คือ ภาวะที่นักเรียนหรือนักศึกษารู้สึกหมดพลัง ขาดแรงบันดาลใจ เหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจจากการเรียนอย่างต่อเนื่อง อาการนี้มักเกิดจากความเครียดสะสม แรงกดดันจากการสอบ การบ้านที่ถาโถม หรือแม้แต่ความคาดหวังจากครอบครัวและสังคม
- ไม่อยากตื่นไปโรงเรียนหรือเข้าคลาสออนไลน์
- ขาดแรงจูงใจในการเรียน แม้วิชาที่เคยชอบก็ไม่สนุกเหมือนเดิม
- นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ตื่นมาแล้วยังรู้สึกเหนื่อย
- เบื่อหน่าย เฉื่อยชา และรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า
- หงุดหงิดง่าย หรือแยกตัวจากสังคมมากขึ้น
หากเรากำลังมีอาการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณว่า Burnout ได้เริ่มส่งผลกับเราแล้ว !!
- แรงกดดันจากผลการเรียน หรือการสอบแข่งขัน
- ตารางเรียนที่แน่นเกินไป ขาดเวลาพักผ่อน
- เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นบนโซเชียลมีเดีย
- ความคาดหวังจากครอบครัวหรือสถาบันการศึกษา
- ขาดกิจกรรมที่ให้ความสุขนอกเหนือจากการเรียน
1. พักใจและพักสมองอย่างตั้งใจ
ให้ตัวเองได้หยุดพักจริง ๆ แม้เพียงวันละ 15-30 นาที เช่น นั่งฟังเพลง วาดรูป หรือเดินเล่น โดยไม่ต้องรู้สึกผิดที่ไม่ได้อ่านหนังสือ
2. จัดตารางชีวิตให้สมดุล
ควรวางแผนการอ่านหนังสือให้มีเวลาพักผ่อนแทรกอยู่เสมอ และไม่ยัดตารางแน่นจนเกินไป เช่น ใช้เทคนิค Pomodoro: เรียน 25 นาที พัก 5 นาที
3. พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ
การได้พูดระบายกับเพื่อนสนิท ครูแนะแนว หรือครอบครัว จะช่วยให้เรารู้สึกไม่โดดเดี่ยว และอาจได้รับคำแนะนำดีๆ ที่ช่วยเปลี่ยนมุมมองของเราได้
4. ลดการเปรียบเทียบในโซเชียลมีเดีย
จำไว้ว่าชีวิตบนหน้าฟีดไม่ใช่ทั้งหมดของความเป็นจริง การเปรียบเทียบมากไปอาจทำให้เรารู้สึกด้อยค่าตัวเองโดยไม่จำเป็น
5. หาก Burnout รุนแรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
หากรู้สึกหมดไฟนานเกิน 2-3 สัปดาห์ และไม่สามารถกลับมามีแรงจูงใจได้ด้วยตัวเอง การพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์อาจช่วยได้มากกว่าที่คิด
- จัดเวลาให้มี “วันพักผ่อน” อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์
- เลือกทำกิจกรรมเสริมที่ตนเองชอบ ไม่เน้นแค่ผลลัพธ์
- หมั่นเช็กอารมณ์ตัวเอง เช่น เขียนไดอารี่ความรู้สึก
- อย่าลืมว่าการเรียนคือ “ส่วนหนึ่ง” ของชีวิต ไม่ใช่ทั้งหมด