แพทย์หญิงปนียา ตปนียางกูร จักษุวิทยาต้อหิน ศูนย์ตา (Eye Center) โรงพยาบาลนวเวช อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ถึงอาการเบาหวานขึ้นตา แนวทางการรักษา และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา
“เบาหวานขึ้นตา” คำนี้หลายคนอาจเคยได้ยิน เพราะเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดที่จอประสาทตา ทำให้เลือดและสารต่าง ๆ รั่วซึมออกมา ทำให้เส้นเลือดตรงจอประสาทตาได้รับความเสียหาย และผู้ป่วยเบาหวานมักจะสูญเสียดวงตาในภาวะแทรกซ้อนนี้ โดยภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ก็มีวิธีการรักษาที่หลากหลาย แต่ถ้าเป็นถึงขั้นรุนแรงแล้ว อาจจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และจะสูญเสียการมองเห็นไปตลอดชีวิต
• ในช่วงระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ
• มีจุดเลือดออกในจอตา
• มีน้ำรั่วในจอตา อาจทำให้จุดรับภาพชัดบวม
• เกิดเส้นเลือดงอกใหม่ทำให้ เลือดออกในน้ำวุ้นตา
• จอประสาทตาหลุดลอก
• ไม่กินอาหารที่มีแป้งมากเกินไป
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
• ควบคุมน้ำตาลและระดับน้ำตาลสะสม HbA1C น้อยกว่า 6.0 mg% ให้อยู่ในระดับปกติ (ระหว่าง 70-100 mg/dL)
• หากผู้ป่วยเป็นในระยะแรก แพทย์จะให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ
• การใช้แสงเลเซอร์ ใช้ในระยะที่เลือดออกในตายังไม่มาก
• ฉีดยาเข้าไปในดวงตา ในกรณีผู้ป่วยจอประสาทตาบวม เพื่อลดการบวมของจอประสาทตา
• การผ่าตัด ในกรณีผู้ป่วยมีเลือดเต็มจอประสาทตาหรือจอประสาทตาหลุดลอก