พูดง่าย ๆ ก็คือ พื้นที่ที่มีน้ำเป็นปัจจัยหลักในการหล่อเลี้ยงธรรมชาติและสรรพชีวิต เช่น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม ทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือถูกสร้างโดยมนุษย์ประโยชน์ของพื้นที่ชุ่มน้ำนั้นมีมากมายมหาศาล ทั้งเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ คอยกรองน้ำ เป็นแหล่งน้ำแหล่งอาหารให้กับสรรพชีวิตบนโลก เป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ พืชพันธุ์ และสัตว์ มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดน้ำท่วม โดยข้อมูลจากทางองค์กร WWF ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างน้อย 36,616.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 22,885,100 ไร่ เป็นพื้นที่น้ำจืดร้อยละ 44.8 และเป็นพื้นที่น้ำเค็มร้อยละ 55.2
1. พื้นที่ชุ่มน้ำทางทะเล และชายฝั่งทะเล (Marine and Coastal Wetlands) ได้แก่ แนวปะการังชายฝั่ง หาดทราย แหล่งน้ำกร่อย หาดโคลน หาดเลน ป่าชายเลน ฯลฯ
2. พื้นที่ชุ่มน้ำภายในแผ่นดินใหญ่ (Inland Wetlands) ได้แก่ ทะเลสาบ หนอง บึง ห้วย ป่าพรุ ฯลฯ
3. พื้นที่ชุ่มน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น (Human-made Wetlands) ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ สระน้ำ บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่เกษตรกรรม ฯลฯ
จึงเกิดขึ้นตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือ อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ตั้งตามชื่อสถานที่จัดประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญา ณ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2514 เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ป้องกันและยับยั้งการสูญเสียของพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก โดยประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ลำดับที่ 110 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2514 โดยได้เสนอ ‘พรุควนขี้เสี้ยน’ ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแห่งแรกของประเทศไทย และลำดับที่ 948 ของโลก
เราจึงจำเป็นต้องช่วยกันบำรุงรักษาบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ หยุดทำลาย หยุดการสร้างทับถม จนทำให้เราขาดแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ สำหรับการอุปโภค และ บริโภค และหากแหล่งพื้นที่ชุ่มน้ำนี้ถูกทำลายจนหมดสิ้น เมื่อนั้นเราคงไม่มีแหล่งน้ำสะอาด ๆ ไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้ใช้สืบไป...