Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รู้จักปานเขียวที่ก้นทารกแรกเกิด คืออะไรกันแน่นะ

Posted By พระจันทร์สีส้ม | 29 ก.ค. 64
26,897 Views

  Favorite

ทารกบางคนเมื่อเกิดมา คุณแม่พบว่าที่ก้นของลูกมีปานสีเขียว ๆ ติดมาด้วย จนอดสงสัยไม่ได้ว่าเจ้าปานนี้คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องขัดออกไหม แล้วมันจะหายไปได้หรือเปล่า ?

 

ปานเขียวที่ก้นของลูกนี้ เรียกว่าปานมองโกเลียน (Mongolian spot) ค่ะ เป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ใช่อาการผิดปกติแต่อย่างใด

ปานมองโกเลียนนี้ มีลักษณะเป็นผื่นเรียบ สีเขียว สีฟ้าเทา หรือสีฟ้าเข้ม พบได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทารก เช่น หลัง ลำตัว ศีรษะ แต่มักพบบ่อยบริเวณก้นหรือสะโพกของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่มีเชื้อชาติเอเชียหรือแอฟริกา

 

ภาพ : Shutterstock

 

ปานมองโกเลียนเกิดจากอะไร

ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า ปานมองโกเลียนนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่มีการศึกษาคาดว่า น่าจะเกิดจากการเคลื่อนตัวของเซลล์ dermal melanocyte ในชั้นผิวหนังของทารก ในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 11 ถึง 14 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งมักจะหายไปเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ แต่สำหรับทารกบางคน เซลล์นี้อยู่ลึกเกินไป จนทำให้หายไปไม่หมด และหลงเหลือเป็นปานให้คุณแม่ได้เห็นหลังคลอด

 

ภาพ : Shutterstock

 

ปานมองโกเลียนจะหายไปได้หรือไม่

คุณแม่อาจสงสัยว่า ปานมองโกเลียนนี้สามารถหายไปได้หรือไม่ หรือมันจะต้องติดตัวทารกไปจนเขาโต หากเป็นอย่างนั้นลูกจะมีปมด้อยหรือไม่ ? ข้อนี้คุณแม่ไม่ต้องห่วงเลยค่ะ ปานมองโกเลียนนี้จะหายไปได้เองเมื่อทารกโตขึ้น โดยมักจะหายไปเมื่อ ทารกมีอายุได้ประมาณ 1-5 ขวบ

 

ดังนั้น ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องพยายามไปขัดออก เพราะการขัดที่รุนแรงอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อผิวของทารกได้ค่ะ

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • พระจันทร์สีส้ม
  • 8 Followers
  • Follow