Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ถ้าคุณแน่อย่าแพ้ “วิทย์” ม.ต้น

Posted By Plook Magazine | 31 ก.ค. 58
2,070 Views

  Favorite

เรื่อง: กัลยาณี แนวเล็ก และ ศิรินภา จันทร์ลา  ภาพประกอบ: พลอยขวัญ สุทธารมณ์



ถ้าคุณแน่อย่าแพ้ “วิทย์” ม.ต้น

หากถามถึงช่วงเวลาที่เรียนวิทยาศาสตร์สนุกที่สุด บางคนก็ตอบว่า ม.ต้น บางคนก็ถามกลับว่ามีช่วงนั้นด้วยหรอ เย้ย! อย่างน้อยวิทยาศาสตร์ยังมีพาร์ทท่องจำแล้วรอด แต่รอดแล้วก็ส่งคืนอาจารย์ทันที แบบนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์คุณจะสู้เด็ก ม.ต้น ได้หรือไม่ เราขอท้า!

 

กติกาเอามันส์ เตรียมดินสอและกระดาษทด ตั้งเวลา 30 นาที สำหรับการทำข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.ต้น จำนวน 20 ข้อ ซึ่งเป็นแนวข้อสอบ O-NET ในปัจจุบัน (เท่ากับคุณมีเวลาข้อละ 1 นาทีครึ่ง ขณะที่เด็ก ม.ต้น ใช้เวลาข้อละ 2 นาที) แล้วมาวัดกันว่า คุณมีระดับความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากน้อยแค่ไหน

 

1. ส่วนประกอบใดของเซลล์ที่พบทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

            1. ผนังเซลล์                    2. นิวเคลียส

            3. คลอโรฟิลล์                 4. คลอโรพลาสต์

คำอธิบาย เซลล์ทุกเซลล์ต้องมีนิวเคลียส มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์และการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ในนิวเคลียสมีสารพันธุกรรมที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ อยู่บนโครโมโซมในนิวเคลียส นิวเคลียสของเซลล์ทั่ว ๆ ไปจะมีลักษณะเป็นก้อนค่อนข้างกลมมีเยื่อหุ้มเซลล์ ในลักษณะนี้เรียกว่า ยูคาริโอติกเซลล์ ส่วนสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แบคทีเรีย นิวเคลียสไม่มีเยื่อหุ้ม ดังนั้น DNA จึงกระจายอยู่ภายในไซโทพลาสซึม เซลล์ในลักษณะนี้เรียกว่า โปรคาริโอติกเซลล์

 

2. ข้อใดระบุตัวทำละลายละตัวละลายได้ถูกต้อง 

ข้อ

สารละลาย

ตัวทำละลาย

ตัวละลาย

1.

น้ำส้มสายชู

เอทานอล

กรดแอซีติก

2.

น้ำเกลือ

เกลือแกง

น้ำ

3.

น้ำเชื่อม

น้ำ

น้ำตาลทราย

4.

แอลกอฮอล์ล้างแผล

น้ำ

แอลกอฮอล์

คำอธิบาย เนื่องจาก

- น้ำส้มสายชู มีน้ำเป็นตัวทำละลาย และมีกรดแอซีติกเป็นตัวละลาย

- น้ำเกลือ มีน้ำเป็นตัวทำละลาย และมีเกลือแกงเป็นตัวละลาย

- น้ำเชื่อม มีน้ำเป็นตัวทำละลาย และมีน้ำตาลทรายเป็นตัวละลาย

- แอลกอฮอล์ล้างแผล มีแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย และมีน้ำเป็นตัวละลาย

 

3. อาการท้องผูกเกิดจากการทำงานผิดปกติของอวัยวะใด

            1.   กระเพาะอาหาร                      2.   ลำไส้เล็ก

            3.   ลำไส้ใหญ่                             4.   ทวารหนัก

คำอธิบาย อาหารที่เหลือจากการย่อยและอาหารที่ย่อยไม่ได้นั้นจะถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่ โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุกลับคืนสู่ร่างกาย ส่วนที่เป็นกากอาหารจะเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ปลายของลำไส้ใหญ่ เพื่อรอขับถ่ายออกทางทวารหนัก หากลำไส้ใหญ่ทำงานผิดปกติจะทำให้มีอาการท้องผูก

 

4. ดอกทานตะวันจะหันไปตามดวงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน เป็นผลมาจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใด

            1.   แสง                                     2.   ดวงอาทิตย์

            3.   อุณหภูมิ                               4.   แก๊สออกซิเจน

คำอธิบาย การที่ดอกทานตะวันหันไปทางดวงอาทิตตลอดทั้งวัน เป็นผลมาจากการตอบสนองต่อแสง

 

5. ข้อใดอธิบายเกี่ยวกับหยาดน้ำฟ้าได้ถูกต้องที่สุด

1. หมอกจัดเป็นหยาดน้ำฟ้าชนิดหนึ่ง

2. ลูกเห็บจัดเป็นหยาดน้ำฟ้า ส่วนหิมะไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า

3. ฝนและน้ำค้างจัดเป็นหยาดน้ำฟ้าที่มีสถานะเป็นของเหลวเหมือนกัน

4. หยาดน้ำฟ้าเป็นไอน้ำในบรรยากาศที่เกิดการควบแน่นแล้วตกลงมาสู่พื้นโลก

คำอธิบาย หยาดน้ำฟ้า คือ ไอน้ำในบรรยากาศที่ควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำหรือน้ำแข็งแล้วตกลงมาสู่พื้นโลก ได้แก่ ฝน ลูกเห็บ และหิมะ ส่วนหมอก น้ำค้าง และน้ำค้างแข็ง ไม่ได้ตกลงมาจากฟ้า จึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า

 

6. การที่เหงือกของปลามีลักษณะเป็นซี่เล็กๆ มีผลต่อระบบหายใจอย่างไร

1. ช่วยให้น้ำซึมผ่านได้ดี

2. ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส

3. ช่วยให้ดูดซึมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี

4. ช่วยให้ปลาไม่ต้องขึ้นมาหายใจเหนือน้ำบ่อยๆ

คำอธิบาย เนื่องจากแก๊สออกซิเจนในน้ามีปริมาณน้อยกว่าในอากาศ การที่เหงือกของปลามีลักษณะเป็นซี่เล็กๆ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างน้ากับเซลล์ของเหงือก

 

7. ม้าและม้าลายมีจำนวนโครโมโซมเป็น 64 แท่ง และ 44 แท่งตามลำดับ ลูกผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างม้ากับม้าลาย จะมีจำนวนโครโมโซมของเซลล์ร่างกายเป็นกี่แท่ง

1. 44 แท่ง          2. 54 แท่ง          3. 64 แท่ง          4. 108 แท่ง

คำอธิบาย ม้า แบ่งแบบไมโอซิส ทำให้โครโมโซม ลดลงจาก 64 แท่ง เหลือ 32 แท่ง

ม้าลาย แบ่งแบบไมโอซิส ทำให้โครโมโซม ลดลงจาก 44 แท่ง เหลือ 22 แท่ง

ดังนั้น ลูกผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างม้ากับม้าลาย จะมีจำนวนโครโมโซมของเซลล์ร่างกาย 32+22 = 54 แท่ง

 

8. ในการจำแนกประเภทของสารเป็น สารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอย ควรพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ในข้อใด

1. สี                  2. ความขุ่น         3. ขนาดอนุภาค       4. องค์ประกอบ

คำอธิบาย สารละลาย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาค น้อยกว่า 10-7 เซนติเมตร

คอลลอยด์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาค 10-7 – 10-4 เซนติเมตร

สารแขวนลอย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาค มากกว่า 10-4 เซนติเมตร

 

9. จงพิจารณาภาพต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

ข้อใดคือรังสีตกกระทบ

            1. OP                2. AO                3. BO                4. AB

คำอธิบาย รังสีตกกระทบ คือ รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาพื้นผิวของวัตถุ จากภาพจะสังเกตรังสีที่พุ่งเข้าหาพื้นผิวของวัตถุได้จากลูกศรที่เขียนกากับไว้ ซึ่งรังสีตกกระทบ คือ รังสี AO

 

10. นาย ก ออกแรง 50 นิวตัน เข็นรถให้เคลื่อนที่เป็นระยะทาง 1 เมตร จงหางานที่นาย ก ใช้ในการเข็นรถ

            1.   20 นิวตันเมตร                                    2.   30 นิวตันเมตร

            3.   40 นิวตันเมตร                                    4.   50 นิวตันเมตร

คำอธิบาย จาก W = F x S

= 50 N x 1 m

= 50 Nm

 

11. “หนอน นก หญ้า งูพบในระบบนิเวศแห่งหนึ่ง จะเขียนความสัมพันธ์ในรูปโซ่อาหารได้อย่างไร

           1. หญ้า → หนอน  งู → นก

 

           2. หญ้า  หนอน  นก → งู

 

           3. หญ้า   นก  หนอน → งู

 

           4. หญ้า  งู  นก → หนอน

 

คำอธิบาย โซ่อาหาร เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่มีการกินต่อกันเป็นทอด ๆ และมักเริ่มต้นด้วยผู้ผลิตเสมอ ซึ่งการเขียนโซ่อาหารนิยมให้ผู้ถูกกินหรือเหยื่ออยู่ทางซ้ายมือและผู้กินหรือผู้ล่าอยู่ทางขวามือ โดยมีลูกศรอยู่ระหว่างผู้ล่าและเหยื่อ ส่วนหัวลูกศรจะชี้ไปทางผู้กินหรือผู้ล่าเสมอ

 

12. การสะท้อนกลับหมดจะสามารถเกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางตามข้อใด

            1. จากน้ำไปแก้ว                          2. จากแก้วไปน้ำ

            3. จากอากาศไปน้ำ                       4. จากอากาศไปแก้ว

คำอธิบาย การสะท้อนกลับหมดจะเกิดจากการที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ซึ่งจากตัวกลางที่กำหนดให้นั้น ดัชนีหักเหของแก้วมีค่ามากที่สุด รองลงมาเป็น น้ำ และอากาศตามลำดับ

 

13. การแยกสารบริสุทธิ์ด้วยวิธีโครมาโทกราฟีอาศัยหลักการใด

1. ความแตกต่างของการถูกดูดซับ

2. ความแตกต่างของสารในการละลาย

3. ความแตกต่างของสารที่ใช้เป็นตัวทำละลาย

4. ความแตกต่างของสารในการละลายและการถูกดูดซับ

คำอธิบาย การแยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟี อาศัยความสามารถของสารในการละลาย และความสามารถในการถูกดูดซับบนตัวดูดซับ ซึ่งหากสารใดละลายได้ดี และถูกดูดซับได้น้อย จะสามารถเคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้มาก

 

14. การใช้กล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาเซลล์ การดูภาพครั้งแรกควรใช้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายเท่าใด

            1. 10X               2. 20X               3. 40X               4. 100X

คำอธิบาย การใช้กล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาเซลล์ ในการดูภาพครั้งแรกต้องใช้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดก่อน ซึ่งเมื่อเห็นภาพแล้วจึงค่อยๆ ปรับให้มีกำลังขยายสูงขึ้น

 

15. แฝดอิน จัน แฝดสยามคู่แรกของโลก เป็นการเกิดแฝดในกรณีใด

1. แฝดร่วมไข่

2. แฝดต่างไข่

3. อาจเป็นแฝดต่างไข่ หรือแฝดร่วมไข่

4. เป็นแฝดที่เกิดจากวิธีการทางการแพทย์

คำอธิบาย แฝดอิน-จัน เกิดจากแฝดร่วมไข่ ซึ่งการที่มีบางส่วนในร่างกานติดกันอยู่ เนื่องจากเมื่อไข่ได้รับการผสมแล้วเกิดการแบ่งเซลล์จาก 1 เป็น 2 เซลล์ โดยเซลล์ทั้งสองแยกตัวจากกันไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ตัวอ่อนที่เจริญเติบโตนั้นมีบางส่วนในร่างกายติดกันอยู่

 

16. สิ่งมีชีวิตในข้อใดแสดงบทบาทต่างจากสิ่งมีชีวิตในข้ออื่น

            1. ชวนชม                       2. มอส                                     

            3. เห็ดนางฟ้า                  4. สาหร่ายหางกระรอก

คำอธิบาย ทั้งมอส ชวนชม และสาหร่ายหางกระรอกเป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ ส่วนเห็ดนางฟ้าเป็นผู้ย่อยสลาย

 

17. “ไลเคนเป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กันแบบใด

            1. ภาวะอิงอาศัย                           2. ภาวะพึ่งพากัน

            3. ภาวะแข่งขัน                            4. ภาวะล่าเหยื่อ

คำอธิบาย ไลเคนเป็นการอยู่ร่วมกันของรากับสาหร่าย โดยราได้อาหารจากที่สาหร่ายสร้างขึ้น ส่วนสาหร่ายได้ความชื้นจากราเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบภาวะพึ่งพากัน

 

18. คนที่ใส่แว่นสายตายาว จะเห็นภาพของวัตถุมีขนาดเล็กกว่าวัตถุจริงในกรณีใด

            1. วัตถุอยู่ห่างจากแว่นสายตาน้อยกว่าความยาวโฟกัส

            2. วัตถุอยู่ห่างจากแว่นสายตามากกว่า 2 เท่าของความยาวโฟกัส

            3. วัตถุอยู่ห่างจากแว่นสายตาในระยะมากกว่าจุดศูนย์กลางความโค้ง

            4. วัตถุอยู่ห่างจากแว่นสายตาน้อยกว่า 2 เท่าของความยาวโฟกัส แต่มากกว่าความยาวโฟกัส

คำอธิบาย เนื่องจากแว่นสายตายาวทำมาจากเลนส์นูน ซึ่งกรณีที่จะทำให้มองเห็นวัตถุมีขนาดเล็กกว่าความจริง วัตถุนั้นจะต้องอยู่ไกลกว่าตำแหน่งของจุดศูนย์กลางความโค้ง (จุด C) ดังภาพ

 

19. การเคลื่อนที่ของสารในข้อใดถูกต้อง 

ข้อ

กระบวนการแพร่

กระบวนกาออสโมซิส

1.

การเคลื่อนที่ของน้ำเข้าสู่เซลล์ขนราก

การกระจายของน้ำหอมในอากาศ

2.

การกระจายของน้ำหอมในอากาศ

การเคลื่อนที่ของน้ำเข้าสู่เซลล์ขนราก

3.

การละลายของน้ำตาลในน้ำ

การเคลื่อนที่ของแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์ขนราก

4.

การเคลื่อนที่ของแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์ขนราก

การละลายของน้ำตาลในน้ำ

คำอธิบาย การกระจายของน้ำหอมในอากาศ การละลายของน้ำตาลในน้ำ และการเคลื่อนที่ของแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์ขนราก เป็นกระบวนการแพร่ เพราะโมเลกุลของสารเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อย ส่วนการเคลื่อนที่ของน้ำข้าสู่เซลล์ขนราก เป็นกระบวนการออสโมซิส เพราะน้ำเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีโมเลกุลของน้ำมากไปยังบริเวณที่มีโมเลกุลของน้ำน้อย


20. เทคโนโลยีชีวภาพมีประโยชน์อย่างไร

1. ช่วยประหยัดต้นทุนการผลิตสัตว์

2. สามารถทำได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ

3. ลดระยะเวลาในการเจริญเติบโตของสัตว์

4. ช่วยทำให้ได้สัตว์สายพันธุ์ตามต้องการ

คำอธิบาย เทคโนโลยีชีวภาพทำให้สามารถขยายพันธุ์สัตว์ได้อย่างรวดเร็ว ได้สัตว์ที่มีคุณสมบัติตรงตามต้องการ แต่ยังมีข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายมาก และต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ (อจท.)

 


เฉลยคำตอบ

1. = 2)              2. =3)               3. =3)               4. =1)               5. = 4)

6. =2)               7. =2)               8. =3)               9. =2)               10. =3)

11. =2)             12. =2)             13. =4)             14. =1)             15. =1)

16. =3)             17. =2)             18. =3)             19. =2)             20. =4)

 

ทดสอบความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ฉบับ O-NET)

18-20 คะแนน : “โคตรเทพวิทย์ ม.ต้น”
ความรู้วิทยาศาสตร์ยังแน่นปึ้ก ทฤษฎีก็แม่น คำนวณก็ยังได้ แสดงว่าคุณหลงใหลในด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก ทำให้คุณเป็นคนมีเหตุ มีผล เชื่อในสิ่งที่พิสูจน์ได้

15-18 คะแนน : “เน้นท่องจำ ไม่เน้นคำนวณป่ะ”
คุณอาจจะยังไม่แม่นพอ 100% ต้องกลับไปทบทวนด้านทฤษฎี รื้อฟื้นสูตรต่าง ๆ ด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมอีกหน่อย เช่น สูตรหางาน การคำนวณโครโมโซม

11-14 คะแนน : “ตั้งใจอีกนิดนะ”
ปัญหาของคุณคือเวลาที่น้อยเกินไปและขีดความอดทนต่ำ กดดันให้อ่านโจทย์ไม่แตกหรือคำนวณผิดพลาด ลองตั้งสติให้ดีค่อย ๆ อ่านโจทย์ ตัดข้อที่คิดว่าไม่ใช่ทิ้งไปก่อน ฝึกใช้สูตรต่าง ๆ ให้แม่นอีกนิด

น้อยกว่า 10 คะแนน : “คุณคือจุดอ่อน”
ถ้าถึงขนาดต่อเวลาให้แล้วก็ยังทำข้อสอบได้ไม่ถึงครึ่ง พูดเลยว่าชักไม่ไหว!
ลองมองเรื่องใกล้ตัวแล้วโยงเข้ากับวิทยาศาสตร์ดูสิเพื่อให้สมองได้ออกกำลังบ้าง


ฟิตซ้อมทำโจทย์วิทยาศาสตร์เตรียมสอบทุกสนามได้ที่
www.trueplookpanya.com/plook/the_story_56 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow