Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day)

Posted By Plook Panya | 02 มิ.ย. 59
2,010 Views

  Favorite

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day)

ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่าง ๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด   
 

     การประชุมสหประชาชาติที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2515 ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมมนุษย์ ได้จัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNITED NATION ENVIRONMENT PROGRAMME) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า UNEP ขึ้น และกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) เพื่อให้เกิดความตื่นตัว และตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมมือแก้ไขวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลก อันเกิดจากความร่วมมือแก้ไขปัญหาจากหลายประเทศ
     
     ปัจจุบันโลกประกอบด้วยประชากรมนุษย์ประมาณ 7,300 ล้านคน (พ.ศ.2558) ซึ่งจากการศึกษาสถิติการคาดการณ์จำนวนประชากรโลกในแต่ละปี แสดงให้เห็นว่าจำนวนประชากรมนุษย์จะยังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ก่อให้เกิด
ความต้องการปัจจัยพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสนองความต้องการของมนุษย์มีทั้งที่มีอยู่ทั่วไป มีจำนวนลดลง หรือบางอย่างอาจสูญสลายหมดไปจากการตักตวงใช้ประโยชน์ของมนุษย์อย่างไม่เห็นคุณค่า อีกทั้งยังทำลายทรัพยากรธรรมชาติจนเสื่อมโทรม ทำให้เกิดวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมตามมา โดยเฉพาะปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลกมากจนเกินสมดุลธรรมชาติ ทำให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังพื้นโลกไม่สามารถระบายออกสู่บรรยากาศชั้นนอกของโลกได้ จึงเกิด ภาวะเรือนกระจก ที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต เช่น การละลายของภูเขาน้ำแข็งและธารน้ำแข็ง การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและมหาสมุทร ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ การเกิดพายุและภัยธรรมชาติที่รุนแรงและบ่อยครั้ง เป็นต้น นับว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชากรโลกและระบบนิเวศอย่างกว้างขวาง
 

ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่าง ๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด   
 

     เมื่อไม่นานมานี้ได้มีผลสรุปการวิจัยใหม่ถูกเปิดเผยออกมา ซึ่งเนื้อหาภายในแสดงให้เห็นถึงสัญญาณเตือนภัยอันตรายที่น่าวิตกอย่างยิ่งสำหรับโลก ระบุไว้ว่าภายในระยะเวลาอีกไม่เกิน 100 ปีหลังจากนี้ หลายต่อหลายเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณชายฝั่ง และเกาะต่าง ๆ อาจจมลงสู่ใต้ท้องทะเลและกลายเป็นเพียงแค่ความทรงจำเท่านั้น ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ จากกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่ได้ทำการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ
ส่งผลให้สภาพแวดล้อมรวมถึงระบบภูมิอากาศของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับ
อีกปัจจัยหนึ่ง
ที่สำคัญ คือ

การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังเช่น หมู่เกาะโซโลมอนในประเทศออสเตรเลีย ที่มีหลักฐาน
ยืนยันผ่านทางภาพถ่ายจากดาวเทียม ได้ระบุถึงความเสี่ยงที่หมู่เกาะโซโลมอนจำนวนกว่า 
5 เกาะ อาจจมลงสู่ใต้ท้องทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกในอีกไม่ช้านี้ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดขึ้นคือ การเกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศโลก

     ทั้งนี้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา เฉลี่ยแล้วทั่วโลกมีอุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นถึง 1.8 องศาฟาเรนไฮต์ และจากการคาดการณ์ระดับน้ำในมหาสมุทรจะเพิ่มขึ้นถึง 3 ฟุต ในระยะเวลา 100 - 200 ปีต่อจากนี้ อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และการร่วมมือร่วมพลังเร่งหาหนทางแก้ไขปัญหาของทุกประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการช่วยให้โลกรอดพ้นจากวิกฤตการณ์นี้ ซึ่งจุดเล็ก ๆ ของการแก้ไขปัญหาอาจเริ่มต้นได้ที่ตัวเราจากการช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้ ดังนี้

     1. สร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ด้วยการให้ข้อมูลแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ถึงปัญหาและ
ผลกระทบของสิ่งที่มนุษย์ทำกับสิ่งแวดล้อม สร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงเสริมสร้างให้สถาบัน
และคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม

     2. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือการใช้อย่างประหยัดด้วยการใช้ทรัพยากรเท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

     3. การบูรณะซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้ไปเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการซ่อมแซม
โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อให้เกิดความสิ้นเปลืองจะทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก

     4. การใช้สิ่งอื่นทดแทน การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทน
แร่เชื้อเพลิง ฯลฯ เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

 

ที่มา : http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=54&cno=8758
         
http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=54&cno=8669
         https://th.wikipedia.org/wiki/ประชากรโลก

 

ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่าง ๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Panya
  • 7 Followers
  • Follow