Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เปิด "ตลาดนางเลิ้ง" ตลาดบกแห่งแรกของไทย

Posted By Plook Panya | 29 มี.ค. 60
8,440 Views

  Favorite

วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900)
เปิด "ตลาดนางเลิ้ง" ตลาดบกแห่งแรกของไทย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด "ตลาดนางเลิ้ง" ขึ้นเป็นตลาดบกเเห่งเเรกของไทย ตั้งอยู่ ณ ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต หรือย่านนางเลิ้งนั่นเอง แต่เดิมทีผู้คนเรียกย่านนี้ว่า “บ้านสนามควาย” ก่อนจะเปลี่ยนมาเรียกว่า “อีเลิ้ง” ตามชื่อภาชนะใสน้ำของชาวมอญ ที่นิยมใสเรือลองมาจอดขายที่ยานนี้  กระทั่งในยุค "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" ได้ถูกเปลี่ยนมาเรียกว่า “นางเลิ้ง” เพื่อให้ฟังดูสุภาพ

ตลาดนางเลิ้งเป็นเเหล่งขายอาหารและขนมโบราณที่ขึ้นชื่อ นอกจากนี้ที่ตลาดแห่งนี้ยังมีโรงภาพยนตร์ "ศาลาเฉลิมธานี" ที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เพื่อเป็นสถานที่บันเทิงแก่ประชาชนในอดีตอีกด้วย (ปัจจุบันปิดกิจการไปแล้ว)

 

http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5071
หญิงชาวสยามกับตุ่มอีเลิ้งของชาวมอญ จาก, http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5071

 

 

ความเป็นมาของตลาดบกแห่งแรก

•หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุด "คลองผดุงกรุงเกษม" หรือที่ราษฎรนิยมเรียกว่าคลองขุดขึ้น เพื่อขยายอาณาเขตของราชธานี เมื่อ พ.ศ. 2394 ความเจริญก็ได้เริ่มเข้าสู่ย่านนางเลิ้งเป็นลำดับ ชาวบ้านจึงนิยมสร้างบ้านเรือน เพาะปลูก ทำสวนบริเวณ 2 ฝั่งคลองที่ขุดใหม่นี้มากขึ้น รวมทั้งในย่านนางเลิ้งด้วย ในสมัยนั้นชาวบางกอกนิยมเดินทางทางน้ำ จึงยังไม่มีตลาดบกตั้งเป็นหลักแหล่ง เพราะชาวบ้านนิยมพายเรือนำของสวนมาขายตามสองฝั่งคลอง

 

http://decade1.ird.rmutp.ac.th/old/files_upload/nangloeg.pdf
การสัญจรคาขายทางเรือที่นางเลิ้ง จาก, http://decade1.ird.rmutp.ac.th/old/files_upload/nangloeg.pdf

 

 

•ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตัดถนนขึ้นหลายสายผ่านย่านนางเลิ้ง ประกอบกับทรงบูรณะถนนกรุงเกษมเดิม ทำให้การเดินทางมานางเลิ้งสะดวกขึ้น นับแต่นั้นมาเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงนิยมมาสร้างวังและสร้างบ้านตามแนวคลองผดุงกรุงเกษม และในบริเวณนางเลิ้งมากขึ้น และได้มีการวางเส้นทางการเดินรถรางผ่านย่านนางเลิ้งในเวลาต่อมา

 

http://decade1.ird.rmutp.ac.th/old/files_upload/nangloeg.pdf
การสัญจรด้วยรถม้า และรถรางที่นางเลิ้ง จาก, http://decade1.ird.rmutp.ac.th/old/files_upload/nangloeg.pdf

 

 

•เมื่อชุมชนเมืองขยายตัวออกมานอกกำแพงพระนคร ย่านนางเลิ้งจึงกลายมาเป็นที่อยู่อาศัยและชุมชน และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์บริเวณ 2 ฝั่งถนนนครสวรรค์มากขึ้น จนเกิดเป็นแหล่งชุมชน และเกิดเป็นตลาดนางเลิ้ง ตลาดบกแห่งแรกของประเทศไทยในที่สุด โดยเป็นแหล่งรวมของอาหารคาวหวานอย่างอุดมสมบูรณ์ มนต์เสน่ห์อีกอย่างของตลาดแห่งนี้ก็คือ สถาปัตยกรรมตึกรามบ้านช่องของตลาดที่มีความเก่าแก่และงดงาม 

 

http://www.manager.co.th/travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000055237
ตึกเก่าบริเวณด้านหน้าตลาด ริมถนนนครสวรรค์ จาก, http://www.manager.co.th/travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000055237

 

 

http://www.it4x.com/nlk/market.html
ด้านหน้าของตลาดนางเลิ้ง จาก, http://www.it4x.com/nlk/market.html

 

 

ข่าวท่องเที่ยว/เยือนถิ่นเก่า-เล่าขาย-ย่านนางเลิ้ง-1620.html
ทางเข้าตลาดนางเลิ้ง จาก, http://www.thaiticketmajor.com/ข่าวท่องเที่ยว/เยือนถิ่นเก่า-เล่าขาย-ย่านนางเลิ้ง-1620.html

 

 

http://www.thaiticketmajor.com/ข่าวท่องเที่ยว/เยือนถิ่นเก่า-เล่าขาย-ย่านนางเลิ้ง-1620.html
ด้านในของตลาดนางเลิ้ง จาก, http://www.manager.co.th/travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000055237

 

 

•สมัยก่อนย่านนางเลิ้งนับว่าเป็นศูนย์รวมความบันเทิงในกลางกรุงเลยทีเดียว ด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงโปรดการแข่งม้าเป็นอย่างยิ่ง พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสมาคมและสโมสร รวมทั้งสนามแข่งม้าขึ้น โดยพระราชทานชื่อว่า "ราชตฤณมัยสมาคม" (สนามม้านางเลิ้ง)  และยังมี "โรงภาพยนต์ศาลาเฉลิมธานี" ที่สร้างขึ้นในนี้เช่นกัน ซึ่งชาวบ้านได้เรียกกันว่า "โรงหนังนางเลิ้ง" โรงภาพยนตร์แห่งนี้สร้างความคึกคักให้กับชาวนางเลิ้งและผู้ที่เดินทางมาชมมาโดยตลอด กระทั่งปิดตัวลงในพ.ศ. 2536  

 

 

http://www.zliekr.com/5420/
ราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) จาก, https://www.facebook.com/77PPP/

 
http://www.manager.co.th/travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000055237
โรงภาพยนต์ศาลาเฉลิมธานี จาก, http://www.manager.co.th/travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000055237

 

 

•ความคึกคักของตลาดยังคงมีต่อเนื่องเรื่อยมา กระทั่งเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ทำให้ความคึกคักซาลงไป แต่ต่อมาได้ฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีการสร้างอาคารตลาดในลักษณะอาคารสูงโปร่ง หลังคาสูงมุงด้วยกระเบื้องโบราณแผ่นเล็ก ๆ รอบตลาดเป็นอาคารตึกแถว 2 ชั้นดังที่ปรากฏในปัจจุบัน 

 

ปัจจุบันตลาดนางเลิ้งเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทั้งยังคงเป็นแหล่งรวมอาหารคาวหวานและขนมโบราณที่มีชื่อเสียง และเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ มีสถานที่สำคัญทั้งของราชการและเอกชนตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ไว้เพื่อคนรุ่นหลังสืบไป 

 
 

 

แหล่งข้อมูล
ประวัติศาสตร์ความทรงจำขนาดย่อมของชุมชนเก่าแก่นางเลิ้ง/อิเลิ้ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 จาก, http://oknation.nationtv.tv/blog/DekMutimeDiaHCU/2011/09/13/entry-1
ประวัติตลาดนางเลิ้ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 จาก, http://office.bangkok.go.th/pomprap/index.php?option=com_content&view=article&id=93&Itemid=133
“ตลาดนางเลิ้ง” แรกเริ่มตลาดบก ที่ตั้งของต้นตำรับความอร่อย. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 จาก, http://www.manager.co.th/travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000055237
สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์.พัฒนาการ​ย่าน​นางเลิ้ง . สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 จาก, http://www.journal.su.ac.th/index.php/suj/article/viewFile/180/202
ตลาดนางเลิ้ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 จาก, http://www.it4x.com/nlk/market.html
โครงการเล่าขาน “ตํานานนางเลิ้ง ”. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 จาก, http://decade1.ird.rmutp.ac.th/old/files_upload/nangloeg.pdf
พงษ์พรรณ บุญเลิศ. นางเลิ้ง..ตลาดบกเก่าแก่ของบางกอก. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 จาก, http://203.155.220.230/info/bma_k/data/architecture/nangleang_market.htm
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Panya
  • 7 Followers
  • Follow