เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปจากวัยเยาว์ วิธีคิดจากพื้นฐาน 2 เรื่องใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสมดุล
• ภูมิใจในส่วนที่ดีของตนเอง ไม่เปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น
• กล้ายอมรับว่าตนเองทำผิดพลาดได้ รู้จักให้อภัยตนเอง และนำความผิดพลาดมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
• รู้ข้อจำกัดของตนเอง กล้าปฏิเสธผู้อื่นในสิ่งที่รู้ว่าจะทำให้ ตนเองลำบาก โดยไม่กลับมารู้สึกผิดทีหลัง
• เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ขอโทษ” ว่าเป็นคำที่แสดงความรู้สึกผิดอย่างจริงใจ แต่ไม่ได้ใช้เพื่อลดคุณค่าที่เรามี หรือใช้เพื่อยอมผู้อื่นแบบขาดเหตุผล และไม่ติดขอโทษผู้อื่นซ้ำ ๆ เพียงเพราะคิดว่าตนเองไม่ดีพอ
• เป็นผู้ให้อย่างสมเหตุสมผล ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นโดยมุ่งเป้าหมาย เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ต่อไปในอนาคต
• มีน้ำใจและรู้จักแบ่งปัน ในสิ่งที่ตนเองสมัครใจ อยู่บนความพอดีที่ไม่ทำให้ตนเองต้องลำบาก
• เรียนรู้ว่าความแตกต่างในสังคม ไม่ได้เป็นเครื่องชี้วัด ว่าใครมีคุณค่ากว่าใคร ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างด้านรูปร่าง หน้าตา อายุ นิสัย เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะ ทุกคนต่างมีคุณค่าในตนเอง
• ไม่ล้อเลียนปมด้อย หรือทำให้ผู้อื่นต้องอับอายและเจ็บช้ำน้ำใจ พูดและแสดงออกอย่างสุภาพเหมาะสมกับผู้คนแต่ละวัย ไม่กดขี่ข่มเหงผู้ที่อายุน้อยกว่า
• รับฟังความคิดเห็นและเปิดใจมองเรื่องต่าง ๆ จากมุมมองของผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
• เรียนรู้ว่าเราไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเอกในทุกเรื่อง ควรให้ผู้อื่นได้แสดงบทบาท ของเขาให้เต็มที่ในเรื่องราวของเขา และเราจะเป็นผู้สนับสนุนที่ดี
• พูด “ขอบคุณ” อย่างจริงใจเมื่อเป็นผู้รับ และเห็นคุณค่าในสิ่งที่ได้รับ
• มีความเกรงใจ ไม่ร้องขอหรือละเมิดสิทธิ ในสิ่งที่ทำให้ผู้อื่นต้องลำบาก สามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม หากมีใครให้ในสิ่งที่รู้สึกว่ามากเกินรับไหว ต้องสื่อสารให้อีกฝ่ายเข้าใจว่าไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธเสียงแข็ง จนทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ดี
• รู้จักให้อภัยและยอมรับได้ว่าผู้อื่นก็สามารถทำผิดพลาดได้เช่นเดียวกับเรา