ฉลากโภชนาการ คือ ข้อมูลสำคัญที่ผู้ผลิตอาหารต้องระบุ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงคุณค่าทางโภชนาการ และส่วนประกอบของอาหาร การอ่านฉลากโภชนาการเป็น มีข้อดี ดังนี้
- ควบคุมปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อวัน
- ลดความเสี่ยงโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- เลือกอาหารที่เหมาะสมกับเป้าหมายสุขภาพ เช่น ลดน้ำหนัก หรือสร้างกล้ามเนื้อ
1. ดูปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค
เป็นปริมาณการกินต่อครั้งที่แนะนำให้ผู้บริโภครับประทาน
2. ดูจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ
เป็นจำนวนที่บอกว่าถ้ากินครั้งละหนึ่งหน่วยบริโภคจะแบ่งกินได้กี่ครั้ง
3. ดูคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
ว่าจะได้พลังงานเท่าใด สารอาหารอะไรบ้าง ในปริมาณเท่าใด
4. โฟกัสน้ำตาลและไขมัน
เลือกอาหารที่มีน้ำตาลน้อยกว่า 6 กรัมต่อหน่วยบริโภค (สำหรับขนม/เครื่องดื่ม) ระวังน้ำตาลแฝงในชื่ออื่น เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพด ซูโครส กลูโคส ฟรุกโตส และพยายามเลือกอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 3 กรัม และเลี่ยงไขมันทรานส์
5. มองหาสารอาหารดี ๆ
อาหารเพื่อสุขภาพควรให้สารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ควรเลือกที่ให้ใยอาหารสูง (มากกว่า 3 กรัม) และโซเดียมต่ำ (น้อยกว่า 140 มก.)
- น้ำตาลธรรมชาติในผลไม้ อันตรายเหมือนน้ำตาลเติมหรือไม่ ?
ตอบ : น้ำตาลในผลไม้ (ฟรุกโตส) มาพร้อมกับใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ ซึ่งช่วยชะลอการดูดซึมและดีต่อร่างกาย แต่ควรกินในปริมาณเหมาะสม ไม่มากเกินไป
- การลดน้ำตาลช่วยลดน้ำหนักได้จริงไหม ?
ตอบ : จริง เพราะการลดน้ำตาลช่วยลดพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายได้รับ ลดความเสี่ยงสะสมไขมันและน้ำหนักตัวเกิน
- ดื่มน้ำหวาน “0% น้ำตาล” ปลอดภัยแค่ไหน ?
ตอบ : แม้จะระบุ 0% น้ำตาล แต่ควรอ่านฉลากเพื่อดูว่ามีสารให้ความหวานเทียมหรือไม่ ควรบริโภคในปริมาณพอดี เพราะการบริโภคเกินอาจมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพในระยะยาว
- น้ำตาลแฝงพบมากในอาหารประเภทใดบ้าง ?
ตอบ : น้ำตาลแฝงมักพบในซอสปรุงรส น้ำสลัด ขนมปัง ซีเรียล เครื่องดื่มสำเร็จรูป และอาหารแปรรูปต่างๆ ควรอ่านฉลากส่วนผสมให้ละเอียดทุกครั้ง