Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ ข้าวมธุปายาส หรือ ข้าวทิพย์

Posted By มหัทธโน | 28 ก.ย. 63
41,286 Views

  Favorite

การกวนข้าวสำมะปิ หรือ ข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส 

เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่จะทำในงานประเพณีออกพรรษาตามความเชื่อของชาวอีสาน ซึ่งได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี

 

ข้าวสำมะปิ หรือข้าวทิพย์ ในพุทธประวัติเรียกว่า ข้าวมธุปายาส เป็นข้าวทิพย์ที่นางสุชาดา บุตรีกฏุมพี ในสมัยพุทธกาล จัดปรุงขึ้นแล้วนำไปถวายพระมหาบุรุษก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ซึ่งหลังจากพระองค์ได้เสวยข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา ก็ได้ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณในย่ำรุ่งของคืนนั้นเอง

เหตุนี้ ชาวบ้านจึงเชื่อว่าข้าวมธุปายาสเป็นอาหารทิพย์ช่วยให้สมองดี เกิดปัญญาแก่ผู้บริโภค

 

ที่มา : Tnews https://www.tnews.co.th/religion/420474/

 

จุดเด่นของข้าวมธุปายาส

จากประวัติความเป็นมาและกรรมวิธีในการหุงข้าวมธุปายาส ที่พรรณนามาทั้งหมดจึงสรุปมูลเหตะที่ชาวพุทธทั้งหลายกล่าวยกย่อง "มธุปายาส" ว่าเป็น "ข้าวทิพย์" ได้ 3 ประการคือ

1. เป็นของที่มีรสอันโอชะล้ำเลิศและกระทำได้ยากผู้ที่จะสามารถปรุงขึ้นได้ ต้องอาศัยบารมี

2. เป็นของที่ปรุงขึ้นถวายแด่ผู้มีบุญญาธิการ ผู้ควรสักการะบูชา ปรุงขึ้นเป็นการเฉพาะ

เช่น เพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อเทพยดา เป็นต้น

รวมความก็คือทั้งผู้ปรุงและผู้รับต่างต้องมีบุญบารมีมากจึงจะกระทำได้

3. เป็นอาหารที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยแล้วสามารถตรัสรู้บรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณได้

 

ที่มาของข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส ครั้งพุทธกาล

ข้าวทิพย์
หมายถึง อาหารวิเศษ สำหรับถวายเทวดา ทำจากอาหาร 108 อย่าง เช่น น้ำนมข้าว ข้าวสาลีเกษตรสาคู เผือก มัน นม เนย ผักผลไม้ มะพร้าว น้ำอ้อย ฯลฯ นำมาบดจนเป็นแป้ง ผสมในน้ำกะทิกรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำตาล แล้วนำมากวนบนไฟอ่อนๆ จึงเรียกว่า "ประเพณีกวนข้าวทิพย์”
 
ข้าวมธุปายาส
เป็นข้าว ที่หุงด้วยน้ำนม อย่างดี ที่นางสุชาดา ธิดาของเศรษฐีหมู่บ้านเสนานิคม ได้นำ ไปบวงสรวงเทพยดาที่ใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทรใหญ่) ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ได้พบพระพุทธองค์ ประทับอยู่ใต้ต้นนิโครธเข้าใจว่าเป็นเทพยดา จึงได้ข้าวมธุปายาสไปถวาย
 
เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยเสร็จแล้ว แล้วนางได้กล่าวว่า
"ขอให้พระองค์ จงประสพความสำเร็จ ในสิ่งที่พระองค์ ทรงประสงค์ เช่นเดียวกับที่ดิฉัน ได้ประสพความสำเร็จ ในสิ่งที่ดิฉัน ประสงค์แล้ว เถิดเจ้าข้า”
 
ที่มาภาพ : http://learn2learning.blogspot.com/2014/07/8.html

 

 
ดังนี้. พระองค์ทรงรับ บิณฑบาตนั้นแล้ว, ปั้นก้อนข้าวเป็น 49 ก้อน แล้วฉันจนหมด. อาหารมื้อนี้เอง เป็น อาหารมื้อก่อนการตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า.
 
โดยได้ทรงนำถาดทองที่ใส่ข้าวมธุปายาสนั้นไปลอยน้ำ และทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากพระองค์จะได้ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดทองนั้นลอยทวนน้ำขึ้นไป เมื่อพระองค์ทรงวางถาดลงในน้ำ ก็ปรากฏว่า ถาดทองลอยทวนน้ำขึ้นเหนือน้ำดังคำอธิฐาน ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าภัตตาหารมื้อนั้นได้มีส่วนทำให้พระองค์ได้สำเร็จและตรัสรู้อริยสัจ 4 ได้
 

ประเพณีการกวน “ข้าวสำมะปิ” หรือกวนข้าวทิพย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 

 การกวนข้าวสำมะปิในปัจจุบันนิยมทำกันในช่วงก่อนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงก่อนออกพรรษา โดยแต่ก่อนจะใช้วัดเป็นสถานที่กวนข้าวสำมะปิ เพราะว่าวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวไทย

 

พิธีกวนข้าวทิพย์ จะเริ่มก่อนวันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เริ่มต้นด้วยพิธีพราหมณ์ ตั้งบายศรีบวงสรวงเทพยดาเครื่องประกอบในการตั้งบายศรี มีไตรจีวร 1 ชุด และถาดใส่อาหารมีข้าว ไข่ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว และผลไม้ พราหมณ์สวดชุมนุมเทวดา
 
แล้วเริ่มพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยการนำเอาข้าวที่ยังเป็นน้ำนม (ข้าวที่เพิ่งออกรวงใหม่ ที่เมล็ดยังเป็นแป้ง นำมาเอาเปลือกออก) สิ่งของเครื่องปรุงข้าวทิพย์ คือมงคล 9 สิ่ง ได้แก่ นม เนย ถั่ว งา น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง และผลไม้ต่าง ๆ ใส่ร่วมกันลงไป แล้วกวนให้ข้าวสุกจนเหนียว
 
การประกอบพิธี
พิธีจะเริ่มประมาณ 4 โมงเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เริ่มด้วยพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
 
เด็กหญิงพรหมจารีรับศีล 8 เมื่อพระเจริญพระพุทธมนต์ถึงบทอิติปิโส เด็กหญิงจะลุกไปยังบริเวณพิธีกับผู้ชำนาญการ ส่วนคนอื่นจะเข้าไปไม่ได้
 
เด็กหญิงจะเป็นผู้เริ่มทำทุกอย่าง ตั้งแต่ก่อไฟ ยกกระทะขึ้นตั้งเตาไฟ แล้วเริ่มกวน กวนไปประมาณ 10 นาที ก็เป็นการเสร็จพิธีการ
 
หลังจากนั้นชาวบ้านจะช่วยกันกวนโดยผลัดกันตลอดคืน บางวัดเสร็จตี 3 ตี 4 จึงเป็นวันที่สนุกสนานของหนุ่มสาวอีกวันหนึ่ง
 
เพราะจะช่วยกันมากวนข้าวทิพย์ มีการกระเซ้าเย้าแหย่กันเพื่อไม่ให้ง่วงนอน นับเป็นกำลังสำคัญในการกวน
 
ส่วนคนแก่คนเฒ่าส่วนมากจะนอนค้างที่วัด วันรุ่งขึ้นเป็นวันพระมีการทำบุญตักบาตรเป็นการเอิกเกริกถวายข้าวทิพย์แด่พระภิกษุสงฆ์ และแจกจ่ายแบ่งปันกัน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส อิ่มบุญกันทั่วหน้า เป็นอันเสร็จพิธี

 

แต่ปัจจุบันความเจริญได้เข้ามามีอิทธิพล ทำให้พิธีกรรมต่าง ๆ เหล่านี้หายไป ชาวบ้านได้ถือเอาความสะดวกเป็นหลัก

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow