Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เช็คอาการไข้หวัดใหญ่และวิธีการป้องกันโรค

Posted By Plook Creator | 01 มี.ค. 60
4,834 Views

  Favorite

"โรคไข้หวัดใหญ่" เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบบ่อยตลอดทั้งปี เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ส่วนมากพบผู้ป่วยในฤดูฝน ฤดูหนาว และช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ไข้หวัดใหญ่มักมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 
ภาพ : Pixabay

 

สาเหตุหลัก "ไข้หวัดใหญ่" เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา มีอยู่ 3 ชนิด คือ ชนิดเอ บี และซี เชื้อไวรัสชนิดเอและบี มักก่อให้เกิดโรคในคน และมีหลายสายพันธุ์ เช่น ไวรัสไข้หวัดนก ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เป็นต้น
 

การแพร่กระจายและติดต่อ

1. เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยสามารถแพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ โดยการไอจามรดกันหรือหายใจเอาละอองน้ำลายเข้าไป โดยเฉพาะหากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร จะมีโอกาสรับเชื้อมากขึ้น

2. ผู้ป่วยบางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู เป็นต้น

3. เชื้อไข้หวัดใหญ่สามารถเข้าสู้ร่างกายได้ทางจมูก ปาก หรือตา

ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วยจนถึง 7 วัน หลังมีอาการ
 

อาการ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการป่วยใน 1-2 วันหลังได้รับเชื้อ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนหรือท้องเสียร่วมด้วย  โดยทั่วไปอาการป่วยจะดีขึ้นภายใน 3-4 วัน และหายเป็นปกติใน 1-2 สัปดาห์
 

การดูแลตนเอง

ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ และยังรับประทานอาหารได้ดี อาจไปพบแพทย์หรือเภสัชกรและสามารถดูแลตนเองได้ดังนี้

รับประทานยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาพาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ     

เช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำที่ไม่เย็นจัด      

ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ   

งดดื่มน้ำเย็น  

รับประทานอาหารอ่อนและอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากเพียงพอ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้

นอนผักผ่อนให้มาก ๆ ในห้องที่มีการถ่ายเทอากาศดี
 

ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อทุกราย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา ยกเว้นผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนซึ้งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

 

การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

เมื่อมีอาการป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัยเวลาเพื่อป้องกันการแพร่เชื่อ

เวลาไอ หรือจาม ควรใช้กระดาษทิชชูปิดปากและจมูกแล้วทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิด

ล้างมือบ่อย ๆ ก่อนรับประทานอาหาร หลังไอ จาม หรือสั่งน้ำมูก

หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการไอ จาม หรือมีไขตัวร้อน

หลีกเหลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่

เมื่อป่วยควรหยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้หายป่วยเร็ว และไม่แพร่

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เสียงป่วยรุนแรง ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

 

ผู้ที่เสี่ยงป่วยรุนแรง

หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 7 เดือนขึ้นไป

ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด หัวใจ โรคไต เบาหวาน โรคเลือด มะเร็ง เอดส์ ฯลฯ

ผู้พิการทางสมอง

คนอ้วนมาก (น้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป)

เด็กเล็กอายุถึง 2 เดือน – 2 ปี

ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป

 

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่คืออะไร

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ผลิตจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ตายแล้ว นำมาฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่ายกายสร้างภูมิคุ้มกันการเจ็บป่วยจากเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ที่แพร่ติดต่อจากคนสู่คน

ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับวัคซีน และป้องกันได้นานประมาณ 1 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะได้รับวัคซีนแล้วก็ยังอาจจะป่วยเป็นโรคนี้ได้ แต่จะมีอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน

 

โรคลมแดด  heat stroke

สาเหตุ  : เกิดจากที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป  เกิดการสูญเสียน้ำ ทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ทันจนทำให้เกิดความร้อนในร่างกาย  สูงกว่า 50  องศา เซลเซียส

อาการสำคัญ :  ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วงเวียนศีรษะ  มึนงง คลื่นไส้  หายใจเร็ว  อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่ว ๆ ไป  ที่จะพบวามีเหงื่อออกด้วย  หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที

 

วิธีป้องกันโรคลมแดด

1. ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว  ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด และหากต้องอยู่ท่ามกลางอากาศร้อน หรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อน  ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม  และแม้ว่าจะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว  

2. สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา  น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี

3. ใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 15 ขึ้นไป    

4. หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด  

5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์    

6. สำหรับเด็กเล็ก  คนชราและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด รับประทานอาหารและน้ำอย่างพอเพียงและจัดให้อยู่ในห้องที่อากาศระบายได้ดี

 

ภาพ : สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร



ขอบคุณภาพปก : Pixabay

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 0 Followers
  • Follow