การสอบ TGAT และ TPAT เป็นขั้นตอนสำคัญในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียนชั้น ม.6 ในระบบ TCAS ที่ออกแบบมาเพื่อทดสอบทักษะที่หลากหลาย โดยการสอบ TGAT (Thai General Aptitude Test) จะเน้นไปที่ทักษะความสามารถทั่วไป เช่น การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร และการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในทุกสาขาวิชา ในขณะที่ TPAT (Thai Professional Aptitude Test) จะเป็นการวัดทักษะและความรู้เฉพาะทางในสาขาที่นักเรียนสนใจ เช่น วิศวกรรม ครู แพทย์ หรือศิลปะ เป็นต้น
มาดูโครงสร้างข้อสอบ เนื้อหาที่ออกสอบ
ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1) การถาม–ตอบ (Question-Response)
จำนวนข้อคำถาม (10 ข้อ)
2) เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversations) จำนวน 3 บทสนทนา
จำนวนข้อคำถาม (3 – 4 ข้อ/บทสนทนา รวม 10 ข้อ)
3) เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversations) จำนวน 2 บทสนทนา
จำนวนข้อคำถาม (5 ข้อ/บทสนทนา รวม 10 ข้อ)
1) เติมข้อความในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (Text completion) จำนวน 2 บทความ
จำนวนข้อคำถาม (7-8 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ)
2) อ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension) จำนวน 3 บทความ
หมายเหตุ : บทความทั่วไปที่ใช้ในการสื่อสาร มีจำนวนคำประมาณ 100– 200 คำ
จำนวนข้อคำถาม (5 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ)
ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที
จำนวนข้อ
- ทักษะการพูด (Speaking Skill) / 50 คะแนน 30 ข้อ
- ทักษะการอ่าน (Reading Skill) / 50 คะแนน 30 ข้อ
รวม 60 ข้อ
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
เป็นการวัดสมรรถนะการคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking) ประกอบด้วย
ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที
จำนวนข้อ 80 ข้อ
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
1) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) ความเข้าใจในการกำหนดวิธีการรวบรวมประเด็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีหลักการในการสรุปผลการวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลที่ได้รับออกเป็นปัจจัยย่อย ๆ เช่น สาเหตุ ผลลัพธ์ ผลกระทบ ข้อเสนอแนะ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
2) การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ (Professional problem solving) ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาหรือเล็งปัญหา พร้อมทั้งลงมือจัดการกับปัญหานั้น ๆ อย่างมี ข้อมูล มีหลักการ และสามารถนำความเชี่ยวชาญ หรือแนวคิดในสายวิชาชีพมาประยุกต์ใช้ในการ แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ทางเลือก สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งการปรับเปลี่ยน กลยุทธ์ นโยบาย และรูปแบบการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม รวมถึงการพูดจูงใจผู้อื่น นำเสนอความคิดและรูปแบบของสินค้า บริการ และวิธีการดำเนินงานรูปแบบใหม่
1) การระบุปัญหา (Identifying problems) ประกอบด้วย ทำความเข้าใจบริบทแวดล้อม การระบุและทำความเข้าใจปัญหา การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการระบุปัญหา
2) การแสวงหาทางออก (Generating and selecting solutions) ประกอบด้วย การสร้างและหาทางเลือก และการประเมินทางเลือกที่เหมาะสม
3) การนำทางออกไปแก้ปัญหา (Implementation) ประกอบด้วย การปฏิบัติตามแผน และการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
4) การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (Evaluation) ประกอบด้วย เก็บข้อมูลจากการนำทางออกไปลองใช้ และสรุปผลจากการนำทางออกไปลองใช้
1) ความตระหนักรู้ตนเอง (Self awareness) การรับรู้ ควบคุมสภาพอารมณ์ และทัศนคติ เพื่อรักษาอารมณ์ และประสิทธิภาพของตนเอง แม้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือมีภาระสูง มีความตระหนักถึงจุดแข็งของตนเอง รวมถึงจุดที่ต้องพัฒนา โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2) การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control) ความสามารถในการแสดงออก ทางสีหน้า ท่าทาง และอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อต้องเผชิญกับบุคคล ลักษณะงาน และสถานการณ์ที่ตึงเครียด รวมถึงการให้คำปรึกษา แนะนำและสอนผู้อื่น ให้ควบคุมอารมณ์และบุคคลิภาพได้อย่างเหมาะสม
3) ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding) ความเข้าใจความต้องการ ความกังวล และความรู้สึกของผู้อื่น ทั้งสิ่งที่แสดงออกและไม่แสดงออก และความสามารถในการตอบสนอง และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม และเท่าเทียมกัน
1) การมุ่งเน้นการบริการสังคม (Service orientation) การคิด และทำสิ่งต่าง ๆ โดยมีความต้องการของสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ในใจเสมอ โดยมุ่งเน้นการศึกษา และทำความเข้าใจความต้องการต่าง ๆ แสดงถึงความมุ่งมั่นต้องการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างแท้จริง พร้อมพัฒนาและ รักษาความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยั่งยืน
2) จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental responsibility) การมีจิตสำนึก ตระหนักให้ความสำคัญ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทที่จะอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนให้น่าอยู่ ตลอดจนเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กรอย่างเต็มที่ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรวม
3) การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (Creating local benefits) ความสามารถในการคิดค้น ออกแบบ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่แปลกและแตกต่างไปจากเดิม โดยการมุ่งเน้นพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว และยั่งยืนให้แก่ประชาชน พื้นที่ หรือท้องถิ่นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม
ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)
เพื่อวัดทัศนคติ 4 ระดับ (รูปแบบการให้คะแนนจะระบุในแบบทดสอบ)
การตอบคำถาม มี 2 แบบ คือ
1) เลือกตอบตัวเลือกเดียว
2) เลือกตอบหลายตัวเลือก
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที
จำนวนข้อ
- การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม / 25 คะแนน 15 ข้อ
- การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน / 25 คะแนน 15 ข้อ
- การบริหารจัดการอารมณ์ / 25 คะแนน 15 ข้อ
- การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม / 25 คะแนน 15 ข้อ
รวม 60 ข้อ
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ประกอบด้วย 3 ส่วน ผู้สอบสามารถเลือกสอบได้
1) พื้นฐานทางทัศนศิลป์ 30 ข้อ
1.1 หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์
1.2 การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์งานทัศนศิลป์
1.3 ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
1.4 การเห็นคุณค่าและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกที่มีต่องานทัศนศิลป์
2) ทัศนศิลป์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน 20 ข้อ
2.1 การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
2.2 การนําศิลปะ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
2.3 ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับทัศนศิลป์ในชีวิตประจําวัน
1) องค์ประกอบดนตรี 25 ข้อ
1.1 จังหวะ (Rhythm)
1.2 ทํานอง (Melody)
1.3 เสียงประสาน (Harmony)
1.4 รูปพรรณ (Texture)
1.5 สีสันของเสียง (Tone Color)
1.6 ลักษณะของเสียง
1.7 รูปแบบ (Form)
2) บริบทที่เกี่ยวข้องทางดนตรี 25 ข้อ
2.1 ประวัติและวรรณคดีดนตรี
2.2 เครื่องดนตรีและแหล่งกําเนิดของเสียง
2.3 ระดับของการฟัง
2.4 หลักในการปฏิบัติทักษะดนตรี
2.5 ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับสังคมและการประยุกต์ใช้ดนตรีในชีวิต
1) พื้นฐานการใช้ร่างกายทางด้านนาฏศิลป์ 10 ข้อ
1.1 การเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อปฏิบัตินาฏศิลป์
1.2 พื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกาย
2) การสื่อสารด้วยท่าทาง 15 ข้อ
2.1 อารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก เช่น ดีใจ มีความสุข เบิกบาน
2.2 อารมณ์ความรู้สึกเชิงลบ เช่น เสียใจ เจ็บปวด สิ้นหวัง
2.3 การสื่อความหมาย
2.4 การแสดงออกทางสีหน้าแววตา
3) หลักการใช้พื้นที่ทางด้านนาฏศิลป์ 15 ข้อ
3.1 ทิศทาง
3.1 ระดับ
3.1 ขนาด
3.1 การใช้พื้นที่ในการแสดง
3.1 การเคลื่อนที่และแปรแถว
4) ปฏิภาณไหวพริบสําหรับผู้แสดงนาฏศิลป์ 10 ข้อ
4.1 การแก้ไขสถานการณ์ก่อนการแสดง
4.2 การแก้ไขสถานการณ์ระหว่างการแสดง
ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที
หมายเหตุ : การคิดคะแนนรวม คำนวณจากการเฉลี่ยทั้งสามส่วน เต็ม 100 คะแนน
จำนวนข้อ
- TPAT21 ทัศนศิลป์ / 100 คะแนน 50 ข้อ
- TPAT22 ดนตรี / 100 คะแนน 50 ข้อ
- TPAT23 นาฏศิลป์ / 100 คะแนน 50 ข้อ
รวม 150 ข้อ
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1) ด้านตัวเลข (numerical reasoning) 15 ข้อ
2) ด้านมิติสัมพันธ์ (diagrammatic reasoning) 15 ข้อ
3) ด้านเชิงกล (mechanical reasoning) และด้านฟิสิกส์ (physics aptitude test) 15 ข้อ
1) ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 15 ข้อ
2) ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 10 ข้อ
ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที
จำนวนข้อ
- การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ / 60 คะแนน 45 ข้อ
- การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ / 40 คะแนน 25 ข้อ
รวม 70 ข้อ
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ
สมรรถนะ
ความเข้าใจความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ ที่มีต่อกระบวนการคิดและการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน
การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ ที่มีต่อกระบวนการคิดและการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
การนำความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ ไปใช้กับงานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน
ระดับการประเมิน
ระดับที่ 1) ความเข้าใจ 8 ข้อ
ระดับที่ 2) การวิเคราะห์ 8 ข้อ
ระดับที่ 3) การสังเคราะห์ 8 ข้อ
สมรรถนะ
ความเข้าใจด้านทฤษฏีสี จิตวิทยาการการใช้สี และทฤษฎีด้านความงามที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรม
การวิเคราะห์และการนำไปใช้
ระดับการประเมิน
ระดับที่ 1) ความเข้าใจ 8 ข้อ
ระดับที่ 2) การวิเคราะห์และการนำไปใช้ 8 ข้อ
สมรรถนะ
ความเข้าใจพื้นฐานระบบโครงสร้าง ประเภทและลักษณะโครงสร้าง องค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม
การวิเคราะห์
การนำไปใช้
ระดับการประเมิน
ระดับที่ 1) ความเข้าใจ 8 ข้อ
ระดับที่ 2) การวิเคราะห์ 8 ข้อ
ระดับที่ 3) การนำไปใช้ 8 ข้อ
สมรรถนะ
ความเข้าใจพื้นฐานด้านมิติสัมพันธ์และรูปทรง
การวิเคราะห์มิติสัมพันธ์และรูปทรง
ระดับการประเมิน
ระดับที่ 1) ความเข้าใจ 8 ข้อ
ระดับที่ 2) การวิเคราะห์ 8 ข้อ
ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที
จำนวนข้อ
- การวัดความรู้ทั่วไปด้านศิลปะและการออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายใน / 24 คะแนน 24 ข้อ
- การวัดความรู้ทั่วไปด้านทฤษฎีสีและทฤษฎีด้านความงามทางศิลปะและงานสถาปัตยกรรม / 16 คะแนน 16 ข้อ
- การวัดความรู้พื้นฐานระบบโครงสร้าง ประเภทและลักษณะโครงสร้าง องค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม
- และงานระบบพื้นฐานในงานสถาปัตยกรรม / 24 คะแนน 24 ข้อ
- การวัดการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และรูปทรง / 36 คะแนน 16 ข้อ
รวม 80 ข้อ
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1) ความสามารถทางการสื่อสาร 10 ข้อ
2) ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ 10 ข้อ
3) ความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 10 ข้อ
4) ความสามารถทางการเข้าใจตนเองและผู้อื่น 10 ข้อ
5) ความสามารถทางการคิดเพื่อการเรียนรู้ 10 ข้อ
1) การมีมนุษยสัมพันธ์ 10 ข้อ
2) ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซื่อสัตย์ ยุติธรรม 10 ข้อ
3) การเข้าใจและยอมรับผู้อื่น 10 ข้อ
4) การเป็นผู้เรียนรู้และรักที่จะแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น 10 ข้อ
5) การส่งเสริมให้ผู้อื่นมีความคิดสร้างสรรค์และการเป็นผู้นำ 10 ข้อ
ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที
จำนวนข้อ
- ความสามารถพื้นฐานทางวิชาชีพครู / 50 คะแนน 50 ข้อ
- คุณลักษณะความเป็นครู / 50 คะแนน 50 ข้อ
รวม 100 ข้อ
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
การเตรียมตัวสอบ TGAT/TPAT ไม่เพียงแต่เป็นการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ แต่ยังต้องพัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการจัดการเวลาที่ดี นักเรียนชั้น ม.6 จึงต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ ทั้งในด้านการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้สามารถทำคะแนนได้ดีในทุกส่วนของการสอบ