Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

16 กันยายน ‘วันโอโซนโลก’

Posted By trueplookpanya | 15 ก.ย. 65
1,588 Views

  Favorite

‘โอโซน’ (Ozone หรือ O3) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ปรากฏเยอะที่สุดในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่ระดับความสูงระหว่าง 10-50 กิโลเมตรจากพื้นผิวโลก

โอโซนเปรียบเสมือนครีมกันแดดที่คอยปกป้องไม่ให้แสง UV มาทำลายผิว เป็นเกราะคุ้มกัน ปกป้องพืชและสัตว์จากรังสีที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี (UV-B) ซึ่งเป็นรังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและธรรมชาติหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป

รางวัลดีเลิศ ประเภทป่ามีคุณ ภาพ Landscape ระดับบุคคลทั่วไป ประจำปี 2564
ภาพ ‘มหัศจรรย์ดอยม่อนหมอกตะวัน’
โดย นายวินนิวัตร ไตรตรงธนรัตน์ 

ก๊าซโอโซนถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ ชื่อ วอน มารุม (Van Marum)

จากอุปกรณ์จับปริมาณก๊าซ โดยนายมารุมได้กลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์รอบ ๆ ขั้วผลิตกระแสไฟฟ้าจากอุปกรณ์ชุดทดลองของเขา อย่างไรก็ตาม การค้นพบโอโซนได้ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในปี 2383 คือ คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) นักเคมีชาวเยอรมัน โดยเขาตั้งชื่อก๊าซตามภาษากรีกคำว่า ‘Ozein’ ซึ่งแปลว่ากลิ่น หลังจากนั้นเครื่องผลิตโอโซนเครื่องแรกได้ถูกผลิตโดย วอน ซีเมนต์ (Von Siemens) ในกรุงเบอร์ลิน (Berlin)

Copernicus Atmosphere Monitoring Service (CAMS)

ถึงแม้ในปี 2019 จะมีข่าวดีที่ว่าหลุมในชั้นบรรยากาศโอโซนจะเล็กลงก็ตาม แต่ในปี 2021 หลุมชั้นบรรยากาศโอโซนกลับมีการขยายใหญ่และลึกขึ้น

ซึ่ง มนุษย์ อาจจะต้องทบทวนพฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบัน การที่หลุมยิ่งกว้างมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีผลกระทบกับมนุษย์มากเท่านั้น และนอกจากมนุษย์แล้วสิ่งมีชีวิตบนโลกต่างได้รับผลกระทบนี้เช่นเดียวกัน

.

หลายวิธีที่จะช่วยกันลดการทำลายชั้นโอโซนได้มีดังนี้...

ลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ เช่น การจำกัดจำนวนยานพาหนะ ลดการขับขี่ยานพาหนะส่วนตัว โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เดิน หรือขี่จักรยาน

 

ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่มีสารเคมีที่ไม่ทำลายชั้นโอโซน

 

เลือกใช้สินค้าในครัวเรือน ที่ไม่มีสารทำลายโอโซน เช่น CFCs, ฮาลอน และ hydrofluorocarbons

 

ทิ้งตู้เย็นเก่า และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ รวมทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิลของคุณอย่างถูกต้อง

.

อยากให้ทุกคนมีส่วนช่วยในการรักษาและฟื้นฟูชั้นบรรยากาศโอโซน

เพื่อที่จะส่งต่อดวงดาวสีฟ้าดวงนี้ให้คนรุ่นหลังสามารถที่จะออกมาข้างนอกบ้านได้อย่างสบายใจ เด็ก ๆ สามารถที่จะออกมารับแสงแดดได้อย่างเต็มที่ ไม่เช่นนั้นโรคมะเร็งผิวหนังที่เป็นอันตราย อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนก็เป็นได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: European Environment Agency, หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี, วิกิพีเดีย

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • trueplookpanya
  • 0 Followers
  • Follow