การลดน้ำตาลไม่ใช่แค่ช่วยควบคุมน้ำหนัก แต่ยังลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง เช่น
- เบาหวานชนิดที่ 2
- โรคหัวใจ
- ฟันผุ
- โรคตับไขมัน
- ลดการเติมน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่ม
- ลดปริมาณน้ำตาลในสูตรอาหารลงทีละน้อย เช่น จาก 2 ช้อนชา เหลือ 1 ช้อนชา
- หลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาลเพิ่มในกาแฟ ชา หรือเครื่องดื่ม
- เติมอบเชย กระวาน หรือขิงในอาหารหรือเครื่องดื่ม ช่วยเพิ่มรสชาติและความหอม โดยไม่ต้องพึ่งน้ำตาล
- ใช้พริก กระเทียม หรือตะไคร้ในอาหารคาว ช่วยให้รสจัดจ้านและลดความต้องการน้ำตาล
- ตรวจเช็กปริมาณน้ำตาลแฝง ผลิตภัณฑ์ที่ดูเหมือนไม่หวาน เช่น น้ำสลัด ซอสปรุงรส หรือขนมปัง บางครั้งมีน้ำตาลสูง ลองมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีข้อความ อาหารไร้น้ำตาล หรือ “ไม่มีน้ำตาลเพิ่ม”
น้ำตาลในฉลากอาจใช้ชื่ออื่นแฝง ทำให้เข้าใจผิดพลาดได้ เช่น
- ซูโครส
- กลูโคส
- ฟรุกโตส
- ไฮฟรุกโตสคอร์นไซรัป (HFCS)
- เปลี่ยนขนมหวานเป็นผลไม้สด เพราะผลไม้สดให้ความหวานธรรมชาติและมีไฟเบอร์ ช่วยให้อิ่มนาน และควรเลือกผลไม้ที่น้ำตาลไม่สูงเกินไป เช่น แอปเปิล ฝรั่ง เบอร์รี
- ถั่วอบไม่เค็ม หรือเมล็ดพืช ช่วยให้อิ่มและให้ไขมันดี และกินโยเกิร์ตรสธรรมชาติ หรือกรีกโยเกิร์ต อาจเติมผลไม้สดแทนโยเกิร์ตรสหวานได้
- ลดน้ำอัดลมและน้ำหวาน เปลี่ยนเป็นน้ำเปล่า น้ำแร่ หรือชาไม่หวาน ถ้าต้องการรสชาติ ลองใส่มะนาวหรือใบสาระแหน่ในน้ำเปล่า
- น้ำผลไม้ 100% ก็ยังมีน้ำตาลสูง ควรดื่มในปริมาณน้อย และควรกินผลไม้สดแทน
- อาหารไร้น้ำตาล บางชนิดอาจใช้สารให้ความหวานเทียม ควรเลือกในปริมาณที่เหมาะสม เพราะการบริโภคมากเกินไปอาจส่งผลข้างเคียงได้
- สังเกตปริมาณไขมัน และแคลอรีในผลิตภัณฑ์ไร้น้ำตาล เพราะบางครั้งไขมันหรือแป้งอาจสูงเพื่อชดเชยรสชาติ
- อย่าเผลอทานมากขึ้น เพราะคิดว่าอาหารนั้น “ปลอดภัย” เนื่องจากไม่มีน้ำตาล
หลายคนที่เริ่มลดน้ำตาล หรือพยายามงดน้ำตาลในอาหาร อาจรู้สึกว่าตัวเองหงุดหงิดง่าย หรืออารมณ์ไม่คงที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้จริงในช่วงแรก เพราะร่างกายกำลังปรับตัว
ทำไมการงดน้ำตาล ถึงทำให้หงุดหงิด ?
เมื่อเราบริโภคน้ำตาล ร่างกายจะหลั่งสารโดพามีน ทำให้รู้สึกดี การลดน้ำตาลทันทีอาจทำให้ระดับโดพามีนลดลง จึงเกิดความรู้สึกเหมือนขาดสิ่งที่ทำให้มีความสุข ระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย มึนงง หรืออารมณ์แปรปรวน
- ค่อย ๆ ลดน้ำตาลทีละน้อย แทนที่จะงดแบบหักดิบ เพื่อให้ร่างกายมีเวลาปรับตัว ค่อยๆ ปรับรสชาติ เพราะลิ้นจะคุ้นชินกับรสหวานน้อยลงเมื่อเราลดน้ำตาลไปเรื่อย ๆ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ พักผ่อนให้พอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขแทนน้ำตาล
- ทำอาหารเองบ่อยขึ้น จะควบคุมส่วนผสมได้ดีกว่า
ข้อควรรู้ : อาการโมโหหรือหงุดหงิดมักเป็นเพียงอาการชั่วคราว เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว เราจะรู้สึกดีขึ้น และยังได้สุขภาพดี เป็นของแถมอีกด้วย