คือ ภาษาเฉพาะที่ใช้พูดกันในวงการดนตรีไทยซึ่งเป็นที่รู้กันว่าหมายความถึงอะไรหรือให้ปฏิบัติอย่างไรจะนำมาอธิบายเฉพาะคำที่มีกล่าวไว้ในบทข้างต้นดังต่อไปนี้
๑. เป็นวิธีบรรเลงของเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) อย่างหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีตี ๒ มือ สลับกันถี่ ๆ โดยใช้มือซ้ายกับมือขวาตีมือละเสียงเป็นคู่ ๒ คู่ ๓ คู่ ๔ คู่ ๕ คู่ ๖ และคู่ ๘
๒. เป็นคำเรียกการดำเนินทำนองเพลงที่ใช้เสียงยาว ๆ ช้า ๆ เพลงที่ดำเนินทำนองอย่างนี้เรียกว่า "ทางกรอ" ที่เรียกอย่างนี้ก็ด้วยทำนองที่มีเสียงยาว ๆ นั้นเครื่องดนตรีประเภทตีต้องตีกรอ (ดังข้อ ๑) เพราะไม่สามารถจะทำเสียงยาวอย่างพวกเครื่องสีเครื่องเป่าได้
ได้แก่ การบรรเลงที่สอดแทรกเสียงให้มีพยางค์ถี่ขึ้นกว่าเนื้อเพลงธรรมดา เช่น เนื้อเพลงเดินทำนองห่าง ๆ ได้ ๔ พยางค์ การเก็บก็จะแทรกแซงถี่ขึ้นเป็น ๑๖ พยางค์ ซึ่งมีความยาวเท่ากัน (ดูโน๊ตเปรียบเทียบกับเนื้อเพลงที่คำว่าเนื้อ)
หมายถึง ๒ เสียงและเสียงทั้งสองนี้จะบรรเลงพร้อมกันก็ได้หรือคนละทีก็ได้เสียงทั้งสองห่างกันเท่าใดก็เรียกว่าคู่เท่านั้นแต่การนับจะต้องนับเสียงที่ดังทั้งสองรวมอยู่ด้วยกัน เช่น เสียงหนึ่งอยู่ที่อักษร บ อีกเสียงหนึ่งอยู่ที่อักษร พ การนับก็ต้องนับ บ เป็น ๑ แล้ว ป เป็น ๒ ๓ผ ๔ฝ และ ๕พ คู่เช่นนี้ ก็เรียกว่า "คู่ ๕"
จังหวะหมายถึง การแบ่งส่วนย่อยของทำนองเพลงซึ่งดำเนินไปโดยสม่ำเสมอทุก ๆ ระยะที่แบ่งนี้ คือ จังหวะ
|
เถาคือเพลงที่เป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันตามลำดับเช่น ๓ ชั้น ๒ ชั้น และชั้นเดียว อัตราที่ลดหลั่นกันนี้ต้องไม่น้อยกว่า ๓ อันดับ และต้องร้องหรือ บรรเลงติดต่อกัน โดยไม่เว้นระยะหรือมีเพลงอื่นมาแทรก เหมือนชามรูปเดียว กัน ๓ ขนาด มีใหญ่ กลาง และเล็ก นำมาซ้อนกัน หรือวางเรียงกัน ก็เรียกว่า เถา หรือ ๓ ใบเถา ![]()
ทางคำนี้มีความหมายแยกได้เป็น ๓ ประการคือ ๑. หมายถึงวิธีดำเนินทำนองโดยเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด เช่น ทางระนาดเอก ทางระนาดทุ้ม ทางซอด้วง ทางจะเข้ซึ่งแต่ละชนิดก็มีวิธีดำเนินทำนองของตนต่าง ๆ กัน (ดูโน๊ตเปรียบเทียบกับเนื้อเพลงที่คำว่าเนื้อ) ![]()
ทำนองได้แก่ เสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ซึ่งสลับสับสนกันและมีความสั้น ยาว หนัก เบา ต่าง ๆ แล้วแต่ความประสงค์ของผู้แต่ง
เนื้อคำนี้แยกความหมายออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ ๑. หมายถึง บทประพันธ์ที่เป็นถ้อยคำสำหรับร้องซึ่งเรียกเต็ม ๆ ให้ได้ความหมายชัดเจนขึ้นว่า "เนื้อร้อง"
เพี้ยนได้แก่ เสียงที่ไม่ตรงกับระดับที่ถูกต้องเพี้ยนก็คือผิดแต่เป็นการผิดเพียงเล็กน้อยไม่ว่าเสียงร้องหรือเสียงดนตรีถ้าหากว่าไม่ตรงกับระดับเสียงที่ถูกต้องแล้วไม่ว่าจะสูงไปหรือต่ำไปแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็เรียกว่า "เพี้ยน" ทั้งสิ้น ![]()
ลูกล้อลูกขัดเป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น ๒ พวก และผลัดกันบรรเลงคนละทีพวกหนึ่งบรรเลงก่อนเรียกว่า พวกหน้า อีกพวกหนึ่งบรรเลงที่หลังเรียกว่าพวกหลัง ทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้จะเป็นวรรค สั้น ๆ หรือยาว ๆ ก็ได้ แต่ถ้าเมื่อพวกหน้าบรรเลงไปแล้วเป็นทำนองอย่างใดพวกหลังก็บรรเลงเป็นทำนองอย่างเดียวกันเหมือนการพูดล้อเลียนตามกันก็ เรียกว่า "ลูกล้อ" ถ้าหากเมื่อพวกหน้าบรรเลงไปเป็นทำนองอย่างหนึ่งแล้วพวกหลังแยกทำนองบรรเลงไปเสียอีกอย่างหนึ่ง (ไม่เหมือนพวกหน้า) เหมือนพูดขัดกันก็เรียก "ลูกขัด" ถ้าเพลงใด มีบรรเลงทั้ง ๒ อย่างก็เรียกว่า "ลูกล้อลูกขัด" |