Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

พี่น้องลูมิแอร์คิดค้นกล้องถ่ายและฉายภาพยนตร์ในตัวเดียวกันได้สำเร็จ

Posted By Plookpedia | 10 มี.ค. 60
20,879 Views

  Favorite

10 มีนาคม 2438 (ค.ศ. 1895)
พี่น้องลูมิแอร์คิดค้นกล้องถ่ายและฉายภาพยนตร์ในตัวเดียวกันได้สำเร็จ

พี่น้องตระกูลลูมิแอร์ "ออกุส" และ "หลุยส์" ชาวฝรั่งเศส (Auguste Lumiere-Louis Lumiere) ได้ออกแบบกล้อง "ซิเนมาโตกราฟ" (Cinematographe) ที่เป็นทั้งกล้องถ่ายและเครื่องฉายภาพยนตร์ได้ วันนั้นนับเป็นครั้งแรกที่ทั้งคู่ทดลองนำภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกได้จากกล้องซิเนมาโตกราฟ มาฉายเป็นหนังทดลองลงบนจอภาพขนาดใหญ่ได้สำเร็จ และทำให้ความหมายของคำว่าภาพยนตร์สมบูรณ์

 

http://www.institut-lumiere.org/musee/les-freres-lumiere-et-leurs-inventions/breve-histoire.html
ออกุส ลูมิแอร์ (Auguste Lumiere)
จาก, http://www.institut-lumiere.org/musee/les-freres-lumiere-et-leurs-inventions/breve-histoire.html
http://www.institut-lumiere.org/musee/les-freres-lumiere-et-leurs-inventions/breve-histoire.html
หลุยส์ ลูมิแอร์ (Louis Lumiere)
จาก, http://www.institut-lumiere.org/musee/les-freres-lumiere-et-leurs-inventions/breve-histoire.html

 

กล้อง "ซิเนมาโตกราฟ" (Cinematographe) 

กล้อง "ซิเนมาโตกราฟ" (Cinematographe) ถูกดัดแปลงมาจากกล้อง "คีเนโตกราฟ" (Kinetograph) ที่ใช้ฟิล์มแผ่นพลาสติกเซลลูลอยด์ และเครื่องฉายภาพ "คีเนโตสโคป" (Kinetoscope) ที่เป็นตู้รับชมภาพยนตร์ด้วยวิธีการส่องดูทีละคน ในลักษณะการถ้ำมอง 

www.victorian-cinema.net/kinetographdebedts.jpg
กล้อง "คีเนโตกราฟ" (Kinetograph) จาก, www.victorian-cinema.net/kinetographdebedts.jpg


 

www.victorian-cinema.net/kinetoscope2.jpg
วิธีรับชมภาพยนตร์จากเครื่องฉายภาพ "คีเนโตสโคป" (Kinetoscope)
จาก, www.victorian-cinema.net/kinetoscope2.jpg
www.victorian-cinema.net/kinetoscope3.jpg
อุปกรณ์ภายในของเครื่องฉายภาพ "คีเนโตสโคป (Kinetoscope)"
จาก, www.victorian-cinema.net/kinetoscope3.jpg



 

สองพี่น้องลูมิแอร์ได้คิดค้นหลักการทำงานแบบใหม่ขึ้นในกล้องซิเนมาโตกราฟ โดยใช้เครื่องกลแบบเดียวกับที่ใช้ในจักรเย็บผ้า เพื่อที่จะช่วยเลื่อนฟิล์มไปข้างหน้าได้ หรือที่เรียกว่า "กวัก" อันเป็นกลไกสำคัญที่ยังคงใช้อยู่ในกล้องถ่ายภาพและเครื่องฉายภาพยนตร์ในปัจจุบัน ความพิเศษของกล้องตัวนี้นอกจากจะมีน้ำหนักเบา สามารถนำไปใช้ถ่ายทำภาพยนตร์นอกสถานที่ได้โดยสะดวกแล้ว ยังสามารถใช้ฉายภาพยนตร์ขึ้นจอขนาดใหญ่ได้อีกด้วย
 

http://www.institut-lumiere.org/musee/les-freres-lumiere-et-leurs-inventions/cinematographe.html
กล้องซิเนมาโตกราฟ (Cinematographe) ของพี่น้องลูมิแอร์ จาก, http://www.institut-lumiere.org/musee/les-freres-lumiere-et-leurs-inventions/cinematographe.html


 

http://www.victorian-cinema.net/cinematographe2.jpg
กล้องซิเนมาโตกราฟ (Cinematographe) ของพี่น้องลูมิแอร์ จาก, http://www.victorian-cinema.net/cinematographe2.jpg


 

,  http://www.victorian-cinema.net/cinematographe1.jpg
เมื่อนำกล้องซิเนมาโตกราฟ (Cinematographe) มาใช้เป็นเครื่องฉายภาพยนตร์ จาก , http://www.victorian-cinema.net/cinematographe1.jpg


 

ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำโดยกล้อง "ซิเนมาโตกราฟ" (Cinematographe) 

La Sortie des ouvriers de I’ usine Lumiere (คนงานออกจากโรงงานลูมิแอร์) เป็นภาพยนตร์อย่างเป็นทางการเรื่องแรกที่พี่น้องลูมิแอร์ถ่ายทำขึ้น โดยแสดงให้เห็นถึงภาพการใช้ชีวิตประจำวันของคนงานในขณะกำลังเดินออกจากโรงงานอันดูเป็นธรรมชาติ ไม่มีการปรุงแต่งหรือนักแสดงแต่อย่างใด พี่น้องลูมิแอร์จึงจัดได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี ภาพยนตร์ของทั้งคู่ออกฉายแก่สาธารณชนและเก็บค่าเช้าชมเป็นครั้งแรก ณ ห้องใต้ถุนของร้าน Grand Cafe ในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) จึงถือว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นของกิจการธุรกิจภาพยนตร์อย่างแท้จริง 
 

http://precinemahistory.net/1895.htm
 La Sortie des ouvriers de I’ usine Lumiere ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำโดยกล้อง "ซิเนมาโตกราฟ" (Cinematographe)
จาก, http://precinemahistory.net/1895.htm


 

 La Sortie des ouvriers de I’ usine Lumiere ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำโดยกล้อง "ซิเนมาโตกราฟ" (Cinematographe)
จาก, https://www.youtube.com/watch?v=xxLGDF_121U

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow