ไม่ว่าจะยุคไหนสรรพชีวิตต่างดิ้นรนและเอาชีวิตรอดต่อวิกฤตทางธรรมชาติต่าง ๆ จนส่งผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายทางชีวภาพจนถึงในยุคปัจจุบัน
1. ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity)คือความแปรผันทางพันธุกรรมภายในสิ่งมีชีวิต ส่งผลต่อมาถึง “ยีน” (Gene) ส่งผลให้มีเอกลักษณ์ ลักษณะเด่นหรือความแตกต่างในประชากรของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เช่น ลวดลายต่าง ๆ ของแมว สีผิวหนัง แววตาเป็นต้น
2. ความหลายหลายทางชนิดพันธุ์ (Species Diversity) คือ ความแปรผันทางชนิดพันธุ์ (Species) ที่เกิดขึ้นในระดับกลุ่มของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากความหลากหลายของพันธุกรรมที่สะสมและวิวัฒนาการเป็นยาวนาน ซึ่งความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ถือเป็นผลจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงออกไป
3. ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (Ecological Diversity) คือ การดำรงอยู่ของระบบนิเวศแต่ละประเภทบนโลกก็จะแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems) และระบบนิเวศในน้ำ (Aquatic Ecosystems) เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ หรือชายหาดและแนวปักการัง และระบบนิเวศเมือง (Eco Urban System) ซึ่งเป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตที่อยู่แต่ละพื้นที่ก็จะมีลักษณะและประเภทที่แตกต่างออกไปด้วย
ซึ่งถือว่าเป็นการสูญพันธุ์ที่เร็วกว่าในยุคสมัยก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิดมากว่าร้อยเท่า แม้ว่าการสูญพันธุ์บางส่วนจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ก็ถือได้ว่ามนุษย์นั้นเป็นต้นเหตุหลักในการทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพนั้นลดน้อยลง โดยปีนี้ทาง The Secretariat of the Convention on Biological Diversity ได้ประกาศธีมในปี 2022 ว่า ‘Building a shared future for all life’ สร้างอนาคตและแบ่งปันเพื่อสิ่งมีชีวิต เรามาช่วยกันสร้างและรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเพื่อชีวิตของพวกเราและเพื่อโลกของเราในอนาคต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :National Geographic ฉบับภาษาไทย