3,... กำกับไปตลอด ดังนั้นการเรียกชื่อเซลล์จึงใช้ชื่อของสดมภ์และแถวที่ตัดกันมาอ้างอิง เช่น สดมภ์ A ตัดกับแถว 1 จะเกิดเซลล์ที่มีชื่อว่า เซลล์ A1 เป็นต้น 
      การอ้างอิงชื่อเซลล์ในรูปแบบนี้ทำให้แผ่นตารางทำการมีคุณสมบัติเด่นในการอ้างอิงค่าในเซลล์หากเราเปลี่ยนค่าในเซลล์หนึ่ง ๆ ซึ่งถูกอ้างอิงอยู่ที่เซลล์อื่นก็จะทำให้ค่าที่อยู่ในเซลล์ที่อ้างอิงเปลี่ยนแปลงตามได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น กำหนดให้เซลล์ A1 มีค่า 10 กำหนดให้เซลล์ A2 มีค่า 5 ส่วนเซลล์ A3 มีสูตรที่อ้างอิงถึงเซลล์ A1 และเซลล์ A2 คือ +A1+A2 ดังนั้นค่าในเซลล์ A3 มีค่า 15 หากค่าในเซลล์ A1 เปลี่ยนเป็น 15 จะทำให้ค่าในเซลล์ A3 เปลี่ยนแปลงตามหลักสูตรที่กำหนดไว้คือ 20 เป็นต้น แผ่นตารางทำการจึงเหมาะสำหรับงานคำนวณขนาดใหญ่โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องบันทึกข้อมูลหรือบันทึกสูตรใหม่หลาย ๆ ครั้ง คุณสมบัติของโปรแกรมแผ่นตารางทำการ คือ การคำนวณ การจัดทำแผนภูมิ และการจัดการข้อมูล 

โปรแกรมแผ่นตาราง
ตัวอย่างโปรแกรมแผ่นตารางทำการ เช่น Lotus 1-2-3, Lotus AmiPro, MS Excel ฯลฯ

 

      การคำนวณ หมายถึง คุณสมบัติในการสร้างสูตรคำนวณหรือรูปแบบการคำนวณที่กำหนดไว้ หรือเรียกว่า "ฟังก์ชัน" เพื่อคำนวณหาผลลัพธ์ที่ต้องการรวมทั้งสามารถสร้างกลุ่มคำสั่งที่เรียกว่า "มาโคร" เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามลำดับในกลุ่มคำสั่งนั้นได้ คุณสมบัติด้านการคำนวณนี้จะให้ผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงค่าของข้อมูลที่นำไปใช้ในสูตรหรือฟังก์ชันที่กำหนด 

     การจัดทำแผนภูมิ หมายถึง คุณสมบัติในการนำข้อมูลในเซลล์มาจัดทำแผนภูมิรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผนภูมิวงกลม แผนภูมิเส้น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิพื้นที่สองมิติ แผนภูมิสามมิติ เป็นต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในเซลล์ที่นำไปทำแผนภูมิก็จะส่งผลให้แผนภูมิที่สร้างขึ้นเปลี่ยนแปลงตามด้วยทันที 
      การจัดการข้อมูล หมายถึง คุณสมบัติในการกระทำเกี่ยวกับข้อมูลที่อยู่ในเซลล์แต่ละเซลล์ เช่น การจัดเรียงข้อมูล การค้นหาข้อมูล การแทนที่ข้อมูล เป็นต้น

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow